KDE เป็นชุมชนซอฟต์แวร์เสรี นานาชาติที่พัฒนาซอฟต์แวร์เสรี [1] ผลงานของเคดีอีที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เคดีอีพลาสมา (ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อป ของลินุกซ์ดิสทริบิวชัน จำนวนมาก) และแอปพลิเคชันข้ามแพลตฟอร์ม เช่น ครีตา และ ดิจิแคม ที่ทำงานบนยูนิกซ์ (รวมไปถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์) ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ และ แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)
ประวัติ
KDE ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1996 โดย Matthias Ettrich ซึ่งขณะนั้นเขาเป็นนักศึกษาอยู่ที่ Eberhard Karls University of Tübingen [2] เขาประสบปัญหากับการทำงานรูปแบบต่าง ๆ ที่ต้องทำงานกับสภาพแวดล้อมของยูนิกซ์เดกส์ท็อป ซึ่งรูปร่างหน้าตาหรือลักษณะการใช้งานของแต่ละโปรแกรมนั้นแทบจะไม่มีสิ่งที่เหมือนกันอยู่เลย เขาจึงได้เสนอที่จะวางรูปแบบการทำงานขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงการทำงานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของเดสก์ท็อป ซึ่งผู้ใช้งานจะสามารถคาดคะเนการทำงานของสิ่งต่าง ๆ บนเดสก์ท็อป และสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้น เขาได้เขียนความคิดเห็นนี้ลงใน Usenet และได้รับความสนใจค่อนข้างมาก โครงการ KDE จึงได้เกิดขึ้น[3]
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ชื่อ KDE ไม่ได้หมายถึง K Desktop Environment อีกต่อไป แต่หมายถึงชุมชนที่ผลิตซอฟต์แวร์เหล่านั้นออกมาแทน [4]
การเปิดตัวซอฟต์แวร์
เวอร์ชัน
|
วัน
|
ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
14 ตุลาคม 2539
|
มีการประกาศการพัฒนาเคดีอีเป็นครั้งแรก[2]
|
K Desktop Environment 1
|
12 กรกฎาคม 2541
|
|
K Desktop Environment 2
|
23 ตุลาคม 2543
|
|
K Desktop Environment 3
|
3 เมษายน 2545
|
|
KDE Software Compilation 4
|
11 มกราคม 2551
|
|
KDE Plasma 5
|
15 กรกฎาคม 2557
|
K Desktop Environment/KDE Software Compilation ถูกแยกออกไปเป็นเคดีอีพลาสมา, เคดีอีเฟรมเวิร์ก และ เคดีอีโปรแกรมประยุกต์
|
มาสคอต
มาสคอตของเคดีอี เป็นมังกรสีเขียวชื่อ Konqi.[5] เคดีอีพลาสมา 5 มาพร้อมกับหน้าตาโฉมใหม่ของ Konqi ซึ่งออกแบบโดยตั๋น ไต้ชาน[6]
Katie เป็นมังกรสาว และเป็นมาสคอตของเหล่าสตรีในเคดีอี[7]
KDE community mascots |
---|
| Konqi |
| Katie |
| Konqi and other mascots |
|
มังกรตัวอื่นๆ ที่มีสีและหน้าที่การงานแตกต่างกันถูกเพิ่มให้กับ Konqi ที่มาพร้อมกับหน้าตาโฉมใหม่ของเขา ซึ่งออกแบบโดยตั๋น ไต้ชาน มังกรแต่ละตัวมีเขาที่คล้ายกับตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ระบุบทบาทในเคดีอี
ก่อนหน้านี้เคดีอีมีมาสคอตเป็นพ่อมดชื่อแคนดัล์ฟ (อังกฤษ: Kandalf) เนื่องจากแคนดัล์ฟที่หน้าตาคล้ายกับแกนดัล์ฟ ทำให้ผู้คนคาดเดาว่า แคนดัล์ฟถูกแทนที่เพื่อป้องกันปัญหาด้านลิขสิทธิ์[8]
อ้างอิง