เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)

เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)
รัชกาลก่อนหน้าเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)
รัชกาลถัดไปพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)
ประสูติเวียงจันทน์
พิราลัยธาตุพนม
ชายาอาดยานางบุสดี
พระนามเต็ม
พระอาดยาหลวงเจ้าพระลามมะลาดซปาดีสรีมหาพุทธปริสัทธ์ กัตติยวอรราดซวงสาอุกาสะราซาพระนม
พระนามเดิม
ท้าวสีวอรมุงคุน
วัดประจำรัชกาล
วัดหัวเวียงรังษี ธาตุพนม
ราชวงศ์เวียงจันทน์
พระบิดาเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)
พระมารดาอาดยานางยอดแก้วสีบุนมา

เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท หรือแสนกางน้อยสีมุงคุล[1] นามเต็มในพื้นเมืองพนมระบุว่าพระอาชญาหลวงเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท ขัติยวรราชวงศาอุกาสะราชาพระนม[2] บ้างออกว่าอาชญาหลวงกางน้อยสีวรมุงคุน จุ้มพระราชโองการกษัตริย์เวียงจันทน์ในอุรังคธาตุผูกเดียวนิยมออกนามแสนกางน้อยสีมุงคุร นามเดิมท้าวสี (ศรี) นามยศเดิมที่ท้าวสีวรมุงคุน[3] ทายาทและชาวบ้านออกนามว่าเจ้าพ่อขุนโอกาส ยาปู่หลวงกาง เจ้าปู่หลวงกางน้อย เป็นต้น เป็นขุนโอกาส (เจ้าโอกาส) หรือเจ้าเมืองธาตุพนมลำดับ 2 จากราชวงศ์เวียงจันทน์ เริ่มปกครอง พ.ศ. 2360-61 ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ให้ปกครองต่อจากบิดาในวันเดียวเดือนเดียวแต่คนละปีกับพิธียกหอคำเวียงจันทน์[4] คำให้การชาวบ้านดงนาคำในบันทึกพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กนฺโตภาโส, อุทุมมาลา, ป.ธ.6, นธ.เอก) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารและเจ้าคณะจังหวัดนครพนม ระบุว่าเจ้าพระรามราชปราณีเป็นผู้รักษาบั้งจุ้มหรือคัมภีร์อุรังคธาตุฉบับลานคำซึ่งเป็นฉบับดั้งเดิมสุด และเป็นผู้นำไพร่พลข้าโอกาสพระธาตุพนมอพยพจากเวียงจันทน์ไปตั้งบ้านดงใน ดงนอก และหมากนาว (มะนาว) ในฝั่งซ้ายน้ำโขงของแขวงคำม่วนและแขวงสะหวันนะเขตพร้อมแสนพนมและแสนนามนายกอง[5]

เจ้าพระรามราชปราณีเป็นบิดาพระอัคร์บุตร (สุวัณณบุญมี บุคคละวิเศษ) เจ้าเมืองธาตุพนมคนสุดท้ายในอารักขาฝรั่งเศสที่บ้านด่านปากเซ เป็นบิดาพระอุปราชา (สุวัณณคำเฮือง อุปละ) ผู้ตั้งสกุลรามางกูร เป็นบิดาเจ้านางยอดแก้วก่องมณีชายาเจ้าพระยาจันทสุริยวงศา (กิ่ง จันทรสาขา) เจ้าเมืองมุกดาหาร เป็นน้า (น้องแม่) พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆทองทิพย์ รามางกูร) ขุนโอกาสธาตุพนมคนที่ 3 เป็นปู่เจ้าพระยาโพธิ์สาราช (พรหมพุทธา บุคคละ) เจ้าเมืองเซบั้งไฟหรือเมืองปากเซคนแรก เป็นปู่พระบำรุงพระนมเจดีย์ศรีมหาบริษัท (เทพประจิตต์สุวรรณ บุคคละ) นายกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมคนสุดท้าย เป็นปู่หมื่นศีลสมาทานหรือหมื่นสำมาทาน (สุวัณณสีลา บุคคละ) กำนันตำบลธาตุพนมคนแรก (ต่อมาเป็นกำนันตำบลธาตุพนมใต้คู่กับพระอนุรักษ์ธาตุเจดีย์ (สา บุปผาชาติ) กำนันตำบลธาตุพนมเหนือ) เป็นปู่นายดวง รามางกูร อดีตประธานสภาจังหวัดนครพนม และเป็นทวดของ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ[6] เป็นต้น

พระนามในหลักฐานลายลักษณ์

คัมภีร์ใบลานเรื่องพื้นเมืองพนมระบุนามเต็มว่าพระอาชญาหลวงเจ้าพระรามราชปราฑีสีมหาพุทธปริษัท กัตติยวรราชวงศาอุกาสะราชาพระนม บ้างออกนามอาชญาหลวงกางน้อยสีวรมุงคุน ท้าวสีวรมุงคุน ท้าวกางน้อย เป็นต้น นามเดิมว่าท้าวสี หนังสืออุลังคนิทานหรือพื้นอุลํกาธาฉบับหอสมุดแห่งชาติบ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี 2 ฉบับออกนามแสนกางน้อยสีมุงคุร แสนข้าน้อยสีมุงคุร แสนคานน้อยสีมุงคุร หนังสืออุลังกาทาตุฉบับวัดซาตะกะทานะวันมิโก บ้านนาต้าย เมืองจำพอน แขวงสุวรรณเขต ออกนามแสนกางน้อยปสิมุงคุร แสนกางน้อยสีมุงคุร และแสนกางน้อยสิมูงคูรร์ ตำนานธาตุพนมฉบับหอพระสมุดฯ และตำนานพระธาตุพนมในประชุมตำนานพระธาตุภาคที่ 1-2 ออกนามแสนกลางน้อยศรีมุงคุลและแสนกลางน้อยศรีมุงคุลสวัสดิ์ ตำนานอุรังคธาตุที่ระลึกกฐินพระราชทาน มข. ถวายวัดพระธาตุพนม 26-27 ตุลาคม 2562 ออกนามแสนกลางน้อยศรีมุงคุล สำเนาเอกสารตั้งสกุลและอนุญาตให้ใช้สกุลรามางกูรของพระอุปราชา (เฮือง) 2 ฉบับ กับอนุสรณ์ ร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร 22 กันยายน 2528 ออกนามหลวงกลางน้อยศรีมงคล[7] คำให้การชาวบ้านดงนาคำออกนามแสนกลางน้อยศรีมงคลและแสนกลางน้อยศรีมุงคุล ใบลานเรื่องธาตุภูกำพร้า ฉบับวัดหัวเวียงรังษี ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.ศ. 1276 ระบุนามว่าเจ้าพระยาหลวงแสนกางน้อยสีวรมุงคุล ใบลานหนังสือยั่งยืนเปลี่ยนสกุลเป็นรามางกูรต้นฉบับเดิมของพระอุปราชา (เฮือง) พ.ศ. 2490 (จ.ศ. 309) ระบุนามว่าอาชญาหลวงกางน้อยสีวรมุงคุล ส่วนเอกสารพื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาชออกนามว่าพระยาโอกาสเจ้า พระมหาสมเด็จราชาธาตุพระนมบุรมมหาเจดีย์สีมุงคุณ และพระยามะรามมะราชปราฑีซาสีมุงคุรสุนทรเจ้า

