เขตการปกครองของประเทศอังกฤษ

เขตการปกครองของประเทศอังกฤษ
Administrative map of England (2010)
เขตการปกครองของประเทศอังกฤษ (ในปี ค.ศ. 2010)
ที่ตั้งประเทศอังกฤษ
หน่วยการปกครอง
ประเภทจำนวน
ภูมิภาค9
เทศมณฑลพิธีการ48
เทศมณฑลมหานคร6
เทศมณฑลนอกมหานคร77
อำเภอ326
ตำบล~4,500

เขตการปกครองของประเทศอังกฤษ ประกอบด้วยการแบ่ง 2 แบบ คือ การแบ่งเขตบริหาร และการแบ่งเขตพิธีการที่ไม่ใช่เขตบริหาร

โดยทั่วไป ประเทศอังกฤษแบ่งออกเป็น 9 ภูมิภาค (Region) และ 48 เทศมณฑลพิธีการ (Ceremonial county) โดยจะมีบทบาทและนโยบายสาธารณะที่จำกัด แต่เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของรัฐบาลท้องถิ่น ประเทศอังกฤษจึงแบ่งออกเป็นเทศมณฑล (County), อำเภอ (District), และตำบล (Civil parishes) ในบางพื้นที่ก็อยู่ในรูปแบบของโครงสร้างการปกครองสองระดับ ได้แก่ เทศมณฑลและอำเภอ ขณะที่บางพื้นที่เป็นรูปแบบปกครองระดับเดียว เรียกว่า เขตปกครองระดับเดียว (unitary authority) ส่วนตำบลนั้นไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประเทศอังกฤษ

ระบบการแบ่งเขตปกครองในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการปฏิรูปเพิ่มเติม ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากการออกพระราชบัญญัติรัฐบาลท้องถิ่น ค.ศ. 1965 และ ค.ศ. 1972[1]

เขตการปกครองบางแห่งก็รวมการปกครองสองระดับเข้าด้วยกัน เช่น เกรเทอร์ลอนดอน ที่เป็นทั้งเขตการปกครองระดับภูมิภาคและระดับเทศมณฑล

โครงสร้างระดับการปกครองของอังกฤษ

ภูมิภาค

ระดับภูมิภาคเป็นระดับการปกครองที่สูงที่สุด แบ่งออกเป็นเก้าภูมิภาค แต่ละภูมิภาคก็รวมหลายเทศมณฑลเข้าด้วยกัน การปกครองระดับภาคก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1994[2] และตั้งแต่การเลือกตั้งของรัฐสภาแห่งยุโรป (European Parliament) ในปี ค.ศ. 1999 ภูมิภาคก็ใช้เป็นเขตการเลือกตั้งผู้แทนของอังกฤษเพื่อนั่งในรัฐสภาแห่งยุโรปด้วย

แต่ละภูมิภาคมีขนาดแตกต่างกันทั้งทางเนื้อที่ จำนวนประชากร และทางเศรษฐกิจ ทุกภูมิภาคมีฐานะเท่าเทียมกัน แต่เกรเทอร์ลอนดอน ในฐานะ "ภาค" เป็นหน่วยบริหารเดียวที่มีอำนาจมากกว่าในรูปของการมีนายกเทศมนตรีที่ได้มาจากการเลือกตั้งและหน่วยงานเกรเทอร์ลอนดอน (Greater London Authority)[3]

ภูมิภาคของอังกฤษก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1994 และในปัจจุบันแบ่งเป็น 9 ภูมิภาค

  1. เกรเทอร์ลอนดอน (Greater London)
  2. ภาคตะวันออก (East of England)
  3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (North East England)
  4. ภาคตะวันออกเฉียงใต้ (South East England)
  5. ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (North West England)
  6. ภาคตะวันตกเฉียงใต้ (South West England)
  7. ภาคมิดแลนด์สตะวันออก (East Midlands)
  8. ภาคมิดแลนด์สตะวันตก (West Midlands)
  9. ภาคยอร์คเชอร์และแม่น้ำฮ้มเบอร์ (Yorkshire and the Humber)

