เซลล์เดนไดรต์ หรือ เซลล์รูปดาว[1]
(อังกฤษ: dendritic cells ตัวย่อ DCs) เป็นเซลล์แสดงแอนติเจน (antigen-presenting cell) ของระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
มีหน้าที่จัดการแอนติเจนแล้วนำไปที่ผิวของเซลล์เองเพื่อแสดงแก่เซลล์ทีของระบบภูมิคุ้มกัน
เป็นตัวสื่อสารระหว่างระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (innate immune system) กับระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (adaptive immune system)
เซลล์เดนไดรต์พบในเนื้อเยื่อที่สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ผิวหนัง (ซึ่งมีเซลล์เดนไดรต์พิเศษอันเรียกว่า เซลล์ลังเกอร์ฮันส์) และที่เยื่อบุจมูก บุปอด บุท้อง และบุลำไส้
และยังพบในเลือดด้วยในสภาพที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่
เมื่อเกิดสภาพกัมมันต์ (activation) แล้ว มันจะย้ายไปอยู่ที่ต่อมน้ำเหลืองในที่ซึ่งจะมีปฏิสัมพันธ์กับเซลล์ทีและเซลล์บี เป็นการเริ่มและปรับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ
ในช่วงพัฒนาการ มันมีส่วนยื่นออกมาซึ่งเรียกว่า เดนไดรต์ (ไม่เกี่ยวกับระบบประสาท) ที่ให้ชื่อแก่เซลล์ (คำกรีกว่า δένδρον หรือ déndron หมายถึง ต้นไม้)
แม้จะดูคล้าย ๆ กัน ส่วนยื่นเช่นนี้ก็ต่างกับที่พบในส่วนเดนไดรต์ของเซลล์ประสาท
เซลล์ที่ยังไม่เจริญเต็มที่ยังเรียกด้วยว่า veiled cells เพราะมันมี 'ม่าน/ผ้าคลุมหน้า' แทนเดนไดรต์
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น