ในจุ้มพระราชโองการกษัตริย์เวียงจันทน์จากคัมภีร์อุรังคธาตุ

หนังสืออุรังคธาตุนิทานหอสมุดแห่งชาติ (ฉบับ 1)

คัมภีร์ใบลานหนังสืออุรังคธาตุนิทานหรือพื้นอุลํกาธาฉบับหอสมุดแห่งชาติบ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ฉบับ 1 ไม่ปรากฏศรัทธาสร้าง หน้า 24-26 ออกนามว่าแสนข้าน้อยสีมุงคุร แสนคานน้อยสีมุงคุร และแสนกางน้อยสีมุงคุร ทั้งระบุว่าได้รับยศชั้นเจ้าหัวแสนซึ่งสูงกว่าเจ้าหัวหมื่นต่ำกว่าเจ้าหัวเศิกจากเจ้าอุปราชนองกษัตริย์เวียงจันทน์ (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2283-2294) ตรวจสอบจากฉบับอื่นพบว่าศักราชคลาดเคลื่อน เนื้อความระบุว่า ...สังกาชได้ฮ้อย 8 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ 2 วัน 2 ปานเซ่นเจ้าครูหลวงพรนซะเม็กให้เจ้าทั้ง 4 ทั้งด่านทั้ง 4 แต่งฮักษาข้าโอกาสแล พระราชาอาชญาสมเด็จบุรมบุพพิตรพระมหาธนมประโซตโพสัตตธิราชเจ้า สมพระเป็นเจ้าอันเป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชาอาชญาโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนข้าน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาซีซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวนส่งไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวนสนไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยภูผาดอมพระยาแสนหมื่นทิศใดก็ดีให้แสนคานน้อยสีมุงคุรจัดทาวถอดถอนเอาได้ดั่งเก่า ใผอย่าถกถอนเอาสรรพน้ำหนองกองข้อยลงมาแต่จอกกอก ละนอง หนองแก ซะโปน เมืองวัง เซียงหุ่ง รุผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตุ้มปกเอา อัน 1 ให้เด็กน้อยถืกโอวาทดวงอยานำอาชญาเฮาพระองค์แลนางพระกษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาชญ์ใส่หัวเขาสิ่งใดจิงได้จิงรามสีสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราซาสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่น 10 ฮ้อยน้อยใหญ่แคล้วหาญอย่าซำลิผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งเข้าของเงินคำซ้างม้างัวควายซ้างม้าเสื้อผ้าลูกหญิงน้องสาวสีนาทตาดทองอย่ากดขื่อซื่อเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮึบขบเฮียงกินเข้าไปเป็นปกติเทอญ...[8]

หนังสืออุรังคธาตุนิทานหอสมุดแห่งชาติ (ฉบับ 2)

คัมภีร์ใบลานหนังสืออุรังคธาตุหรืออุลังคะนิทานฉบับหอสมุดแห่งชาติบ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ฉบับ 2 ศรัทธาสร้างโดยพ่อเจ้าทิดแดง หน้า 25-27 ออกนามว่าแสนกางน้อยศรีมุงคุร เนื้อความเดียวกับฉบับ 1 เทียบ จ.ศ. ตรงกับสมัยเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2348-71) เนื้อความระบุว่า ...สังกาชได้ฮ้อย 80 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปานเซ่นเจ้าครูหลวงพรนสะเม็กให้เจ้าด่านทั้ง 4 แต่งฮักษาข้าโอกาสแล พระราชอาชญาสมเด็จบุรมบุพพิตรพระมหาธนมประโซตโพสัตตธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาชญาโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาซีซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวนสนไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวนสนไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรซ้วนจัดทาวถอดถอนเอามาไว้ดั่งเก่าไป อย่าถกถอนเอาสรรพน้ำหนองกองข้อยลงมาแต่จอกคอก ละนอง หนองแก ซะโปน เมืองวัง เซียงหุ่ง ฮุ่งผาบังไปแสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มปกเอา อัน 1 ให้เด็กน้อยถืกโอวาทดวงหยำนำอาชญาเจ้าเฮาพระองค์แลนางพระกษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงได้จิงฮามสีสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัดิ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบฮ้อยน้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำลิผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งเข้าของเงินคำซ้างม้างัวควายซ้างม้าเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองอย่าคดขื่อซื่อเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮื้อขบเฮียงกินเข้าสางอย่าฮีบข้าวติบอย่ายอเล้าอย่าขอดสางจอดอย่าแปลง อัน 1 ข้อยเขาได้ไถ่อย่าถอดถอนเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันใดนอกพระราชอาญาอย่ากระทำกุงประสิทธิพระราชอาญาถวายพระสกาสนอก...[9]

ลำอุรังคธาตุวัดสีพิมพามุงคุน (ผูก 1)

