เดอเบียร์ส

เดอเบียร์ส
ประเภทบริษัทเอกชน
อุตสาหกรรมการสำรวจ, ทำเหมือง และค้าเพชร
ก่อตั้งค.ศ. 1888
ผู้ก่อตั้งเซซิล โรดส์
สำนักงานใหญ่,
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักนิคคี อ็อพเพ็นไฮเมอร์, ประธาน
ผลิตภัณฑ์เพชร
บริการการตลาดและการส่งเสริมเผยแพร่เพชร
รายได้เพิ่มขึ้น US $6.5 billion (ค.ศ. 2005)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น US $554 million (ค.ศ. 2005)
พนักงาน
ประมาณ 20,000 คน
บริษัทแม่Anglo American plc Edit this on Wikidata
เว็บไซต์www.debeersgroup.com

เดอเบียร์ส (อังกฤษ: De Beers) เป็นกลุ่มบริษัทภายในเครือ ตระกูลเดอเบียร์สและบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ การสำรวจหาเพชร, การทำเหมืองเพชร, การค้าเพชร และการผลิตเพชรสำหรับการอุตสาหกรรม เดอเบียร์สทำธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวกับการทำอุตสาหกรรมเหมืองเพชรที่รวมทั้งการทำเหมืองเปิด และการทำเหมืองใต้ดิน เหมืองของเดอเบียร์สอยู่ในบอตสวานา, นามิเบีย, แอฟริกาใต้ และ แคนาดา

ประวัติของบริษัท

เซซิล โรดส์ผู้ก่อตั้งเดอเบียร์สเริ่มอาชีพด้วยการเช่าปัมพ์น้ำให้แก่ผู้ทำเหมืองระหว่างการตื่นเพชรที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1871 เมื่อมีผู้พบเพชรหนัก 83.5 กะรัตที่ในบริเวณที่ปัจจุบันคือคิมเบอร์ลีย์) ในแอฟริกาใต้ โรดส์ลงทุนจากผลกำไรที่ได้รับในการซื้อที่ดินจากเจ้าของเหมืองรายย่อย จนในที่สุดก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นบริษัทเหมืองอิสระ[1] สหบริษัทเหมืองเดอเบียร์ส (De Beers Consolidated Mines) ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1888 โดยการรวมบริษัทบาร์นีย์ บาร์นาโต and เซซิล โรดส์ ที่ทำให้กลายเป็นบริษัทเดียวที่เป็นเจ้าของเหมืองเพชรทั้งหมดในประเทศในขณะนั้น[1][2][3] ในปี ค.ศ. 1889 โรดส์เจรจาต่อรองข้อตกลงทางแผนการกับบริษัท Diamond Syndicate ของลอนดอนที่ตกลงรับซื้อเพชรตามจำนวนและราคาที่ตกลงกันในสัญญา ซึ่งเป็นการควบคุมปริมาณผลิตผลและการรักษาราคา[4][5] ความตกนี้เป็นวิถีการตกลงที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นวิธีที่สร้างความสำเร็จให้แก่เดอเบียร์สเป็นอันมาก - ตัวอย่างเช่นเมื่อราคาเพชรตกระหว่างปี ค.ศ. 1891 ถึงปี ค.ศ. 1892 เดอเบียร์สก็ยุติปริมาณการผลิตเพื่อรักษาระดับราคาให้คงตัว[6] ในปี ค.ศ.1896 โรดส์ผู้เกรงว่าระบบผูกขาดที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นจะเป็นอันตรายต่อการทำลาย จึงประกาศต่อผู้ถือหุ้น[5]ว่า:

ช่วงสงครามบูร์ครั้งที่สองเป็นช่วงที่ท้าทายต่อสถานภาพของเดอเบียร์ส คิมเบอร์ลีย์ถูกล้อมทันที่สงครามปะทุขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อเหมืองอันมีค่าของบริษัท โรดส์เองย้ายออกจากคิมเบอร์ลีย์ไปอยู่ในเมืองตั้งแต่เริ่มการล้อมเพื่อไปสร้างความกดดันทางการเมืองต่อรัฐบาลบริติชให้แบ่งกองทหารมาช่วยยุติการล้อมที่คิมเบอร์ลีย์แทนที่จะสนองตามนโยบายทางยุทธวิธีทางการทหาร แม้ว่าจะไม่ตรงกับนโยบายการปฏิบัติของฝ่ายทหาร[7] โรดส์ใช้เงินทุนของบริษัทในสร้างเสริมระบบการป้องกันของตนเอง โดยการผลิตระเบิด สร้างระบบการป้องกัน สร้างรถไฟเกราะ และ ปืนชื่อ ปืนยาวเซซิล ในเวิร์คช็อพของบริษัท[8]

