เกลื้อนTinea versicolor ชื่ออื่น Dermatomycosis furfuracea,[ 1] pityriasis versicolor,[ 1] tinea flava,[ 1] lota สาขาวิชา ตจวิทยา
เกลื้อน (อังกฤษ : Tinea versicolor ) เป็นอาการทางผิวหนังที่ประกอบด้วยการเกิดรอยบนผิวหนังของลำตัวและปลายแขนขา[ 1] ต้นเหตุส่วนใหญ่ของเกลื้อนเกิดจากฟังไจ Malassezia globosa ส่วน Malassezia furfur มีในบางกรณี[ 2] [ 3] ยีสต์ ทั้งสองตัวนี้สามารถพบได้ทั่วไปบนผิวหนัง และจะเกิดปัญหาในเฉพาะบางกรณีเท่านั้น เช่นในสภาพแวดล้อมที่ร้อนชื้นและอับ อย่างไรก็ตามสภาพแวดล้อมที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดการโตของราเหล่านี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจประจักษ์มากนัก[ 2] [ 4]
มีการระบุอาการของเกลื้อนเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1846[ 5] ชื่อภาษาอังกฤษของเกลื้อนประกอบขึ้นมาจากคำว่า Versicolor ซึ่งมาจาก ละติน : versāre แปลว่าการเปลี่ยน (turn) + สี (color)[ 6] ในภูมิภาคเอเชียใต้ นิยมเรียกชื่อโรคนี้ว่าโรคปีเตอร์ อีแลม (Peter Elam's disease)[ 7]
อาการและอาการแสดง
เกลื้อนโดยปรกติทำให้เกิดผิวสีจางลงในคนที่มีโทนสีผิวเข้ม
อาการแสดงของโรครวมถึง:
ผิวหนังเกิดเกล็ดเป็นครั้งคราวโดยลักษณะเป็นเกล็ดตื้น ๆ คล้ายเถ้า
สีผิวซีด, สีแทน เข้ม หรือสีชมพู โดยมีโทนสีรองเป็นสีแดงที่อาจเข้มขึ้นเมื่อผู้ป่วยรู้สึกร้อนเกินไป เช่น ในการอาบน้ำอุ่นหรือระหว่าง/หลังการออกกำลังกาย โดยทั่วไปแล้วการตากแดดจนเกรียมจะทำให้บริเวณที่มีรอยโรคคมชัดมากขึ้นมากกว่าผิวรอบข้าง[ 8]
ขอบของบริเวณรอยโรคมีความคม[ 9]
เกลื้อนพบได้บ่อยในสภาพอากาศร้อนชื้นหรือในผู้ที่มีเหงื่อออกมาก ดังนั้นอาจเกิดขึ้นซ้ำทุกปีในฤดูร้อน[ 9]
มักจะมองเห็นยีสต์ภายในแผลได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และมักจะมีลักษณะที่เรียกว่า "สปาเก็ตตีและมีตบอล"[ 10] เนื่องจากยีสต์มีทรงกลมและผลิตเส้นใย
ในคนที่มีโทนสีผิวเข้ม ปรกติจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีโดยเกิดการจางลง (ด่างขาว, hypopigmentation) ในขณะที่ผู้ที่มีสีผิวอ่อนการเปลี่ยนแปลงมีสีเข้มขึ้น (ด่างดำ, hyperpigmentation) จะพบได้บ่อยกว่า การเปลี่ยนสีเหล่านี้ทำให้เกิดคำว่า "เชื้อราแดด (sun fungus)"[ 11]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Rapini, Ronald P; Bolognia, Jean L.; Jorizzo, Joseph L (2007). Dermatology: 2-Volume Set . St Louis: Mosby. pp. Chapter 76. ISBN 1-4160-2999-0 .
↑ 2.0 2.1 Morishita N; Sei Y. (December 2006). "Microreview of pityriasis versicolor and Malassezia species". Mycopathologia . 162 (6): 373–76. doi :10.1007/s11046-006-0081-2 .
↑ Prohic A; Ozegovic L. (January 2007). "Malassezia species isolated from lesional and non-lesional skin in patients with pityriasis versicolor". Mycoses . 50 (1): 58–63. doi :10.1111/j.1439-0507.2006.01310.x . PMID 17302750 .
↑ Weedon, D. (2002). Skin pathology (2nd ed.). Churchill Livingstone. ISBN 0-443-07069-5 .
↑ Inamadar AC, Palit A (2003). "The genus Malassezia and human disease" . Indian J Dermatol Venereol Leprol . 69 (4): 265–70. PMID 17642908 .
↑ "versicolor" . Collins English Dictionary — Complete & Unabridged 10th Edition . HarperCollins Publishers. สืบค้นเมื่อ March 2, 2013 .
↑ Kaushik A, Pinto HP, Bhat RM, Sukumar D, Srinath MK (2014). "A study of the prevalence and precipitating factors of pruritus in pityriasis versicolor" . Indian Dermatology Online Journal . 5 (2): 223–224. doi :10.4103/2229-5178.131141 . PMC 4030364 . PMID 24860771 .
↑ "What to Avoid While Treating Tinea Versicolor" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-07-27. สืบค้นเมื่อ 2013-01-05 .
↑ 9.0 9.1 Pityriasis versicolor | DermNet New Zealand . Dermnetnz.org. Retrieved on 2016-10-14.
↑ "Adolescent Health Curriculum - Medical Problems - Dermatology - Papulosquamous Lesions (B4)" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-11-28. สืบค้นเมื่อ 2008-12-10 .
↑ "Tioconazole (Topical Route) - MayoClinic.com" . สืบค้นเมื่อ 2008-12-10 .
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เกลื้อน
การจำแนกโรค ทรัพยากรภายนอก
โรคเกี่ยวกับผิวหนังและรยางค์จำแนกตามกายสัณฐาน
เนื้องอก
ผื่น
With epidermal involvement
Without epidermal involvement
Red
Blanchable Erythema
Generalized Localized Specialized
Nonblanchable Purpura
Indurated
ความผิดปกติอื่นๆ