เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ นามเดิม อู่ เป็นเสนาบดีกรมคลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[1]
ประวัติ
ต้นตระกูลของเจ้าพระยาชํานาญบริรักษ์เป็นพราหมณ์มาจากประเทศอินเดีย บิดาคือเจ้าพระยาพิษณุโลก (เมฆ) ได้ละเพศพราหมณ์ เข้ามารับราชการในราชสํานักอยุธยา นายอู่เข้ารับราชการในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รับความดีความชอบ เติบโตในชีวิตราชการเป็นลําดับ[2]
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศปราดาภิเษกในปี พ.ศ. 2276 ได้ตั้งขุนชำนาญเป็นเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ ว่าที่โกษาธิบดี[3] ภริยาชื่อท่านผู้หญิงน้อย จวนเจ้าพระยาชํานาญบริรักษ์อยู่ที่ริมประตูจีน[4]: 83 ทางทิศใต้ในกำแพงกรุงศรีอยุธยา
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ระบุว่าเจ้าพระยาชำนาญฯ ป่วยเป็นลม อัมพาตอยู่ 4 เดือนเศษจึงถึงแก่อสัญกรรม ได้รับพระราชทานโกศ แต่งศพใส่เครื่องและชฎา[ก]อย่างเจ้าต่างกรมและให้เรียกศพว่าพระศพเป็นกรณีพิเศษ โปรดให้ทำพระเมรุ ณ วัดไชยวัฒนาราม เสด็จฯ ไปพระราชทานเพลิงพระศพ แล้วโปรดตั้งพระยาพิพัทธโกษาซึ่งเป็นบุตรเขยเจ้าพระยาชำนาญฯ เป็นพระยาพระคลัง[5] ปีที่เจ้าพระยาชํานาญบริรักษ์ถึงแก่อสัญกรรม มีการคํานวณไว้ว่า ตรงกับปี พ.ศ. 2295[2]
บรรดาศักดิ์
- ขุนชำนาญชาญณรงค์ (อู่)[6]: 317
- เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ว่าที่โกษาธิบดี ศักดินา 10000[6]: 318
- เจ้าพระยามหาอุปราช ชาติวรวงศ์องค์ภักดีบดินทร์ สุรินทร์เดโชชัยมหัยสริยภักดีอาญาธิราช[7]: 73 [8]: 36 [9]: 39 ว่าการพระคลัง ศักดินา 10000
ลำดับสาแหรก
ลำดับสาแหรกของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)
|
|
หมายเหตุ
ก ตามธรรมเนียมขุนนางถึงแก่อสัญกรรมจะได้ใส่ลอมพอก
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม