เคิร์ต สตีเวน แองเกิล (Kurt Steven Angle; 9 ธันวาคม ค.ศ. 1968)[ 4] เป็นนักมวยปล้ำอาชีพ, นักแสดงและอดีตนักมวยปล้ำสมัครเล่นชาวอเมริกันในชื่อที่รู้จักกันอย่างดีว่า เคิร์ต แองเกิล (Kurt Angle)[ 3] [ 5] [ 6] เป็นอดีตนักมวยปล้ำของสมาคม WWE และTNA อดีตแชมป์ WWE 4สมัย, แชมป์โลกเฮฟวี่เวท 1สมัย, แชมป์ WCW 1สมัย และแชมป์เฮฟวี่เวท IWGP (IGF) [ 7] เป็นคนที่2 ได้เข้าสู่หอเกียรติยศทั้ง WWE และ TNA ต่อจากสติง
วงการมวยปล้ำสมัครเล่น
ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 แองเกิลเป็นฝ่ายชนะนักมวยปล้ำชาวอิหร่าน ที่มีชื่อว่า อับบาส จะดีดี จากการตัดสินของกรรมการหลังจากที่ได้ทำการจับคู่ปล้ำกันแปดนาที โดยมีการเสมอกันที่หนึ่งต่อหนึ่ง จากการต่อสู้ได้แสดงให้เห็นว่าจะดีดีได้รับคะแนนในช่วงหลังสองนาทีกับอีก 46 วินาทีจากการหมุนของแองเกิล ส่วนแองเกิลก็ได้คะแนนจากท่าเทคดาวน์ ภายหลังจากสามนาทีกับอีกสิบเอ็ดวินาที การตัดสินของกรรมการดังกล่าวได้รับการประท้วงโดยจะดีดี[ 8]
ในเดือนเมษายน 2011 แองเกิลได้เปิดเผยว่ามีแผนหวนกลับเข้าแข่งขันมวยปล้ำสมัครเล่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอน[ 9] [ 10] [ 11] อย่างไรก็ตาม ได้มีการประกาศอีกครั้งในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 ว่าเขาไม่สามารถทำการซักซ้อมร่วมกับทีมสหรัฐฯได้เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บที่เข่า[ 12]
วงการมวยปล้ำอาชีพ
เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (1998–2006)
หลังจากประสบความสำเร็จในการคว้าเหรียญทองโอลิมปิก เขาก็ตัดสินใจเลี้ยวเข้าสู่วงการ Sports-Entertainment อย่างเต็มรูปแบบด้วยความแน่วแน่เต็มที่ จนกระทั่งได้เปิดตัวกับ WWE เมื่อปี 2000 เดือนกุมภาพันธ์ปีนั้น เขาเอาชนะวาล เวนิส พร้อมคว้าแชมป์ยุโรปมาครองสำเร็จในสแมคดาวน์ ต่อมาก็ปราบคริส เจริโค คว้าแชมป์อินเตอร์ฯ ได้ในศึกใหญ่ No Way Out และมาในเดือนตุลาคมศึก No Mercy สามารถชนะเดอะร็อก คว้าแชมป์โลกสมัยแรกมาประดับบารมีอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งตัวเขาก็ได้พิสูจน์ให้โลกรู้ว่าเป็นของจริงแท้แน่นอน จากการเป็นผู้ชนะแมตช์ Hell in a Cell ในศึก Armageddon นอกจากนี้ยังได้เป็นผู้ชนะคิงออฟเดอะริง ปี 2000[ 13]
ปี 2001 นั่นคือจุดพีคสุดในอาชีพของเขาเลยก็ว่าได้ เมื่อเขาได้ทั้งครองแชมป์คิงออฟเดอะริง, ได้ออกหนังสืออัตชีวประวัติของตนเองชื่อว่า 'It's True, It's True' แถมยังถูกเชิญเข้าสู่หอเกียรติยศของสมาคมมวยปล้ำสมัครเล่นแห่งชาติด้วย จากนั้นเขาก็ยังปล้ำในระดับแนวหน้าของ WWE มาหลายปี เปิดศึกกับสตาร์ดังมากมาย
ในจัดจ์เมนท์เดย์ (2002) แองเกิลแพ้ให้กับเอดจ์ แบบ "Hair vs. Hair Match" ถ้าใครแพ้คนนั้นต้องโดนโกนผม ทำให้เขาถูกโกนหัวจนหัวล้านจนถึงทุกวันนี้
