เฉาแบบมยุรภัญช์ที่แสดงภายใต้แก่นศาสนาแบบลัทธิไวษณวะ ที่ภุพเนศวร รัฐโอฑิศา
เฉา , ฉะอู หรือ ฉะอุ (อักษรโรมัน : Chhau หรือ Chhou, อักษรเบงกอล : ছৌ, อักษรเทวนาครี : छऊ, โอริยา : ଛଉ) เป็นนาฏกรรมอินเดีย กึ่งคลาสสิกที่ผสมผสานธรรมเนียมพื้นถิ่นและศิลปะการป้องกันตัว[ 1] ปรากฏเฉาอยู่สามรูปแบบซึ่งมีชื่อต่างกันไปสถานที่ ซึ่งได้แก่ ปุรุลิยาเฉา (Purulia Chhau) จากปุรุลิยา ในรัฐเบงกอลตะวันตก , เสรายเกลลาฉะอู (Seraikella Chhau) จากเสรายเกลา ในรัฐฌารขัณฑ์ และ มยุรภัญช์ฉะอุ (Mayurbhanj Chhau) จากมยุรภัญช์ ในรัฐโอฑิศา
เฉามีลักษณะตั้งแต่ศิลปะป้องกันตัว เพื่อเฉลิมฉลอง, กายกรรม และการแสดงเชิงกีฬาด้วยแก่นแบบนาฏกรรมพื้นบ้าน ไปจนถึงการร่ายรำที่มีแบบแผนภายใต้แก่นทางศาสนาดังที่ปรากฏในลัทธิไศวะ , ลัทธิศักติ และลัทธิไวษณวะ การแต่งกายในการแสดงเฉามีแตกต่างกันไปตามชนิด เช่น เฉาแบบปุรุลิยา กับ เสรายเกลา สวมหน้ากากเพื่อระบุถึงตัวละคร[ 2] เรื่องราวที่นำมาแสดงด้วยเฉายังรวมถึงเรื่องราวจากมหากาพย์ฮินดู เช่น รามายณะ , มหาภารตะ , ปุราณะ ต่าง ๆ ไปจนถึงวรรกรรมอินเดียอื่น ๆ[ 2]
ตามธรรมเนียมแล้ว การแสดงเฉาใช้ผู้ชายทั้งหมด และแสดงเฉลิมฉลองเป็นพิเศษในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของทุกปี เฉาอาจเป็นนาฏกรรมที่ผสมผสานมาจากการร่ายรำฮินดูแบบคลาสสิก กับธรรมเนียมของชนเผ่าโบราณต่าง ๆ ในภูมิภาค นาฏกรรมนี้นำพาผู้คนจากพื้นหลังทางเศรษฐสังคมที่หลากหลายมารวมกันภายใต้บรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองและจิตวิญญาณร่วมทางศาสนา[ 2]
นาฏกรรมเฉามีที่มาจากอินเดียตะวันออก ชื่อนี้อาจมาจากคำสันสกฤต จายะ (Chāya; เงา ภาพ หน้ากาก)[ 5] บ้างกล่าวว่ามาจากคำว่า จัทมะ (Chadma; ปลอมตัว) ที่เหลือ ซึ่งรวมถึง สีตากานต์ มหาปัตระ เสนอว่ามาจากคำภาาาโอฑิศา ฉะอุนิ (Chhauni; ค่ายทหาร)[ 6] [ 7]
อ้างอิง
↑ Williams 2004 , pp. 83–84, is a semi classical Indian dance with martial, tribal and folk origins. The other major classical Indian dances are: Bharatanatyam, Kathak, Kuchipudi, Kathakali, Odissi, Manipuri, Satriya, Yaksagana and Bhagavata Mela. sfn error: no target: CITEREFWilliams2004 (help )
↑ 2.0 2.1 2.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ unescochhau
↑ Mohan Khokar (1984). Traditions of Indian classical dance . Clarion Books. pp. 184–186. ISBN 9780391032750 .
↑ Claus, p. 109
↑ "The Chhau" . Seraikela-Kharsawan district official website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 10 April 2009. สืบค้นเมื่อ 15 March 2009 .