เซซิล โรดส์

ในปี ค.ศ. 1902 ก็มีการพบเหมืองคัลลินัน (Premier Mine) ซึ่งเป็นเหมืองคู่แข่ง เจ้าของเหมืองคัลลินันไม่ยอมเข้าร่วมในเครือการค้าร่วมเดอเบียร์ส[9] แต่หันไปขายให้กับผู้แทนการค้าเพชรอิสระสองคนชื่อเบอร์นาร์ดและเออร์เนสท์ อ็อพเพ็นไฮเมอร์ ที่เป็นผลทำให้เครือการค้าร่วมเดอเบียร์สอ่อนตัวลง[10] ในที่สุดผลผลิตก็มีปริมาณเท่าเทียมกับผลผลิตของเครือการค้าร่วมเดอเบียร์สรวมกัน และยังพบเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดตั้งแต่พบมา—เพชรคัลลินัน อ็อพเพ็นไฮเมอร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนท้องถิ่นสำหรับผู้ค้าผู้มีอำนาจในลอนดอน และในที่สุดก็ได้เป็นนายกเทศมนตรีของคิมเบอร์ลีย์ภายในเวลาเพียง 10 ปี อ็อพเพ็นไฮเมอร์เข้าใจถึงกุญแจพื้นฐานของความสำเร็จของเดอเบียร์ส และได้กล่าวในปี ค.ศ. 1910 ว่า:[9]

แต่ในที่สุดในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเหมืองคัลลินันก็ถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเดอเบียร์ส

เมื่อโรดส์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1902 เดอเบียร์สก็ควบคุมการผลิตเพชร 90% ของโลก เออร์เนสท์ อ็อพเพ็นไฮเมอร์กลายรับตำแหน่งเป็นประธานบริษัทต่อมาในปี ค.ศ. 1927 หลังจากที่ซื้อที่นั่งในคณะกรรมการบริหารในปีก่อนหน้านั้น[10]

อ็อพเพ็นไฮเมอร์มีความกังวลต่อการพบเพชรในปี ค.ศ. 1908 ในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมัน ว่าจะทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิตที่ท่วมตลาดที่จะทำให้ราคาลดลง[11][12]

การสิ้นสุดการผูกขาด

เดอเบียร์สมีชื่อเสียงในด้านการการผูกขาดตลาด (monopolistic practices) มาตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยการใช้ความมีอิทธิพลในการบงการตลาดสากล[1][13] เดอเบียร์สใช้กลวิธีหลายอย่างในการควบคุมตลาด: ประการแรกคือการหว่านล้อมให้ผู้ผลิตอิสระเข้าร่วมในระบบการค้าผูกขาดโดยผู้ขายผู้เดียว ถ้าไม่ยอมร่วมมือเดอเบียร์สก็จะปล่อยเพชรชนิดเดียวกับที่ผลิตโดยบริษัทที่ไม่ยอมเข้าร่วมให้ท่วมตลาด และประการสุดท้ายเดอเบียร์สจะซื้อและกักตุนเพชรที่ผลิตโดยบริษัทอื่น ๆ เพื่อที่จะควบคุมราคาตลาดโดยการควบคุมอุปทาน[14] หลังจากการเปลี่ยนแปลงของบริษัทระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 มาจนถึงปัจจุบันทำให้วิธีการดำเนินการค้าของเดอเบียร์สเป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น[15]