แองเกิลได้เข้าร่วม Battle Royal 20 คน เพื่อชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ที่ว่างอยู่ ผลปรากฏว่าแองเกิลจับเหวี่ยงมาร์ก เฮนรี เป็นคนสุดท้ายและได้แชมป์โลกเฮฟวี่เวท ต่อมาแองเกิลต้องป้องกันแชมป์กับแรนดี ออร์ตัน และ เรย์ มิสเตริโอ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 22 ผลปรากฏว่าเรย์คว้าแชมป์ไปได้ จากนั้นแองเกิลได้ย้ายไป ECW เป็นเวลาสั้นๆ ก่อนจะลาออกจาก WWE
โทเทิล นอนสต็อป แอคชั่น เรสต์ลิง (2006–2016)
หลังจากเลิกสัญญากับ WWE แค่เดือนเดียว พร้อมประกาศถอดบู๊ทเพื่อรักษาร่างกายเยียวยาปัญหาครอบครัว แองเกิลทำเซอร์ไพรส์ ย้ายเข้ามาใน TNA เป็นที่เรียบร้อย ดิ๊กซี่ คาร์เตอร์ ประธาน TNA กล่าวว่า หลังถ่ายทำวิดีโอแนะนำตัวจนถึงเที่ยงคืน แองเกิลได้เขียนข้อความเปิดใจบนกระดาษโน้ตของโรงแรม ซึ่งพอสรุปใจความสำคัญว่า
"การมาอยู่ TNA ทำให้ผมรู้สึกเหมือนได้พบบ้าน ผมสนุกกับชีวิตที่ WWE แต่ผมไม่เคยมีความสุขอย่างจริงจังเลย"
"TNA ได้นำ “ของจริง” กลับคืนสู่วงการมวยปล้ำ ซึ่งช่างเข้ากันได้ดีกับนักมวยปล้ำผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์โอลิมปิกสหรัฐ ผมมีพื้นที่ที่จะเติบโตและช่วย TNA ให้เติบโตด้วย"
"ที่ TNA ผมไม่รู้สึกตัวเองโดนจำกัดหรือดึงให้ถอยหลังเหมือนช่วง 6 ปีที่สมาคมอื่น (WWE) แต่ตอนนี้ ผู้ชมจะได้เห็น “ตัวจริงของเคิร์ท แองเกิล” กันเสียที ผมกำลังจะได้ทำในสิ่งที่รักคือ “มวยปล้ำจริง ๆ” ซึ่งเป็นตัวทำให้ผมยิ้มออก"
"TNA กำลังจะเป็นรายการโทรทัศน์ที่มีคนดูมากที่สุดทางเคเบิลทีวี แล้วตอนนี้ ผมมีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จนี้ ท้ายสุดผมอยากขอบคุณ TNA ที่ช่วยรักษาอาชีพนักมวยปล้ำของผมไว้ รวมถึงความปรารถนาที่จะได้ทำสิ่งที่ตัวผมรัก"
แองเกิลได้เจอกับเจฟ จาเรต ในอเกนต์ ออล ออดส์ (2011) โดยมีข้อแม้ว่าถ้าจาเรตชนะ แองเกิลจะต้องพา Karen Jarrett (ภรรยาเก่า) ไปแต่งงานกับจาเรต แต่ถ้าแองเกิลชนะจะได้สิทธิ์เลี้ยงดูลูกๆของแองเกิล คือ Kody กับ Kyra Angle ผลปรากฏว่าแองเกิลพ่ายแพ้ไป ในฮาร์ดคอร์จัสติส (2011) แองเกิลสามารถคว้าแชมป์โลก TNA มาได้สมัยที่5 จากการใช้เก้าอี้ตีใส่สติงที่ฮัลค์ โฮแกน นำมา ปี 2013 TNA ได้ประกาศให้แองเกิลเข้าสู่หอเกียรติยศทีเอ็นเอ [ 14]
ในปี 2014 แองเกิลได้หมดสัญญากับ TNA แล้ว และมีแผนที่กลับไป WWE อีกครั้ง แม้ว่าวินซ์ แม็กแมน จะไม่ค่อยต้องการแองเกิลกลับมาสู่ WWE นักก็ตาม แต่ถ้าแองเกิลจะเซ็นสัญญากับ WWE จริงก็อาจจะต้องเป็นแบบพาร์ทไทม์เนื่องจากแองเกิลปฏิเสธที่จะเซ็นสัญญาเป็นนักมวยปล้ำแบบฟูลไทม์เพราะเขาประเมิณแล้วว่าสภาพร่างกายของเขาในปัจจุบันคงจะกรำศึกหนักไม่ไหวหากจะต้องเดินทางไปกับคณะของ WWE และต้องปล้ำทุกสัปดาห์เหมือนสมัยเขายังหนุ่มๆ
ทั้งนี้แองเกิลก็ยังไม่ปิดโอกาสในการกลับไปยัง TNA ถ้าหากว่า TNA ยื่นข้อเสนอที่ทำให้เขาพอใจได้ ซึ่งแองเกิลเองก็มีความรู้สึกที่ดีต่อ Dixie Carter และสมาคม TNA ในภาพรวมซึ่งเคยช่วยเหลือเขามาตลอดในตอนที่เขามีปัญหาส่วนตัวหลายๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพและเรื่องคดีความต่างๆ[ 15]