คัมภีร์ใบลานลำอุรังคธาตุหรือลำอุรังคะทาตุฉบับวัดสีพิมพามุงคุน เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต ลาว ผูก 1 ระบุ จ.ศ. ตรงกับสมัยเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ หน้า 23-25 ออกนามว่าแสนกางน้อยสีมุงคุร เนื้อความระบุว่า ...สังกาชได้ฮ้อย 80 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เจ้าเอาทั้ง 4 แต่งฮักษาข้าโอกาสแล พระราชอาชญาสมเด็จตัปปอุดมบุรมบุพพิตรพระมหาทนามประโซตโพสัตตาธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิราชอาสสาชโอกาสจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพีชหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวานเส็นไปใต้เหนือที่ใด หมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวานเส็นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรจัดทาวถอนดาไว้ดั่งเก่า ใผถกอย่าถกอย่าถอนเอาสรรพน้ำหนองกองปลาข้อยลงมาแต่จอกกอก ระนอง หนองแส สองแคว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮ่ม ผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มฮ่อเอา อัน 1 ให้เล็กน้อยถือโอวาทดวงหยำนำอาชญาเฮาพระองค์กษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงให้ลามสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบน้อยฮ้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำลิผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งของเงินคำซ้างม้างัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทอกอย่ากดขี่ซีเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮึขบฮบกินเข้าสารอย่าฮิบเข้าติบอย่ายอหยาอย่าขอดสางจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้อย่าถอดเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันในอันนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำโคบซิงพระราชอาชญาถวายสกาสนอง...

ลำอุรังคธาตุวัดสีพิมพามุงคุน (ผูก 2)

คัมภีร์ใบลานลำอุรังคธาตุหรือลำอุรังคะทาตุฉบับวัดสีพิมพามุงคุน เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต ลาว ผูก 2 ระบุ จ.ศ. ตรงกับสมัยเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ หน้า 23-25 ออกนามว่าแสนกางน้อยสีมุงคุร เนื้อความระบุว่า ...สังกาชได้ฮ้อย 80 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เจ้าเอากั้ง 4 แต่งให้ฮักษาข้าโอกาสแล พระราชอาชญาสมเด็จตัปปอุดมบุรมบุพพิตรพระมหาทนามประโซตพระสัตตาธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวไปสิทธิพระราชอาชญาชโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพีชหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวานเส็นไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวานเส็นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนเหมิ่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรจัดทาวถอนเอามาไว้ดั่งเก่า ใผอย่าถกอย่าถอดถอนสรรพน้ำหนองกองปลาข้อยลงมาแต่จอกพอก ระนอง หนองแส สองแคว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮ่ม ผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มฮ่อเอา อัน 1 ให้เล็กน้อยถือโอวาทดวงหยำนำอาชญาเฮาพระองค์กษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงให้ลามสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบน้อยฮ้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำลิผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งของเงินคำซ้างม้างัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองอย่ากดขี่ซีเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮึขบฮบกินเข้าสารอย่าฮีบเข้าติบอย่ายอหยาอย่าขอดสานจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้อย่าถอดเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันในอันนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำโคบซิงพระราชอาชญาถวายสกาสนอง...

ลำอุรังคธาตุวัดสีพิมพามุงคุน (ผูก 3)

คัมภีร์ใบลานลำอุรังคธาตุหรือลำอุรังคะทาตุฉบับวัดสีพิมพามุงคุน เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต ลาว ผูก 3 ระบุ จ.ศ. ตรงกับสมัยเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ หน้า 27-29 ออกนามว่าแสนกางน้อยสีมุงคุร เนื้อความระบุว่า ...สังกาชได้ฮ้อย 80 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เอาเจ้าเอาทั้ง 4 แต่งให้ฮักษาข้าโอกาสแล พระราชอาชญาสมเด็จตัสสอุดมบุรมบุพพิตรพระมหาทนามประโซตพระสัตตธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิราชอาชญาโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพีชหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวนเส็นไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวนเส็นไปลี้ซ่อนอยู่หว้ายฮูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนเหมิ่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรจัดทาวถอดเอามาไว้ดั่งเก่า ใผอย่าถกอย่าถอดสรรพน้ำหนองกองปลาข้อยลงมาแต่จอกพอก ระนอง หนองแส สองแกว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮ่ม ผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มต่อฮ่อเอา อัน 1 ให้เล็กน้อยถือโอวาทดวงหยำนำอาชญาเฮาพระองค์กษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นแต่เฮาพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงให้ลามสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนเหมิ่นสิบฮ้อยน้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำลิผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งของเงินคำซ้างม้างัวควยเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองอย่ากดขี่ซีเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮื้อขบฮบกินเข้าสารอย่าฮีบเข้าติบอย่ายอหยาอย่าขอดสานจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้อย่าถอดเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันในอันนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำโคบซิงพระราชอาชญาถวยสกาสนอง...

หนังสืออุรังคธาตุฉบับวัดซาตะกะทานะวันมิโก

คัมภีร์ใบลานหนังสืออุลังกาทาตุฉบับวัดซาตะกะทานะวันมิโก บ้านนาต้าย เมืองจำพอน แขวงสุวรรณเขต ลาว หน้า 23 บรรทัด 1-4 และหน้า 24 บรรทัด 1-4 ระบุ จ.ศ. ตรงกับสมัยเจ้าอุปราชนองกษัตริย์เวียงจันทน์เช่นเดียวกับหนังสืออุรังคธาตุนิทานหอสมุดแห่งชาติ (ฉบับ 1) ออกนามว่าแสนกางน้อยปสิมุงคุร แสนกางน้อยสีมุงคุร และแสนกางน้อยสิมูงคูรร์ เนื้อความระบุว่า ...ได้ฮ้อย 8 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เจ้าเอาทั้ง 4 ตนให้ฮักษาข้าโอกาสแล พระรัชจอาสาสมเด็จตัสสอุดดมบุรมบุพพัตรพระมหาทนามประโซตสัตตธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธีพระราชอาสาโอวาทโอกาสจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยปสิมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพี่น้องหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวานเส็นไปใต้เหนือที่ใด หมู่ซุมพี่พี่น้องลูกหลานหากสวานเส็นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรจัดถอดถอนเอามาไว้ดั่งเก่า ใผอย่าถกถอดสรรพน้ำหนองกองปลากอมปาถข้าลงมาแต่จองพอก นอง หนองแก้ว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮ่ม ผา 8 บังให้แสนกางน้อยสิมูงคูรร์ตู้นเอา อัน 1 ให้เล็กน้อยถะโอวาทดวงหยำนามอาชญาเฮาพระองค์แลนางกษัตริย์ไปถอดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอานำเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงให้ลางสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบฮ้อยน้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำริผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งของทองเงินคำซ้างม้างัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองอย่ากดขี่ซีเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮื้อขบฮบกินเข้าสารอย่าฮีบเข้าติบอย่ายอหยาอย่าสางจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้อย่าถอดถอนเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันในอันนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำภัยซึ่งพระราชอาชญาถวายสังกลาสนอง...

อุลังกะทาดตุนิทานฉบับวัดอับเปวันนัง

คัมภีร์ใบลานอุลังกะทาดตุนิทานหรืออุลังคะธาตุนิทานฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสุวรรณเขต ลาว หน้า 24-26 ศักราชคลาดเคลื่อนมากเพิ่ม 400 ตัว จาก 100 ตัว เป็น จ.ศ. 508 ออกนามว่าแสนกางน้อยสีมุงคุร เนื้อความระบุว่า ...ได้ 5 ฮ้อย 8 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เจ้าเอาทั้ง 4 แต่งให้ฮักษาข้าโอกากาสแล พระราชอาชญาสมเด็จตัสสอุดมบุรมบุพพิตรพระมหาทาดนามมาประโซตสัตตธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าอันเป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาชญาโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพีชหมู่ซุมพี่น้องลูกแลหลานข้อยโอกาสทานเดิมบูรอย่าให้สวานเสียไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวานเสียไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรจัดซ้อนถอนเอามาไว้ดั่งเก่า ใผอย่าถกถอดสรรพน้ำหนองกองปลาข้าลีนมาแต่จอกพอก ระนอง หนองสองแคว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮ่ม ผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มฮ่อเอา อัน 1 ให้เล็กน้อยถือดวงหยำนำอาชญาเฮาพระองค์และนางกษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ได้ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงได้ให้รามสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบน้อยฮ้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซาริผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนีสีของเงินคำซ้างม้างัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองผาคดขื่อซื่อเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮื้อขบฮบกินเข้าสารอย่าฮีบเข้าติบอย่ายอหยาหยาดขอดสานจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาอย่าถอดถอนเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชมญาอันอยู่ในอันนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำโคบซิงพระรัชนอาชญาถวายสังกาส...

พื้นธาตุพนมฉบับวัดใหม่สุวันนะพูมาราม

คัมภีร์ใบลานพื้นทาตุพระนมหรือพื้นธาตุพนมฉบับวัดใหม่สุวันนะพูมาราม บ้านป่าขาม นครหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง ลาว หน้า 23-25 ออกนามว่าแสนกางน้อยสีมุงคุร เนื้อความระบุว่า ...สังกลาชได้ฮ้อย 8 ตัว ปีเดือนเจียง ขึ้น 3 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพซะเม็กให้เจ้าด้านทั้ง 4 แต่ให้รักษาข้าโอกาสแล พระราซาอาชญาสมเด็จตัปปอุดมบุรมบุพพิตรพระมหาทนามประโซตกษัตราธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาสาพระราชโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพีชหมู่ซุมพี่น้อยลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวานเส็นไปใต้เมือเหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้อยลูกหลานหากสวานเส็นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยมุงคุรสวัดจัดทาวถอดถอนเอามาไว้ดั่งเก่า ใผอย่าถกถอดเอาสรรพน้ำหนองกองข้อยลงมาแต่จอกพอก ละนอง ๆ แคว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮุ่ง ผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มปกพกพันเอา อัน 1 ให้เด็กน้อยถือโอวาทดวงหยำนำอาชญาเฮาพระองค์แลนางพระไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาสาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงให้รามสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบฮ้อยน้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำลิผิบาปลังไหมเอาน้ำนิ่งซิ่งของงอคำซ้างม้างัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางซาวสีนาทตาดทองอย่ากดขื่อซื่อเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮื้อขบฮบกินเข้าสารอย่าฮีบเข้าติบอย่ายอเหล้าหย่าขอดสานจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้ไถ่อย่าได้ถอดถอนเอาดอมเจ้าผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันใดนอกพระราอาชญาอย่าได้กระทำคุงประสิทธิพระราชอาชญาถวายสังกลาสนอก...

