มาราปี (อินโดนีเซีย : Gunung Marapi , มีนังกาเบา : Gunuang Marapi , ยาวี : ڬونوواڠ ماراڤي) เป็นภูเขาไฟแบบคอมเพล็กซ์ ในจังหวัดสุมาตราตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภูเขาไฟ ที่ยังคุกกรุ่นอยู่ที่สุดในเกาะสุมาตรา เช่นเดียวกับเขาเมอราปี บนเกาะชวา ชื่อนี้มีความหมายว่า "เขาแห่งไฟ" เขามาราปีมีความสูง 2,885 เมตร (9,465.2 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล มีเมืองและนครจำนวนมากที่ตั้งอยู่รายล้อมเขา ซึ่งรวมถึงบูกิตติงงี , ปาดังปันจัง และ บาตูซังการ์ ภูเขาไฟนี้ยังเป็นจุดหมายยอดนิยมของนักไต่เขา[ 2]
ปรัมปราวิทยา
ตามตำนานเชื่อว่าเขาลูกนี้เป็นจุดที่ชาวมีนังกาเบา มาตั้งรกรากเป็นครั้งแรกหลังเรือแล่นมาจอดที่บนเขานี้ ในเวลานั้นเขานี้มีขนาดเท่าไข่หนึ่งฟองและรายล้อมไปด้วยน้ำ[ 3] มีหินอนุสรณ์ศพจำนวนมากในภูมิภาคนี้ที่หันออกสู่ทิศของเขาลูกนี้ อันบ่งบอกว่าเขามาราปีมีความสำคัญทางวัฒนธรรมในพื้นที่แถบนี้[ 4] [ 5]
การปะทุ
เขามาราปีมีประวัติศาสตร์การปะทุบ่อยครั้ง มีการปะทุครั้งสำคัญในเดือนกันยายน 1830, ในเดือนมกราคม 1975 ซึ่งมีการปะทุที่ก่อให้เกิดดินไหลและลาฮาร์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต และอีกครั้งที่สำคัญคือการปะทุในปี 1979 [ 6] ซึ่งเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 60 ราย[ 7] นับตั้งแต่ปี 2011 เขามาราปีจัดเป็นภูเขาไฟระดับสอง ในระบบเตือนภัยที่มีสี่ระดับของกรมสำรวจภูเขาไฟอินโดนีเซีย [ 8] การทำนายการปะทุของเขามาราปีมีการบรรยายไว้ว่ากระทำได้ยาก เนื่องจากต้นธาร (source) ของการปะทุอย่างฉับพลันของเขามาราปีอยู่ตื้นและใกล้ยอดเขา ทำให้การปะทุของเขามาราปีไม่ได้เกิดจากการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นลึก ๆ ซึ่งสามารถตรวจจับได้ในรูปของแผ่นดินไหวเหตุภูเขาไฟ บนเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหว กระนั้น มีผู้คนอาศัยอยู่ราว 1,400 คน บนชั้นต่าง ๆ ของเขามาราปี ในหมู่บ้านรูไบ กัล โกบะฮ์จูมันตีอัง ห่างไป 5 ถึง 6 กิโลเมตรจากยอดเขา[ 9]
ในเดือนธันวาคม 2023 เกิดการปะทุที่เป็นผลให้มีนักไต่เขาเสียชีวิต 23 ราย [ 10] เถ้าตะกอนกระจายไปถึงความสูง 3,000 เมตร (9,800 ฟุต) และมีการกำหนดเขตหวงห้ามขนาด สาม-กิโลเมตร (1.9-ไมล์) รอบภูเขาไฟ[ 11] [ 12]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 "Marapi" . Global Volcanism Program . Smithsonian Institution . สืบค้นเมื่อ 2023-12-04 .
↑ "Mount Marapi: Indonesia volcano death toll rises to 22" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-12-05. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-05. สืบค้นเมื่อ 2023-12-06 .
↑ Summerfield, Anne; Summerfield, John (1999). Walk in Splendor: Ceremonial Dress and the Minangkabau . UCLA . ISBN 0-930741-73-0 .
↑ Miksic, John (2004). "From megaliths to tombstones: the transition from pre-history to early Islamic period in highland West Sumatra". Indonesia and the Malay World . 32 (93): 191–210. doi :10.1080/1363981042000320134 . S2CID 214651183 .
↑ Marapi, Mangaraja Gunung Sorik; Mangaraja Gunung Sorik Marapi; Proyek Penerbitan Buku Sastra Indonesia dan Daerah (1979), Turi-turian ni Raja Gorga di Langit dohot Raja Suasa di Portibi , Departemen Pendidikan dan Kebudayaan, Proyek Penerbitan Buku Bacaan dan Sastra Indonesia dan Daerah, สืบค้นเมื่อ 4 December 2023
↑ Pusat Meteorologi dan Geofisika (1979), Laporan bencana alam Gunung Marapi, Sumatera Barat, tanggal 30 April 1979 , [s.n.], เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2023, สืบค้นเมื่อ 4 December 2023
↑ "Death toll rises to 13 after Mount Marapi eruption, climbers still missing" . Aljazeera . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-06. สืบค้นเมื่อ 2023-12-05 .
↑ "Indonesian rescuers race to find 12 missing after eruption" . France 24 (ภาษาอังกฤษ). 5 December 2023. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-05. สืบค้นเมื่อ 2023-12-05 .
↑ "More bodies found after sudden eruption of Indonesia's Mount Marapi, raising confirmed toll to 22" . Associated Press (ภาษาอังกฤษ). 5 December 2023. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-05. สืบค้นเมื่อ 2023-12-05 .
↑ Wirawan, Jerome; Wright, George (6 December 2023). "Mount Marapi: Indonesia rescuers find last missing hiker on volcano" . BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). BBC . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2023. สืบค้นเมื่อ 6 December 2023 .
↑ "Indonesia's Marapi volcano erupts, spewing ash" . Reuters (ภาษาอังกฤษ). 3 December 2023. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2023. สืบค้นเมื่อ 4 December 2023 .
↑ "Climbers killed survivors found Marapi Indonesia volcano erupt" . ABC Australia (ภาษาอังกฤษ). 4 December 2023. สืบค้นเมื่อ 4 December 2023 .