ฮารูกิ มูรากามิ (ญี่ปุ่น : 村上春樹 ; โรมาจิ : Murakami Haruki ; เกิด 12 มกราคม ค.ศ. 1949[ 1] ) เป็นนักเขียนชาวญี่ปุ่น นวนิยาย เรียงความ และเรื่องสั้นของเขาติดอันดับหนังสือขายดีในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ผลงานของเขามีการนำไปแปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่า 50 ภาษา[ 2] และขายได้หลายล้านเล่มภายนอกประเทศญี่ปุ่น[ 3] [ 4] เขายังได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลกุนโซสำหรับนักเขียนหน้าใหม่ , รางวัลวรรณกรรมไซไฟโลก , รางวัลเรื่องสั้นนานาชาติแฟรงก์โอคอนเนอร์ , รางวัลฟรันทซ์คัฟคา และรางวัลเยรูซาเล็ม [ 5] [ 6] [ 7]
มูรากามิเติบโตในโคเบะ ก่อนจะย้ายไปโตเกียว เพื่อเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ เขาได้รับการตีพิมพ์นวนิยายเรื่องแรก สดับลมขับขาน (1979) หลังจากทำงานเป็นเจ้าของบาร์แจ๊สเล็ก ๆ เป็นเวลาเจ็ดปี[ 8] ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือ ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย (1987), บันทึกนกไขลาน (1994–95), คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ (2002) และ 1Q84 (2009–10) เรื่องหลังได้รับการจัดอันดับให้เป็นผลงานที่ดีที่สุดในยุคเฮเซ ของญี่ปุ่น (1989–2019) โดยสำรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมของหนังสือพิมพ์แห่งชาติ อาซาฮีชิมบุง [ 9] ผลงานของเขาคลอบคลุมหลากหลายแนว ซึ่งรวมถึงบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ , จินตนิมิต และอาชญกรรม และกลายเป็นที่รู้จักจากการใช้องค์ประกอบสัจนิยมมหัศจรรย์ [ 10] [ 11] เว็บไซต์ทางการของเขาระบุว่าเรย์มอนด์ แชนด์เลอร์ , เคิร์ต ฟอนเนกุต และริชาร์ด โบรติแกน เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในผลงานของเขาและยกให้คาสึโอะ อิชิงูโระ , คอร์แม็ค แม็คคาร์ธี และด๊าก โซลสตัด เป็นนักเขียนคนโปรดของเขาในปัจจุบัน[ 8] [ 12] มูรากามิยังได้ตีพิมพ์รวมเรื่องสั้นอีกห้าเรื่อง รวมถึงผลงานล่าสุดของเขาอย่าง สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง (2020) และผลงานสารคดีอย่าง อันเดอร์กราวด์ (1997) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากการสัมภาษณ์ผู้ตกเป็นเหยื่อในการโจมตีซับเวย์โตเกียวด้วยซาริน และ เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง เป็นชุดเรียงความส่วนตัวเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาในฐานะนักวิ่งมาราธอน[ 13]
นวนิยายของเขาทำให้เกิดการแบ่งขั้วระหว่างนักวิจารณ์วรรณกรรมและผู้อ่าน บางครั้งเขาถูกวิจารณ์จากสถาบันวรรณกรรมญี่ปุ่น ว่าไร้ซึ่งความเป็นญี่ปุ่น ซึ่งทำให้มูรากามิหวนรำลึกว่าเขาเป็น "แกะดำในโลกวรรณกรรมญี่ปุ่น"[ 14] [ 15] [ 16] ในขณะเดียวกัน มูรากามิได้รับการนิยามโดยแกรี ฟิสเกตจอน บรรณาธิการใน ดิเอลลิแฟนท์แวนิชส์ (1993) ว่าเป็น "นักเขียนที่ไม่ธรรมดาอย่างแท้จริง" ส่วนสตีเวน พูล แห่งหนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน ยกย่องเขาให้อยู่ในบรรดา "นักประพันธ์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก"[ 17] [ 18]
ชีวประวัติ
มูรากามิเกิดในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ช่วงเบบีบูมกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเติบโตในนิชิโนมิยะ , อาชิยะ และโคเบะ [ 19] [ 20] เขาเป็นบุตรคนเดียวของครอบครัว พ่อของเขาเป็นบุตรของนักบวชในศาสนาพุทธ ส่วนแม่เป็นบุตรของพ่อค้าจากเมืองโอซากะ [ 21] ทั้งคู่เป็นอาจารย์สอนวรรณกรรมญี่ปุ่น [ 22] พ่อของเขามีส่วนร่วมในสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ซึ่งได้รับความบอบช้ำทางจิตใจอย่างหนัก จนส่งผลกระทบต่อมูรากามิด้วย[ 23]
อาชีพนักเขียน
ไตรภาคมุสิก