ในปี 2015 แองเกิลได้เซ็นสัญญากับ TNA อีกครั้ง[ 16] [ 17] ซึ่งแองเกิลได้คอนเฟิร์มเองว่า หมดสัญญากับ TNA คราวนี้จะไม่ต่อสัญญาฉบับใหม่อีก โดยสัญญาจะหมดลงในช่วงต้นปี 2016 แองเกิลได้ปล้ำแมตช์สุดท้ายแพ้ให้กับแลชลีย์ ในวันที่ 8 มีนาคม 2016
ดับเบิลยูดับเบิลยูอี (2017–2020)
วันที่ 16 มกราคม 2017 WWE ได้ประกาศให้แองเกิลเข้าสู่หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี [ 18] ในรอว์ 3 เมษายน วินซ์ แม็กแมนได้แต่งตั้งให้แองเกิลเป็น GM ผู้จัดการทั่วไปคนใหม่ของรอว์ ในทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2017) แองเกิลได้ขึ้นปล้ำให้กับWWEครั้งแรกในรอบ11ปีโดยจับคู่กับเดอะชีลด์ เอาชนะทีมเดอะมิซ , เคน , บรอน สโตรว์แมน , ซีซาโรและเชมัส ไปได้[ 19] ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2017) แองเกิลได้เป็นกัปตันทีมฝั่งรอว์เจอกับทีมฝั่งสแมคดาวน์โดยมีข้อแม้ว่าถ้าทีมรอว์แพ้แองเกิลต้องออกจากตำแหน่ง GM สุดท้ายทริปเปิลเอชเป็นฝ่ายนำทีมรอว์คว้าชัยไปได้โดยระหว่างแมตช์ทริปเปิลเอชได้เล่นงานแองเกิลจนออกจากการแข่งขัน ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2018) แองเกิลและทริปเปิลเอชกับสเตฟานีได้มาทำพิธีเซ็นสัญญาของรอนดา ราวซีย์ ก่อนที่แองเกิลแฉความจริงว่าทริปเปิลเอชกับสเตฟานีแค้นรอนดามาตั้งแต่เรสเซิลเมเนีย 31 และอยากได้มายำเล่นนานแล้ว ซึ่ง 3 ปีผ่านไปก็สำเร็จ ก่อนจะแฉสเตฟานีว่า ทุกวันนี้รอนดาไม่เหลืออะไรแล้ว ลำพังแค่เจอเธอ เธอยังชนะได้เลย ด้านทริปเปิลเอชรีบมาห้าม แต่โดนรอนดาจับทุ่มกับโต๊ะจนพัง สเตฟานีโมโหตบหน้ารอนดาอย่างแรง!!! ก่อนที่รอนดาหยิบสัญญามาเซ็น คืนต่อมารอนดาบอกให้สเตฟานีขอโทษที่ตบหน้าเธอและสเตฟานีก็ยอมขอโทษแต่ทริปเปิลเอชก็ชกใส่แองเกิล สัปดาห์ต่อมาแองเกิลประกาศจะจับคู่กับรอนดาเจอทริปเปิลเอชกับสเตฟานีแบบแท็กทีมผสมในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34 ซึ่งทีมแองเกิลชนะไปได้[ 20] ต่อมาได้มีปัญหากับแบรอน คอร์บิน ในเรื่องการเป็น GM ผู้จัดการรอว์จนในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 35 แองเกิลแพ้ให้กับคอร์บินในแมตช์อำลาสังเวียนของแองเกิล[ 1] [ 21] ก่อนจะถูกยกเลิกสัญญากับ WWE ในปีต่อมาจากการลดงบประมาณอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19[ 22] [ 23]
ผลงานแสดง
ภาพยนตร์
โทรทัศน์
ผลงานแชมป์ รางวัล และความสำเร็จ
มวยปล้ำสมัครเล่น
มวยปล้ำอาชีพ
เป็นแชมป์โลก TNA และแชมป์เฮฟวี่เวท IWGP
1 ^ Angle originally won both tag team championship belts from solo championship holder Samoa Joe. Sting won a four-way match to win the other share of the title, and joined Angle in his reign midway through.
