เจ้าพระยาปราบหงสาวดี

เจ้าพระยาปราบหงสาวดี
(พลายภูเขาทอง)
ฉายาอื่น ๆเจ้าพระยาไชยานุภาพ
พลายพุทรากระแทก
พลายพุทรากระทืบ
พลายมิ่งเมือง
สปีชีส์ช้าง
สายพันธุ์ช้างอินเดีย
เพศผู้
เกิดพลายภูเขาทอง
ไม่ทราบ
ตายพ.ศ. 2139
อาณาจักรอยุธยา
เป็นที่รู้จักสำหรับช้างทรงในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ยศเจ้าพระยา
เจ้าของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้อาณาจักรอยุธยา
แผนก/สังกัดกองทัพกรุงศรีอยุธยา
การยุทธ์สงครามยุทธหัตถี

เจ้าพระยาปราบหงสาวดี เดิมชื่อ พลายภูเขาทองมีบางบันทึกบอกว่ามีชื่อเดิมว่า "พลายมิ่งเมือง" ในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียก "พลายพุทรากระแทก") เป็นช้างคู่พระบารมีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากขึ้นระวางแล้ว ได้บรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าพระยาไชยานุภาพ" ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า "เจ้าพระยา​ปราบหงสาวดี" ในครั้งที่ชนะศึกยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2135 (ซึ่งในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 18 มกราคม) ณ ตำบลท่าคอย (ซึ่งปัจจุบันเป็นตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี) ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดาร เชื่อกันว่าเป็นช้างที่มีความจงรักภักดี และมีความกล้าหาญเสียสละช่วยกอบกู้ชาติให้แผ่นดิน มีลักษณะทางคชลักษณ์ที่ดี ส่วนหนึ่งได้แก่หลังที่โค้งลาด คล้ายก้านกล้วย จึงถูกตั้งชื่อในภาพยนตร์แอนิเมชันว่า "ก้านกล้วย"

ชื่อ "พลายพุทรากระแทก" หรือ "พลายพุทรากระทืบ" ได้มาจากในพงศาวดาร ซึ่งระบุว่า ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตัวเล็กกว่า "พลายพัทธกอ" ของพระมหาอุปราชา สู้แรงไม่ได้แต่อาศัยยันโคนต้นพุทรา ทำให้แบกร่างได้ สมเด็จพระนเรศวรใช้พระแสงของ้าวฟันต้องพระอังสาของพระมหาอุปราชาจนสิ้นพระชนม์กับคอช้าง

จากจดหมายเหตุของ de Coutre ระบุว่าเจ้าพระยาปราบหงสาวดี ล้มลงในปี ค.ศ. 1596 (พ.ศ. 2139) หลังศึกยุทธหัตถี 4 ปี สมเด็จพระนเรศวรโปรดได้มีการสร้างเมรุ พระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติยศเจ้าพระยา มีงานมหรสพถึง 7 วัน 7 คืน

ชื่อ "ไชยานุภาพ" ได้กลายมาเป็นชื่อชุดแข่งขันของฟุตบอลทีมชาติไทยตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 โดยวาริกซ์สปอร์ต เป็นชุดเหย้าสีดำล้วน คู่กับ "ปราบไตรจักร" ช้างทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งเป็นชุดเยือนสีขาวล้วน

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ดนัย ไชยโยธา, นามานุกรมประวัติศาสตร์, โอเดียนสโตร์, 2548, ISBN 974-971-297-8

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!