มูรากามิเริ่มเขียนนิยายเรื่องแรก สดับลมขับขาน ในปี 1979 เมื่อเขามีอายุได้ 29 ปี โดยได้รับแรงบันดาลใจอย่างฉับพลันและไม่คาดฝันมาจากการบรรยากาศในการนั่งชมการแข่งขันเบสบอลรายการหนึ่ง เขาใช้เวลาเขียนนวนิยายเรื่องนี้อยู่สองสามเดือน โดยใช้เวลาว่างหลังจากปิดร้านในการเขียน หลังจากเขียนเสร็จ เขาได้ส่งผลงานเรื่องนี้เข้าประกวดและได้รับรางวัลที่หนึ่ง ความสำเร็จตั้งแต่เรื่องแรกนี่เอง ที่เป็นแรงผลักดันให้เขาเขียนหนังสือเรื่อยมา โดยในปีถัดมา เขาได้ตีพิมพ์นิยายชื่อ พินบอล, 1973 และตีพิมพ์ แกะรอยแกะดาว ในปี 1982 ซึ่งทั้งหมดก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม นอกจากนี้ หนังสือทั้งสามเรื่องยังได้รวมตัวกันขึ้นเป็นไตรภาคที่มีชื่อว่า "ไตรภาคแห่งมุสิก" (鼠三部作) โดยมีตัวละครเชื่อมโยงทั้งสามเรื่องเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ต้นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของนิยายสองเรื่องแรกของมูรากามินั้นได้ขาดตลาดไปนานแล้ว เนื่องจากเขาเห็นว่ามันไม่ดีพอที่จะได้รับการพิมพ์เพิ่มนั่นเอง
การเดินทางไปสู่การเป็นนักเขียนผู้โด่งดัง
ในปี 1985 มูรากามิตีพิมพ์ผลงานชื่อ แดนฝันปลายขอบฟ้า ซึ่งเริ่มแสดงออกถึงองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งปรากฏแต่ในงานเขียนของเขา อันได้แก่เรื่องราวสุดโต่งเหนือจินตนาการนั่นเอง
มูรากามิเริ่มมาโด่งดังในระดับชาติในปี 1987 เมื่อเขาตีพิมพ์กับหนังสือเรื่องใหม่ที่ชื่อ ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย ซึ่งมียอดจำหน่ายกว่าล้านเล่มในญี่ปุ่น ทำให้มูรากามิกลายเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในประเทศ แต่นั่นกลับเป็นเหตุผลให้เขาเดินทางออกนอกประเทศ
ในปี 1986 มูรากามิตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป ก่อนที่จะไปใช้ชีวิตอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา ระหว่างที่มูรากามิใช้ชีวิตเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยในอเมริกานั้น เขาก็มีผลงานออกมาอีกสองเรื่อง คือ เริงระบำแดนสนธยา (ダンス・ダンス・ダンス) ซึ่งเป็นภาคต่อของไตรภาคมุสิก และ การปรากฏตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก (国境の南、太陽の西)
ในปี 1994 มูรากามิได้ส่งผลงานชื่อ บันทึกนกไขลาน (ねじまき鳥クロニクル) ออกสู่สายตานักอ่าน และนวนิยายเรื่องนี้ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนวนิยายเรื่องที่ดีที่สุดของเขาอีกด้วย ระหว่างนี้เองที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวที่โกเบ และเหตุการณ์ก่อการร้ายโดยใช้แก๊สโจมตีรถไฟใต้ดินของสาวกนิกายโอม ชินริเคียว ซึ่งหลังจากที่เขากลับมาที่ญี่ปุ่น เขาก็ได้เขียนสารคดีและรวมเรื่องสั้นเกี่ยวกับสองเหตุการณ์ดังกล่าว ภายใต้ชื่อ อันเดอร์กราวด์ (アンダーグラウンド) ซึ่งเป็นสารคดี และ อาฟเตอร์เดอะเควก ซึ่งเป็นรวมเรื่องสั้น
นอกจากนี้เรื่องสั้นที่เขาเขียนระหว่างปี 1983 ถึง 1990 นั้นได้รับการรวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ The Elephant Vanishes (象の消滅) และมูรากามิยังได้แปลผลงานของนักเขียนที่เขาชื่นชอบมากมายเป็นภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย
ผลงานล่าสุด
ผลงานนวนิยายขนาดสั้นชื่อ รักเร้นในโลกคู่ขนาน (スプートニクの恋人) ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1999 และผลงาน คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ (海辺のカフカ) ถูกตีพิมพ์ในปี 2002 และถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2005 โดยผลงานแปลเป็นภาษาอังกฤษจากผลงานเรื่องล่าสุดของเขาที่ชื่อ ราตรีมหัศจรรย์ ก็ออกวางจำหน่ายในปี 2007 นอกจากนี้เขายังมีผลงานรวมเรื่องสั้นที่ผสมผสานระหว่างผลงานเรื่องสั้นที่เขาเขียนในช่วงปี 80 กับผลงานเรื่องสั้นล่าสุดตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ Blind, Willow, Sleeping Woman (めくらやなぎと眠る女) ก็ได้ออกวางจำหน่ายในเดือนสิงหาคม 2006 มูราคามิได้ตีพิมพ์ เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง (走ることについて語るときに僕の語ること) ซึ่งเป็นความเรียงกึ่งบันทึก เมือปี 2007 โดยได้แปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2008 และเป็นภาษาไทยในปี 2009