เทศมณฑลและอำเภอ

ในด้านการบริหาร ประเทศอังกฤษแบ่งออกเป็น พื้นที่ที่มีโครงสร้างการปกครองสองระดับ ได้แก่ เทศมณฑลและอำเภอ บริหารโดยหน่วยงานท้องถิ่นทั้งสองระดับ และพื้นที่ปกครองระดับเดียว เรียกว่า เขตปกครองระดับเดียว (unitary authority) ซึ่งมีหน่วยงานท้องถิ่นเพียงระดับเดียวในพื้นที่ ทำให้โครงสร้างการบริหารในระดับเทศมณฑลแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของประเทศ โดยประกอบไปด้วย 4 ประเภท ได้แก่ เทศมณฑลนอกมหานคร หรือ เทศมณฑลไชร์ ที่มีด้วยกัน 35 เทศมณฑล, เทศมณฑลมหานคร ที่มีด้วยกัน 6 เทศมณฑล, เขตปกครองระดับเดียว, และเกรเทอร์ลอนดอน

ในด้านนอกเหนือไปจากการบริหารแล้ว ประเทศอังกฤษแบ่งเทศมณฑลออกเป็น 48 เทศมณฑล[4] ที่รู้จักกันว่า "เทศมณฑลผู้แทนพระองค์" หรือ "เทศมณฑลพิธีการ" ซึ่งไม่ใช่ชื่อที่เป็นทางการ เทศมณฑลพิธีการแต่ละแห่งตามพระราชบัญญัติเทศมณฑลผู้แทนพระองค์ ค.ศ. 1997 (Lieutenancies Act 1997) มีผู้บริหารเทศมณฑลแทนพระองค์ (Lord Lieutenant)[4] ผู้ที่ในประวัติศาสตร์เป็นผู้แทนพระมหากษัตริย์ในเทศมณฑลนั้น เทศมณฑลพิธีการมักจะแตกต่างจากเทศมณฑลบริหารตรงที่เทศมณฑลพิธีการจะมีพื้นที่ครอบคลุมเขตปกครองระดับเดียวด้วย นอกจากนี้ เขตเทศมณฑลทางพิธีการยังใช้ในการพิจารณาแบ่งเขตการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาด้วย

เทศมณฑลนอกมหานคร

พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอังกฤษอยู่ภายในเทศมณฑลนอกมหานคร ซึ่งมีโครงสร้างการปกครองสองระดับ ได้แก่ สภาเทศมณฑล และสภาอำเภอ มีเทศมณฑลจำนวน 27 แห่ง สภาเทศมณฑลจะมีการให้บริการในส่วนหลัก รวมทั้งการศึกษา และบริการสังคม ส่วนสภาอำเภอ 201 แห่ง ก็จะมีบทบาทที่จำกัดมากขึ้น[1] อำเภอนอกมหานครอาจมีสถานะเพิ่มเติมเป็นโบโร (borough) หรือนคร (city) ก็ได้ แต่ก็ไม่มีผลต่ออำนาจหรือหน้าที่ เทศมณฑลที่มีโครงสร้างการปกครองแตกต่างจากที่อื่น ๆ คือ เทศมณฑลบาร์กเชอร์ เพราะมีโครงสร้างปกครองระดับเดียว มีอำเภอทำหน้าที่เป็นเขตปกครองระดับเดียว ไม่ขึ้นกับสภาเทศมณฑล แต่กระนั้นสภาเทศมณฑลยังไม่ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ[5] และบาร์กเชอร์ยังมีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีการ[4] แต่เทศมณฑลเบดฟอร์ดเชอร์ และเทศมณฑลเชชเชอร์ ทั้งสองไม่มีสภาเทศมณฑลแล้ว แต่ก็ยังมีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีการ

เทศมณฑลมหานคร

                     อาณาเขตของภูมิภาค                      อาณาเขตของเทศมณฑลพิธีการ                      อาณาเขตของเขตปกครองระดับเดียว
  เทศมณฑลนอกมหานคร (ปกครองสองระดับ)
  เขตปกครองระดับเดียว (เทศมณฑลนอกมหานคร)