ตำนานพระธาตุพนมฉบับหอพระสมุดฯ

ตำนานธาตุพนมฉบับหอพระสมุดฯ (ตีพิมพ์) แปลจากอักษรธรรมลาว มหาเสวกตรี พระยาเพ็ชรรัตนสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน์) ครั้งเป็นพระยาสุนทรเทพกิจารักษ์สมุหเทศาภิบาลมณฑลเพ็ชรบูรณ์ถวายในหอพระสมุดฯ พระพนมนัครานุรักษ์ข้าหลวงประจำจังหวัดนครพนมขอราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 มอบเงินบำรุงวัดพระธาตุพนมในสมัยพระครูศิลาภิรัต (หมี บุปผาชาติ) เป็นเจ้าอาวาส ออกนามว่าแสนกลางน้อยศรีมุงคุลและแสนกลางน้อยศรีมุงคุลสวัสดิ์ เนื้อความแปลไทยระบุว่า ...ศักราชได้ 108 ปี เดือนเจียงขึ้น 13 ค่ำ วันจันทร์ ปางเช่นเจ้าครูหลวงโพนชะเม็กให้เจ้าด้านทั้ง 4 แต่งให้รักสาข้าโอกาส และพระราชอาญาสมเด็จตัประอุดมบรมบพิตรพระมหาธนามประโชตะกษัตราธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาญาพระราชโอกาสจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกลางน้อยสีมุงคุลให้พิทักษ์รักษาพิชหมู่ชุมพี่น้องลูกหลานข้าโอกาสทางคงบุญอย่าให้สว่านเส่นไปใต้เหนือ ที่ไหนหมู่ชุมพี่น้องลูกหลานหากสว่านเส่นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลสวัสดิ์จัดท้าวถอดถอนเอามาไว้ดังเก่า ใครอย่าถอดถอนเอาสัพพะน้ำหนองกองข้าลงมาแต่จอกพอก ละนอง เคอน ชะโปน เมืองวัง เชียงร่ม ผาบังให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลตุ้มปกเอา อนึ่งให้เด็กน้อยถือโอกาสดวงยำนำอายาเล่าพระองค์และนางกษัตริย์ไปจัดเข้าใส่เยีย ไม่ให้เอากับเขาเว้นไว้แต่เราพระองค์มีคำสั่งใส่ศีร์ษะเขาสิ่งใดจึงให้ร่ามศรีเฒ่าแก่เอากราบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบร้อยน้อยใหญ่แก้วหารอย่าชะริผิบาปไหมเอาสิ่งของเงินคำ ช้าง, ม้า, โค, กระบือ, เสื้อผ้า ลูกหญิง นางสาว ศรีนาดตาดทอง อย่ากดขี่ซื้อเรือนเขา อนึ่งอย่ารื้อขบรบกินเข้าสารอย่าริบเข้าติบอย่าย่อร้อหย่าขอดสารจอดอย่าแปลง อนึ่งเข้าเขาได้ไถ่อย่าถอดเอากับเขาผู้รักษาพระราชอาญาอย่ากระทำกรุงประสิทธิ์พระราชอาญาถวายศักราชนอก...[10]

ตำนานพระธาตุพนมในประชุมตำนานพระธาตุภาคที่ 1-2

ตำนานพระธาตุพนมในประชุมตำนานพระธาตุภาคที่ 1-2 ระบุเนื้อความเดียวกันกับตำนานธาตุพนมฉบับหอพระสมุดฯ (ตีพิมพ์) โดยออกนามแสนกลางน้อยศรีมุงคุลและแสนกลางน้อยศรีมุงคุลสวัสดิ์ เนื้อความแปลไทยระบุว่า ...ศักราชได้ 108 ปี เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วันจันทร์ ปางเช่นเจ้าครูหลวงโพนชะเม็กให้เจ้าด้านทั้ง 4 แต่งให้รักสาข้าโอกาส และพระราชอาญาสมเด็จตัประอุดมบรมบพิตรพระมหาธนามประโชตะกษัตราธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาญาพระราชโอกาสจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกลางน้อยสีมุงคุลให้พิทักษ์รักษาพิชหมู่ชุมพี่น้องลูกหลานข้าโอกาสทางคงบุญอย่าให้สว่านเส่นไปใต้เหนือ ที่ไหนหมู่ชุมพี่น้องลูกหลานหากสว่านเส่นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลสวัสดิ์จัดท้าวถอดถอนเอามาไว้ดังเก่า ใครอย่าถอดถอนเอาสัพพะน้ำหนองกองข้าลงมาแต่จอกพอกละนอง เคอน ชะโปน เมืองวัง เชียงร่ม ผาบังให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลตุ้มปกเอา อนึ่งให้เด็กน้อยถือโอกาสดวงยำนำอายาเล่าพระองค์และนางกษัตริย์ไปจัดเข้าใส่เยีย ไม่ให้เอากับเขาเว้นไว้แต่เราพระองค์มีคำสั่งใส่ศีร์ษะเขาสิ่งใดจึงให้ร่ามศรีเฒ่าแก่เอากราบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบร้อยน้อยใหญ่แก้วหารอย่าชะริผิบาปไหมเอาสิ่งของเงินคำ ช้าง, ม้า, โค, กระบือ, เสื้อผ้า ลูกหญิง นางสาว ศรีนาดตาดทอง อย่ากดขี่ซื้อเรือนเขา อนึ่งอย่ารื้อขบรบกินเข้าสารอย่าริบเข้าติบอย่าย่อร้อหย่าขอดสารจอดอย่าแปลง อนึ่งเข้าเขาได้ไถ่อย่าถอดเอากับเขาผู้รักษาพระราชอาญาอย่ากระทำกรุงประสิทธิ์พระราชอาญาถวายศักราชนอก...[11]

ตำนานอุรังคธาตุฉบับที่ระลึกงานกฐินพระราชทานมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตำนานอุรังคธาตุที่ระลึกกฐินพระราชทาน มข. (ตีพิมพ์) ถวายวัดพระธาตุพนม 26-27 ตุลาคม 2562 ออกนามแสนกลางน้อยศรีมุงคุล ศักราชคลาดเคลื่อนจาก 108 เป็น 58 หรือ พ.ศ. 2339 เช่นอุลังกะทาดตุนีทานฉบับวัดอับเปวันนัง ช่วงศักราชราวสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชมหาราช (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2181-2238) พระยาจันทสีหราชหรือพระยาเมืองแสน (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2238) และเจ้าองค์หล่อ (ครองราชย์ราว 2239-42) เนื้อความระบุว่า ...สังกาศได้ 508 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 10 ค่ำ วัน 2 ปางเช่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เจ้าด้านทั้ง 4 แต่งรักษาข้าโอกาสแล พระราชอาชญาสมเด็จตรัสอุดมบรมบพิตรพระมหาธนมประโชติสัตตธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าอันเป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาชญาโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกลางน้อยสีมุงคุลให้พิทักษ์รักษาพีชชะหมู่ซุมพี่น้องลูกแลหลานข้อยโอกาสท่านดงบุญอย่าให้สว่านเสียไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสว่านเสียไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยรูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลจัดท้าวซ้อนถอนเอามาไว้ดังเก่า ไผอย่าถกถอดสรรพน้ำหนองพองป่าข้อยลงมาแต่จอกพอก ละนอง หนองสองแคว ซะโปน เมืองวัง เชียงหุงรุ้ง ผาปันให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลตุ้มปกเอา อัน 1 ให้เด็กน้อยถืกโอวาทดวงอยำนำอาชญาเราพระองค์แลนางกษัตริย์ไปจัดเอาข้าวใส่เยีย บ่ได้ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เราพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจีงได้จีงให้รามศรีเฒ่าเอาขายถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสืบร้อยน้อยใหญ่แก้วหาญอย่าช้าอันว่าผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนี้สิ่งข้าวของเงินคำช้างม้าวัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองอย่ากดขื่อซื้อเรือนเขา อันหนึ่งอย่ารื้อขับรับกินข้าวสารอย่าริบเข้าติบอย่ายอเลาหย่าขอดสานจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้ไถ่อย่าถอดถอนเอาดอมเขาผู้รักษาพระราชอาชญาอันใดนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำสิทธิพระราชอาชญาถวายพระสังกาศ...[12]