2 ^ Won during the Invasion storyline.
การเดิมพัน
บันทึก
↑ 1.0 1.1 Benigno, Anthony (October 8, 2018). "Kurt Angle won a Global Battle Royal to qualify for the WWE World Cup" . WWE . สืบค้นเมื่อ February 19, 2019 .
↑ 2.0 2.1 2.2 "Kurt Angle" . WWE . สืบค้นเมื่อ November 8, 2016 .
↑ 3.0 3.1 3.2 "Kurt Angle's Profile" . Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ September 3, 2007 .
↑ 4.0 4.1 Kreikenbohm, Philip. "Kurt Angle (p. 16)" . Cagematch.net . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ November 27, 2017. สืบค้นเมื่อ November 27, 2017 .
↑ "European Championship – Kurt Angle" . WWE . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-06-16. สืบค้นเมื่อ April 14, 2012 .
↑ "6 Superstars who have won every active title: Photos" . WWE . สืบค้นเมื่อ 4 April 2015 .
↑ 7.0 7.1 "International Wrestling Grand Prix Heavyweight Title" . Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ June 24, 2008 .
↑ King, Peter. "Gripping Finish" . SI.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2006-12-05. สืบค้นเมื่อ July 14, 2007 .
↑ Caldwell, James (April 29, 2011). "TNA News: Kurt Angle planning Olympics comeback in 2012, discusses re-signing with TNA & part-time schedule" . Pro Wrestling Torch . สืบค้นเมื่อ June 8, 2011 .
↑ McNichol, Rob (June 7, 2011). "Angle reveals Olympic plans" . The Sun . สืบค้นเมื่อ October 19, 2011 .
↑ "Kurt Angle on his hardest task – making an Olympic return in 2012" . BBC . 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2012-02-14 .
↑ "Kurt Angle's hopes of wrestling at London 2012 ended by injury" . BBC . April 12, 2012. สืบค้นเมื่อ May 23, 2012 .
↑ 13.0 13.1 PWI Staff. Pro Wrestling Illustrated presents: 2007 Wrestling almanac & book of facts. "Wrestling's historical cards" (p. 106)
↑ "CALDWELL'S TNA IMPACT RESULTS 5/23: Complete "virtual-time" coverage of live Impact – Hogan returns home, A.J. in Aces & Eights?, final show in current timeslot" .
↑ http://www.pwinsider.com/article/88813/big-kurt-angle-update.html?p=1
↑ http://www.pwinsider.com/article/88813/big-kurt-angle-update.html?p=1
↑ Kurt Angle Returns To In-Ring Action and Faces MVP in a Street Fight (Jan 7, 2015)
↑ Melok, Bobby. "Kurt Angle to be inducted into WWE Hall of Fame Class of 2017" . WWE. สืบค้นเมื่อ January 16, 2017 .
↑ Powell, Jason. "Powell's WWE TLC 2017 live review: Kurt Angle, Dean Ambrose, and Seth Rollins vs. Braun Strowman, Kane, The Miz, Sheamus, and Cesaro in a TLC match, AJ Styles vs. Finn Balor, Asuka debuts, Alexa Bliss vs. Mickie James for the Raw Women's Championship" . Pro Wrestling Dot Net . สืบค้นเมื่อ October 22, 2017 .