เขตเมืองขยายขนาดใหญ่ทั้งหกของอังกฤษมีฐานะเป็นเทศมณฑลมหานคร[1] เมื่อปี ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1986 เทศมณฑลมหานครแต่ละแห่งจะมีสภาเทศมณฑล ซึ่งให้บริการด้านยุทธศาสตร์ที่จำกัด เช่น ขนส่งสาธารณะ และการวางแผนการขนส่ง[1] แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีสภาเทศมณฑลแล้ว แต่ยังถือว่าเป็นเทศมณฑลอยู่ตามกฎหมาย และยังมีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีการ โดยบทบาทหน้าที่ในระดับเทศมณฑลจะดำเนินงานโดยองค์การบริหารร่วมแทน และข้อตกลงอื่น ๆ จัดการโดยสภาอำเภอ ในเทศมณฑลมหานคร สภาอำเภอทั้ง 36 แห่งนี้ ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้เทียบเท่าเขตปกครองระดับเดียว โดยให้บริการในส่วนหลัก รวมทั้งการศึกษา และบริการสังคม[2] อำเภอมหานครทั้งหมดมีสถานะเพิ่มเติมเป็นโบโร บางแห่งก็เป็นนคร แต่ก็ไม่มีผลต่ออำนาจหรือหน้าที่ นอกจากนี้ ในเทศมณฑลเกรเทอร์แมนเชสเตอร์ ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2011 มีการตั้งโครงสร้างปกครองระดับสูงอย่างเป็นทางการ คือ องค์การบริหารร่วมเกรเทอร์แมนเชสเตอร์ (Greater Manchester Combined Authority)[6]

ลอนดอน

เขตบริหารของเกรเทอร์ลอนดอนจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1965 ครอบคลุมพื้นที่ภูมิภาคลอนดอนและปริมณฑล โดยมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารเรื่อยมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 2000 ได้มีหน่วยงานบริหารชื่อว่า องค์การบริหารเกรเทอร์ลอนดอน ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีลอนดอนและสภาลอนดอน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง[7] เกรเทอร์ลอนดอนประกอบด้วย นครลอนดอน ซึ่งเป็นเขตเมืองเก่า และพื้นที่โดยรอบของนครลอนดอน โดยพื้นที่โดยรอบนี้แบ่งออกเป็น 32 โบโร (หรือเขต) แต่ละเขตบริหารโดยสภาลอนดอนโบโร สำหรับนครลอนดอนถือเป็นเขตที่ 33 และบริหารโดยบรรษัทนครลอนดอน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีลักษณะเฉพาะตัว (sui generis) ต่างจากที่อื่น ๆ ในประเทศอังกฤษ[7] และเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิรูปรัฐบาลท้องถิ่นในศตวรรษที่ 19 และ 20[8] ทั้งนครลอนดอนและพื้นที่โดยรอบต่างก็มีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีการ หน้าที่ของสภาลอนดอนโบโรและบรรษัทนครลอนดอน เช่น จัดให้มีหน่วยงานการศึกษา และการจัดการของเสีย ในขณะที่องค์การบริหารเกรเทอร์ลอนดอนรับผิดชอบในเรื่องขนส่งสาธารณะ ตำรวจ การพัฒนาเศรษฐกิจ และการจัดทำแผนฉุกเฉิน[7]

เขตปกครองระดับเดียว

นอกเหนือจากลอนดอนและเทศมณฑลมหานครแล้ว บางพื้นที่ของประเทศอังกฤษได้ถูกปกครองโดยสภาระดับเดียว โดยทั่วไปเรียกว่า (แต่ไม่ใช่ชื่อเรียกตามกฎหมาย) เขตปกครองระดับเดียว (Unitary authority)[1] เขตปกครองนี้จะรวมการบริหารและอำนาจหน้าที่ระหว่างเทศมณฑลนอกมหานคร และอำเภอนอกมหานครเข้าด้วยกัน[9] เขตปกครองระดับเดียวสามารถมีสถานะเพิ่มเติมเป็นโบโรหรือนครก็ได้ แต่สถานะดังกล่าวไม่มีผลต่ออำนาจหรือหน้าที่

เขตปกครองระดับเดียวทั้ง 46 แห่ง ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1995 และ ค.ศ. 1998 ก่อตั้งเพิ่มอีก 9 แห่ง ในปี ค.ศ. 2009 เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 2019 และมีแผนก่อตั้งเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 2020 เขตปกครองระดับเดียวก่อตั้งขึ้นโดยให้อำเภอนอกมหานครเดิมมีอำนาจหน้าที่ของระดับเทศมณฑลร่วมด้วย ในบางกรณี การก่อตั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงเส้นเขตแดนของอำเภอ หรือรวมหลายอำเภอเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ เทศมณฑลบาร์กเชอร์ก็มีการจัดโครงสร้างการปกครองที่ไม่ปกติ กล่าวคือ ทุกอำเภอของบาร์กเชอร์เปลี่ยนเป็นเขตปกครองระดับเดียวทั้งหมด โดยที่เทศมณฑลนอกมหานครยังไม่ถูกยุบเลิกอย่างเป็นทางการ[5]