คำให้การชาวบ้านดงนาคำ

เอกสารประวัติเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม) พระเทพรัตนโมลีเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมเรียบเรียง ระบุคำให้การของชาวบ้านดงนาคำออกนามว่าแสนกลางน้อยศรีมงคลและแสนกลางน้อยศรีมุงคุล ช่วงปกครองธาตุพนมกลับตรงสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชมหาราช (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2181-2238) สันนิษฐานศักราชคงคลาดเคลื่อนเนื่องจากห่างสมัยเจ้าอนุวงศ์ 100 กว่าปี เนื้อความโดยละเอียดระบุว่า ...ตามคำให้การของชาวบ้านดงนาคำอยู่ในประเทศลาวตรงข้ามกับธาตุพนมซึ่งได้บอกกันสืบต่อ ๆ มาจากบรรพบุรุษว่า เมื่อสร้างยอดพระธาตุเสร็จแล้วเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กได้สั่งให้หัวหน้าข้าโอกาสทั้ง 3 คนคือแสนกลางน้อยศรีมงคล แสนพนม และแสนนามพาครัวลูกหลานบ่าวไพร่อพยพจากบ้านธาตุพนมไปตั้งภูมิลำเนาอยู่แถวดงนาคำลึกจากฝั่งโขงเข้าไปในฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเขตประเทศลาว ก่อนไปเจ้าราชครูฯ ให้โอวาทว่า "สูเจ้าจุ่งลูกหลานญาติพี่น้องจุ้มเจื้อเชื้อแนวไปสร้างบ้านแปงเฮือน เฮ็ดไฮ่ใส่นาอยู่แถวดงนาคำบ่อนดินดำน้ำซุ่มพุ้น ที่นั้นมีผลหมากไม้บ่ไฮ้บ่อึด มียอดบุ่นยอดหวายเผิ่งมิ้มของป่าของดงก็มาก ที่สร้างแปงไฮ่นาก็กว้างบ่อึดบ่อยาก ให้เคารพยำแยงคุณแก้ว 3 ประการ อย่าได้ประมาท ให้เอาบั้งจุ้มพระธาตุพนม (ตำนาน) เป็นที่ไหว้สักการะบูชาพิทักษ์ฮักษาอย่าขาด เพื่อให้เป็นเนื้อหนังอุปกรณ์แก่พระชินธาตุเจ้าตามเฒ่าแก่บูฮาณมา ก็หากจักวุฒิสวัสดิ์แก่สูเจ้าทั้งหลายทุกเมื่อหั่นแลฯ" ดังนี้ ส่วนแสนกลางน้อยศรีมุงคุลได้อพยพพวกพร้องไปตั้งอยู่บ้านมะนาว แสนพนมไปตั้งอยู่บ้านดงใน แสนนามพาครอบครัวไปตั้งอยู่บ้านดงนอก ทั้ง 3 บ้านถือพระบรมธาตุและตำนานพระธาตุเป็นสรณะอันศักดิ์สิทธิ์สืบมาจนบัดนี้ ตำนานพระธาตุพนมที่ชาวดงนาคำได้ไว้นั้น เล่ากันว่าเป็นฉบับดั้งเดิมและละเอียดถูกต้องกว่าฉบับอื่น ๆ จารึกลงในลานทองบรรจุหีบศิลาอย่างดี ต้องเปลี่ยนวาระกันสักการะบูชาบ้านเรือนละ 3 วัน เวียนกันไป ถือขลังและศักดิ์สิทธิ์จนเข้ากระดูกดำใครไปขอดูก็มิได้ เขาว่าเจ้าเก่านายหลังเขามาพวกเขาจึงจะเอาตำนานนั้นให้ พวกเราก็จะได้ดิบได้ดีเพราะได้สั่งความกันไว้แต่สมัยก่อนโน้น และบอกลักษณะเจ้าเก่าที่จะมานั้นว่า ต้องพิสูจน์โดยการเอาน้ำใส่โอ (ขัน) ใหญ่และให้เหยียบดู ถ้าน้ำไม่ล้นโอก็ใช่ มันเป็นแบบหาหนวดกับเต่าหาเขากับกระต่าย ตายแล้วตายอีกก็คงไม่พบ จึงเป็นการยากที่คนภายนอกจะรู้เคล็ดลับกับเขา บ้านเหล่านี้สันนิษฐานว่าเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กจะสั่งย้ายภายหลัง เมื่อบ้านธาตุพนมแตกครั้งที่สองที่ได้นำเอาข้าโอกาสชาวธาตุลงไปจำปาศักดิ์ตามตำนานพระธาตุพนม...[13]