ในปี ค.ศ. 2000 ปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้นทำให้เดอเบียร์สต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ[14] ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าวิธีการดำเนินธุรกิจของเดอเบียร์สดังเช่นที่เคยทำมาเป็นวิธีที่ไม่อาจจะใช้ดำเนินการต่อไปได้ เดอเบียร์สไม่อาจจะทำธุรกิจในภูมิภาคหลายภูมิภาคที่มีความต้องการได้ นอกจากนั้นก็มีผู้ผลิตเพิ่มขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ เช่นในรัสเซีย, แคนาดา และออสเตรเลีย ที่ดำเนินการค้าอิสระจากกลุ่มเดอเบียร์ส ซึ่งก็เท่ากับเป็นการยุติระบบการผูกขาดของเดอเบียร์สไปโดยปริยาย[1][13] นอกจากนั้นแล้วตลาดเพชรก็ยังมีแนวโน้มที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับสินค้าฟุ่มเฟือยอื่น ๆ พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปรไปในขณะที่อุตาหกรรมการค้าเพชรล่าต่อการตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของตลาด[ต้องการอ้างอิง] เพื่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อวงการอุตสาหกรรมเดอเบียร์สก็ดำเนินการตรวจสอบยุทธวิธการค้ากับเบนส์และบริษัท ที่เป็นผลให้เดอเบียร์สต้องเปลี่ยนโครงสร้างทางธุรกิจ (business model) จากนโยบายควบคุมอุปทานของตลาด มาเป็นนโยบายการตอบสนองอุปสงค์ของตลาด ผลของความเปลี่ยนแปลงนโยบายทำให้เดอเบียร์สได้รับผลกำไรมากขึ้น และควบคุม 40% ของตลาด และเป็นกำไรที่สูงกว่าเมื่อคุม 80% ของตลาด[15]

ในปัจจุบันธุรกิจการขายเพชรแตกต่างจากเมื่อสิบปีก่อนเป็นอันมาก และเป็นธุรกิจที่ซับซ้อนและพัฒนาเปลี่ยนไปตามภูมิศาสตร์การเมืองของโลก ผู้มีบทบาทในการผลิตสำคัญในปัจจุบันคือประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา[16]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Tobias Kretschmer (2003-10-15). "De Beers and Beyond:The History of the International Diamond Cartel" (PDF). New York University. สืบค้นเมื่อ 2008-11-25.
  2. Martin Meredith (2007). Diamonds Gold and War. New York: Simon & Schuster, Limited. ISBN 0743286146.
  3. John Hays Hammond (1974). The Autobiography of John Hays Hammond. Ayer Publishing. p. 205. ISBN 0405059132.
  4. Edward Jay Epstein (1982). The Rise and Fall of Diamonds. Simon and Schuster. ISBN 0671412892. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  5. 5.0 5.1 Lilian Charlotte Anne Knowles (2005). The Economic Development of the British Overseas Empire. Taylor & Francis. ISBN 0415350484.
  6. Colin Walter Newbury (1989). The Diamond Ring. Oxford University Press. ISBN 0198217757. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  7. A HANDBOOK OF THE BOER WAR With General Map of South Africa and 18 Sketch Maps and Plans. London and Aldershot: Gale and Polden Ltd. 1910. สืบค้นเมื่อ 2008-10-02.
  8. Ashe, E. Oliver (1900). Besieged by the Boers; a diary of life and events in Kimberley during the siege (1900). New York: Doubleday, Page & Co.
  9. 9.0 9.1 Tom Zoellner (2007). The Heartless Stone: A Journey Through the World of Diamonds, Deceit, and Desire. McMillan. ISBN 0312339704. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  10. 10.0 10.1 De Beers S.A. Encyclopedia Britannica.
  11. Janine P. Roberts (2003). Glitter & Greed. The Disinformation Company. ISBN 0971394296. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  12. Theodor Emanuel Gregory (1977). Ernest Oppenheimer and the Economic Development of Southern Africa. Arno Press. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  13. 13.0 13.1 Jane S. Lopus (2003). Capstone. National Council on Economic Education. p. 61. ISBN 1561835161. สืบค้นเมื่อ 2008-11-25.
  14. 14.0 14.1 Campbell R. McConnell, Stanley L. Brue (2005). Economics: Principles, Problems, and Policies. McGraw-Hill Professional. p. 456. สืบค้นเมื่อ 2008-11-26.
  15. 15.0 15.1 Joe Nocera (2008-08-08). "Diamonds are Forever in Botswana". New York Times.
  16. "From Mine to Mistress - Corporate Strategies and Government Policies in the International Diamond Industry by Chaim Even-Zohar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-31. สืบค้นเมื่อ 2009-11-09.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!