↑ Powell, Jason (April 8, 2018). "Powell's WrestleMania 34 live review: AJ Styles vs. Shinsuke Nakamura for the WWE Championship, Brock Lesnar vs. Roman Reigns for the WWE Universal Championship, Charlotte Flair vs. Asuka for the Smackdown Women's Championship, Ronda Rousey and Kurt Angle vs. Triple H and Stephanie McMahon" . Pro Wreslting Dot Net . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2018. สืบค้นเมื่อ April 8, 2018 .
↑ Powers, Kevin (April 7, 2019). "Baron Corbin def. Kurt Angle" . WWE . สืบค้นเมื่อ April 8, 2019 .
↑ "Rusev, Kurt Angle and other Superstars released" . WWE . April 15, 2020.
↑ Brookhouse, Brent (April 15, 2020). "WWE talent cuts: Kurt Angle, Rusev among those released in response to coronavirus impact" . CBS Sports . สืบค้นเมื่อ April 15, 2020 .
↑ "PHOTOS: Olympic gold medalist Kurt Angle to fight 'Balveer'? Photo Gallery, Picture News Gallery" . The Indian Express. December 9, 2013. สืบค้นเมื่อ March 20, 2014 .
↑ "Kurt Angle" . International Sports HOF. สืบค้นเมื่อ 2016-02-12 .
↑ "Angle named Greatest Shoot Wrestler of All-Time" . WWE . สืบค้นเมื่อ January 13, 2013 .
↑ "Kurt Angle and Don Curtis to enter Hall of Fame" . WCFCourier. สืบค้นเมื่อ October 17, 2011 .
↑ "Kurt Angle reception set for 2015 National Pro Wrestling HOF" . Wrestleview. สืบค้นเมื่อ May 23, 2015 .
↑ "Power Pro Wrestling Heavyweight Title" . Wrestling Titles. สืบค้นเมื่อ June 1, 2008 .
↑ 30.00 30.01 30.02 30.03 30.04 30.05 30.06 30.07 30.08 30.09 30.10 "PWI Awards" . Pro Wrestling Illustrated . Kappa Publishing Group . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ December 17, 2016 .
↑ "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2001" . Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ December 17, 2016 .
↑ Herzog, Kenny. "WWE Wrestler of the Year: The Miz" . Rolling Stone . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-12-22. สืบค้นเมื่อ December 20, 2017 .
↑ "Southern California Match of the Year" . SoCal Uncensored .
↑ "TNA World Tag Team Title" . Wrestling Titles. สืบค้นเมื่อ January 15, 2008 .
↑ "Total Nonstop Action Wrestling official title history" . TNA Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ June 21, 2008. สืบค้นเมื่อ June 24, 2008 .
↑ "WWE World Heavyweight Championship History" . WWE. สืบค้นเมื่อ August 28, 2007 .
↑ "World Heavyweight Championship History" . WWE. สืบค้นเมื่อ August 28, 2007 .
↑ "WCW World Championship History" . WWE. สืบค้นเมื่อ August 28, 2007 .
↑ "Intercontinental Championship History" . WWE. สืบค้นเมื่อ August 28, 2007 .
↑ "US Title History" . WWE. สืบค้นเมื่อ August 28, 2007 .
↑ "European Championshipweb" . WWE. สืบค้นเมื่อ August 28, 2007 .
↑ "WWE Tag Team Championship History" . WWE. สืบค้นเมื่อ August 28, 2007 .
↑ Beltrán, William (August 3, 2010). "Según el Wrestling Observer... ¿Quiénes son los mejores los mejores de la década?" (ภาษาสเปน). SuperLuchas Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ August 6, 2010. สืบค้นเมื่อ August 5, 2010 .
↑ Copeland, Adam (November 2004). Adam Copeland on Edge . WWE Books . p. 204. ISBN 0-7434-8347-2 .
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
ลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง
ยุค 2010
2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019
แกรนด์สแลม แชมเปียนชิป
ทริปเปิลคราวน์ แชมเปียนชิป
ยุค1960 ยุค1970 ยุค1980 ยุค1990 ยุค2000 ยุค2010 ยุค2020
ยุค1970 ยุค1980 ยุค1990 ยุค2000 ยุค2010 ยุค2020
ยุค1980 ยุค1990 ยุค2000 ยุค2010 ยุค2020