บ้านดงนาคำเดิมคือบ้านดงนอก ดงใน หรือบ้านดงท่า ดงเทิง และบ้านนาคำ บ้านดงในเดิมชื่อบ้านดงเทิงตั้งคู่กับบ้านดงท่า ปัจจุบันขึ้นกับเมืองอุทุมพอน แขวงสะหวันนะเขด ประชาชนเป็นชาวภูไทที่ตั้งรกรากอยู่เมืองวังอ่างคำและเมืองเซโปนซึ่งเป็นกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมมาแต่เดิมเรียกว่าลูกธาตุแล้วอพยพมาตั้งบ้านดงท่าดงเทิง ถือเป็นกลุ่มข้าโอกาสทำหน้าที่รักษากุญแจเปิดปิดประตูพระธาตุพนม ประเพณีโบราณก่อนงานบุญนมัสการพระธาตุพนมต้องส่งคนมาเชิญชาวบ้านดงท่าดงเทิงและชาวบ้านนาวางไปร่วมเปิดพิธี ชาวบ้านนาวางทำหน้าที่รักษาบั้งจุ้มพระธาตุพนมและอุปัฏฐากพระธาตุตุ้มพะวัง (ตุมพะวัง) เดิมบั้งจุ้มเก็บรักษาไว้ในพระธาตุตุ้มพะวังหลังสงครามเวียงจันทน์ในรัชสมัยเจ้าอนุวงศ์สยามนำไปเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ ผู้รักษาบั้งจุ้มเรียกว่าข้าบั้งจุ้ม[14] ต่อมาชาวบ้านดงท่าดงเทิงบางส่วนอพยพไปสร้างบ้านนาคำตั้งอยู่หัวน้ำบุยแล้วย้ายมาตั้งที่บุ่งกะสกและย้ายอีกครั้งในที่ตั้งบ้านนาคำปัจจุบัน หลังสงครามเวียงจันทน์ชาวดงท่าดงเทิงบูรณะพระธาตุพนมน้อยหรือพระธาตุท่าพะนมขึ้นเป็นตัวแทนพระธาตุพนม ต่อมายาท่านใหญ่มหางอน ดำลงบุน ประธานองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาวลำดับ 5 เปลี่ยนนามใหม่ว่าพระธาตุท่าพนมปฐมรัตนเจดีย์ ปัจจุบันบ้านดงท่าดงเทิงแบ่งออก 8 หมู่บ้านคือ บ้านบ้านดงท่า บ้านดงใน บ้านนาคำ บ้านหนองแปน บ้านดงขวาง บ้านตาดขาแดง (ปัจจุบันขึ้นกับเมืองอาดสะพอน) บ้านหนองเขียดเหลือง (ปัจจุบันขึ้นกับเมืองไซบูลี) และบ้านโนนป่าไล่[15]

บุตรธิดา

เอกสารพื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาชระบุว่าเจ้าพระรามราชปราณีมีบุตรธิดา 8 ท่านดังนี้ ...พระยาโอกาสเจ้าตนเป็นอาชญ์กั่วคนทั้งหลายเป็นพระมหาสมเด็จราซาธาตุพระนมบุรมมหาเจดีย์สีมุงคุณมีซื่อว่าพระยามะลามมะลาชปาฑีซาสีมุงคุรสุนทรเจ้ามีลูก 8 ตน ๆ 1 ซื่อว่าเจ้าอัคคบุตตสุทธสุวัณณบุนมี ตน 1 ซื่อว่าเจ้าอุปปราซาสุวัณณคำเฮือง ตน 1 ซื่อว่าเจ้าลาชวงสาหน่อคำเที่ยง ตน 1 ซื่อว่าท้าวหน่อพุทธา ตน 1 ซื่อว่าท้าวน้อยคำผิว ตน 1 ซื่อว่านางแก้วมณีก่องเทวี ตน 1 ซื่อว่านางสิริวัณณาเทวี ตน 1 ซื่อว่านางจันทแจ่มฟ้ากุมมารี หลานตน 1 มีซื่อว่าอุปปลสุวัณณคำถงก็ตื่มแถมยศว่าเจ้าพระพิพักษ์เจดีย์สีปริษัทขัติยวงสา เจ้าทั้งหลายทั้งมวลจักพากันมามวลกันมาน้อมพระยาธัมมิกราชเจ้าตนประเสริฐแท้ดั่งนี้ ส่วนอันว่านางทั้ง 3 ตนน้องจักไปอยู่ตาล 7 ยอดเพื่อว่าจักได้คอยพระยาธัมมิกราชตนประเสริฐมาสู่เวียงพระมหาธาตุเจ้าพระนมแท้ก็มีแท้ดั่งนี้แล...[16] เอกสารยังระบุเหตุการณ์ที่ธาตุพนมช่วงราว พ.ศ. 2369 และราว พ.ศ. 2371 ด้วยว่า ...สังกราชได้ฮ้อย 88 ตัว เจ้าพระนมขึ้นไปเฝ้าเจ้าเวียงจันทน์ สังกราชได้ฮ้อย 90 พระนมบังมุกแตกเจ้าซานน...[17]


ก่อนหน้า เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) ถัดไป
เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) ขุนโอกาสหรือเจ้าโอกาส (เจ้าเมือง) ธาตุพนม
พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)