สำหรับทางพิธีการ เขตปกครองระดับเดียวถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑลที่เคยสังกัดอยู่ อย่างไรก็ตาม ในด้านการบริหาร เขตปกครองระดับเดียวนั้นเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ ไม่ขึ้นอยู่กับสภาของเทศมณฑลที่เคยสังกัด ตัวอย่างเช่น เขตปกครองระดับเดียวพลิมัท เดิมทีเป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑลเดวอน แต่ปัจจุบันการบริหารเป็นอิสระ ไม่ได้ขึ้นกับสภาเทศมณฑล และกรณีของเทศมณฑลบาร์กเชอร์ ในทางบริหาร บาร์กเชอร์ไม่มีสภาเทศมณฑล และเขตปกครองระดับเดียวทั้งหกแห่งไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน แต่อาณาเขตของเทศมณฑลยังครอบคลุมเขตปกครองทั้งหกอยู่ จึงกำหนดให้ประกอบเป็นเทศมณฑลพิธีการ

หมู่เกาะซิลลี

หมู่เกาะซิลลีปกครองโดยองค์กรท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะตัว (sui generis) เรียกว่า สภาหมู่เกาะซิลลี มีลักษณะคล้ายกับเขตปกครองระดับเดียวที่พบในบริเวณอื่น องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1890 โดยมีฐานะเป็นสภาอำเภอหมู่เกาะซิลลี ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน แต่รูปแบบปกครองไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามการปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1974[10] แม้ว่าจะเป็นหน่วยงานปกครองที่แยกออกมา ตัวอย่างเช่นด้านการศึกษา[11] แต่ไอลส์ออฟซิลลิก็เป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑลพิธีการคอร์นวอลล์ และหน่วยงานบางส่วนก็ยังอยู่ในความผิดชอบของสภาคอร์นวอลล์ เช่น สาธารณสุข[12] และการพัฒนาเศรษฐกิจ[13]

ตำบล

ตำบลเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษ ยกเว้นในลอนดอนที่ไม่มีตำบล การมีตำบลมิได้มีทั่วไปในอังกฤษแต่ก็เริ่มจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Jones, B., Kavanagh, D., Moran, M. & Norton, P., Politics UK, (2004), Pearson Longman.
  2. 2.0 2.1 Atkinson, H. & Wilks-Heeg, S. (2000). Local Government from Thatcher to Blair. Polity.
  3. Collins, S., Colville, I & Pengelly, S., A Guide to the Greater London Authority, (2000), Sweet and Maxwell
  4. 4.0 4.1 4.2 "Lieutenancies Act 1997". Office of Public Sector Information. 1997. สืบค้นเมื่อ 8 August 2010.
  5. 5.0 5.1 "The Berkshire (Structural Change) Order 1996". National Archives(legislation.gov.uk). 1996. สืบค้นเมื่อ 13 September 2012.[ลิงก์เสีย]
  6. Association of Greater Manchester Authorities (March 2010). "Greater Manchester Combined Authority Final Scheme" (PDF). agma.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-03. สืบค้นเมื่อ 9 August 2010.
  7. 7.0 7.1 7.2 Travers, T., The Politics of London, (2004), Palgrave
  8. Hebbert, Michael (1998). London: More by fortune than design. John Wiley & Sons.
  9. "Local Government Act 1992". Office of Public Sector Information. 1992. สืบค้นเมื่อ 8 August 2010.
  10. "Local Government Act 1972". Office of Public Sector Information. 1972. สืบค้นเมื่อ 9 August 2010.
  11. "Education and Learning". Council of the Isles of Scilly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2009. สืบค้นเมื่อ 9 August 2010.
  12. "About Us". Cornwall and Isles of Scilly Primary Care Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-24. สืบค้นเมื่อ 9 August 2010.
  13. "The Cornwall and Isles of Scilly Enterprise Partnership". Cornwall Council. 30 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-19. สืบค้นเมื่อ 9 August 2010.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!