อ้างอิง

  1. ดูรายละเอียดใน เพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ, ดร., "พระยาธาตุ : ผู้ปกครองเขตน้ำแดนดินธาตุพนมและสายสกุลในปัจจุบัน", ใน ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, ดร. และเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ, ดร., นัยตำนานพระธาตุพนม : งานสร้างสรรรค์ในสวนพุทธมาลัยลำดับ ๓, ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, ดร. (บรรณาธิการ), (เชียงใหม่ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่สแกนเนอร์, ๒๕๖๔), หน้า ๓๒๓-๓๒๖.
  2. ดวง รามางกูร, พระมหา, พื้นเมืองพระนม (ประวัติวงศ์เจ้าเมืองธาตุพนม), (กรุงเทพฯ : วัดบวรนิเวศวิหาร คณะแดงรังษี, ม.ป.ป.), ไม่ปรากฏเลขหน้า. (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์และเอกสารเย็บเล่ม)
  3. ดวง รามางกูร, พระมหา, พื้นเมืองพนม (ประวัติวงส์เจ้าเมืองธาตุพนม), ไม่ปรากฏหน้า (อัดสำเนา).
  4. คัมภีร์ใบลานเรื่อง ตำนานเมืองเก่า (บั้งจุ้ม (ตำนานเมือง)). วัดโพนกอก บ.ปากกะยุง ม.ทุละคม ข.เวียงจันทน์ สปป.ลาว. เอกสารใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว (เฉพาะหน้า ๓๕ อักษรธรรมลาว-ลาวเดิม). ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) เลขรหัส PLMP ๑๐ ๐๒ ๐๑ ๑๔ ๐๐๔_๐๒. หมวดตำนานเมือง. ๒๑ ใบ ๔๒ หน้า (ตรวจสอบมี ๑๘ ใบ ๓๖). ผ.๑/น.๑๒/ด.๒.
  5. รัตนโมลี, พระเทพ (เรียบเรียง), "ประวัติเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม)", ใน ติสฺสวํโส ภิกฺขุ และคณะ, สมเด็จพระสังฆราชลาว พระชนม์ ๘๙ พรรษา เสด็จหนีภัย ลอยแพข้ามสู่ฝั่งไทย : มูลมรดกชนชาติอ้ายลาว อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระยอดแก้ว พุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งพระราชอาณาจักรลาว ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิริทราวาส กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘, (กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., ๒๕๒๘), หน้า ๒๓๔-๒๓๕.
  6. ดูรายละเอียดใน วีรพงษ์ รามางกูร, ดร., คนเดินตรอกฉบับบันทึกความทรงจำ : อนุสรณ์พิธีพระราชทานเพลิงศพ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๗.๓๐ น., (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๕), ๗๙๖ หน้า.
  7. วีรพงษ์ รามางกูร, ดร., "วงศ์สกุลของพ่อ", ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ รามางกูร ณ เมรุวัดตรีทศเทพ : วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๒๘ เวลา ๑๗.๐๐ น., (กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.ส., ๒๕๒๘), หน้า ๑-๒., เฮือง รามางกูร, ท้าว (ผู้เขียน) และเปลี่ยน สุนีย์ (ผู้ออก). เอกสารเรื่อง จดหมายบันทึก สกุลนี้สืบมาแต่ขุนรามรามางกูร และอนุญาตให้ใช้สกุลรามางกูร (สำเนา). ที่ว่าการอำเภอธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสาร ๑ ฉบับ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นพิมพ์. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. ไม่ปรากฏหมวด. บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๔-๕. (เอกสารส่วนบุคคล) และคณะผู้จัดทำ, ใบโพธิ์ทอง...ที่ร่วงหล่น คุณแม่พิศมัย คงเพชร : ณ เมรุวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ๑๗ มกราคม ๒๕๕๖, (นครพนม : เรณูนครการพิมพ์, ๒๕๕๖), หน้า ๑-๒.
  8. คัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสืออุลังคนิทาน (พื้นอุลํกาธา). (ฉบับ ๑) หอสมุดแห่งชาติ บ.เซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ ม.จันทะบูลี สปป.ลาว. เอกสารใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏเลขรหัส. ผ.๑/น.๒๔/บ.๑๒/ด.๒-น.๒๖/บ.๑๓/ด.๒
  9. คัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสืออุลังคนิทาน (อุลังคะนิทาน). (ฉบับ ๒) หอสมุดแห่งชาติ บ.เซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ ม.จันทะบูลี สปป.ลาว. เอกสารใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏเลขรหัส. ผ.๑/น.๒๕/บ.๑๓/ด.๑-น.๒๗/บ.๑๔/ด.๑.
  10. ราชบัณฑิตยสภา, ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม : พระพนมนครานุรักษ์มีความเลื่อมใสพิมพ์ไว้เพื่ออุททิศส่วนประโยชน์ที่ควรจะได้จากหนังสือนี้ สำหรับบำรุงการพระศาสนาในจังหวัดนครพนม จำนวน ๓๐๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๔๗๔, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์, ๒๔๗๔), หน้า ๒๔-๒๖.
  11. กรมศิลปากร, "ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ ๒ : ตำนานพระธาตุพนม", ใน ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ ๑ และภาคที่ ๒ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางเอิบ อุมาภิรมย์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๑๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (ธนบุรี : สินเจริญ, ๒๕๑๓), หน้า ๑๑๗-๑๑๘. เฉพาะตำนานพระธาตุพนมพิมพ์เผยแพร่แล้ว ๓ ครั้ง ครั้งแรกพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี โง้นคำ พรหมสาขา (โหง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ฉบับนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ ๔
  12. ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ, ดร., ตำนานอุรังคธาตุ : หนังสือที่ระลึกงานกฐินพระราชทานมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ ทอดถวาย ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม วันเสาร์ที่ ๒๖-วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒, (ขอนแก่น : ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๖๒), หน้า ๑๖๑-๑๖๒.
  13. พระเทพรัตนโมลี (เรียบเรียง), "ประวัติเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม)", ใน ติสฺสวํโส ภิกฺขุ และคณะ, สมเด็จพระสังฆราชลาว พระชนม์ ๘๙ พรรษา เสด็จหนีภัย ลอยแพข้ามสู่ฝั่งไทย : มูลมรดกชนชาติอ้ายลาว อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระยอดแก้ว พุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งพระราชอาณาจักรลาว ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิริทราวาส กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘, หน้า ๒๓๔-๒๓๕.
  14. สุทธิดา ตันเลิศ, "ข้าโอกาสพระธาตุพนมสองฝั่งโขงกับการปรับมโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์", ภาษาและวัฒนธรรม. ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๘) : ๓๔-๓๖.
  15. ผู้ไท บูฮานลาว (นามแฝง), อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ๑ : ย้อนรอยการเดินทางไปสร้างพระธาตุพนมของคนฝั่งซ้าย & ฟังประวัติของพระธาตุท่าพนม, [วีดีโอคลิป], แขวงสะหวันนะเขด-แขวงคำม่วน : วิถีชีวิตชนบท, ๒๕๖๓.
  16. สิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ), พระครู. เอกสารเรื่อง พื้นพระยาธัมมิกราช (พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธราช) (ฉบับคัดลอก). วัดศรีสุมังค์ บ.นาถ่อนท่า ต.นาถ่อน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสารเขียนบนกระดาษ ๑ ฉบับ. อักษรธรรมลาว-ลาวเดิม. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นเขียน. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. หมวดตำนานพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์. ๓ แผ่น ๖ หน้า. ผ.๑/น.๒/ด.๒. ผ.๒/น.๓/ด.๑. (เอกสารส่วนบุคคล)
  17. สิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ), พระครู. เอกสารเรื่อง พื้นพระยาธัมมิกราช (พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธราช) (ฉบับคัดลอก). วัดศรีสุมังค์ บ.นาถ่อนท่า ต.นาถ่อน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม, ผ.๓/น.๕/ด.๑. (เอกสารส่วนบุคคล)

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!