นวนิยายเรื่องใหม่จาก มูราคามิ: 1Q84
ฮารูกิ มูราคามิ ได้ออกผลงานนวนิยายเรื่องยาวอีกครั้งในปี 2009 ชื่อ 1Q84 โดยมีแผนที่จะออกทั้งหมด 3 เล่ม เล่ม 1 และเล่ม 2 ออกวางจำหน่ายฉบับภาษาญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 ส่วนเล่มที่ 3 ออกจำหน่ายในเดือนเมษายน 2010 ส่วนฉบับแปลภาษาอังกฤษของ 1Q84 เล่ม 1-2 นั้นมีกำหนดการวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2011 โดยสำนักพิมพ์แรนดอมเฮาส์ ได้กำหนดผู้แปลไว้เรียบร้อยแล้ว โดย Jay Rubin จะแปลเล่ม 1 และ 2 ส่วนเล่ม 3 นั้นจะเป็นหน้าที่ของ Philip Gabriel สำหรับฉบับแปลภาษาไทย สำนักพิมพ์กำมะหยี่ ได้ลิขสิทธิ์การแปลเล่ม 1-2 และ 3 เรียบร้อยแล้ว โดยจะเป็นการแปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
ผลงานของมูรากามิมักถูกวิจารณ์ว่าเป็น วรรณกรรมป๊อป ที่มีอารมณ์ขันและเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนความรู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยว และการโหยหาความรักในทางที่สามารถเข้าถึงผู้อ่านในอเมริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออกได้ งานของมูรากามิมักกล่าวถึงการที่ญี่ปุ่นหมกมุ่นในลัทธิทุนนิยม ความว่างเปล่าทางจิตใจของผู้คนรุ่นเดียวกับเขา และผลกระทบด้านลบทางจิตใจของญี่ปุ่นที่ทุ่มเทให้กับงาน งานของเขาวิพากษ์วิจารณ์ความตกต่ำของคุณค่าความเป็นมนุษย์ และการขาดการติดต่อระหว่างผู้คนในสังคมทุนนิยมของญี่ปุ่น[ใคร? ]
ผลงาน
นวนิยาย
สารคดี
ปี
ชื่อญี่ปุ่น
ชื่ออังกฤษ
ชื่อไทย
1997
アンダーグラウンドAndāguraundo
Underground (1)
อันเดอร์กราวด์
1998
約束された場所でYakusoku sareta basho de
Underground (2)
สถานที่ในคำสัญญา - อันเดอร์กราวด์ 2
2007
走ることについて語るときに僕の語ることHashiru koto ni tsuite kataru toki ni boku no kataru koto
What I talk about When I talk about Running
เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง
รวมเรื่องสั้น
หมายเหตุ: หนังสือรวมเรื่องสั้นเหล่านี้เป็นรายการเฉพาะเล่มที่ได้รับการแปลภาษาไทยแล้วเท่านั้น งานเรื่องสั้นของมูรากามิยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้แปลเป็นภาษาไทย
อ้างอิง
↑ "UPI Almanac for Tuesday, Jan. 12, 2021" . United Press International . January 12, 2021. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2021. สืบค้นเมื่อ February 27, 2021 . … author Haruki Murakami in 1949 (age 72)
↑ "UPI Almanac for Tuesday, Jan. 12, 2021" . United Press International . January 12, 2021. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2021. สืบค้นเมื่อ February 27, 2021 . … author Haruki Murakami in 1949 (age 72)
↑ Maiko, Hisada (November 1995). "Murakami Haruki" . Kyoto Sangyo University . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ May 23, 2008. สืบค้นเมื่อ April 24, 2008 .
↑ McCurry, Justin, "Secrets and advice: Haruki Murakami posts first responses in agony uncle role" เก็บถาวร ตุลาคม 14, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , The Guardian , January 16, 2015.
↑ "Japan's Murakami wins Kafka prize" . CBC . 30 October 2006. สืบค้นเมื่อ 12 September 2020 .
↑ Kelleher, Olivia (25 September 2006). "Frank O'Connor short story award goes to Japanese author" . Irish Times . สืบค้นเมื่อ 12 September 2020 .
↑ Flood, Alison (16 February 2009). "Murakami defies protests to accept Jerusalem prize" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ 12 September 2020 .
↑ 8.0 8.1 "Author" . Haruki Murakami (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-17 .
↑ "The best Japanese work of fiction published in Japanese during Japan's Heisei era was 'IQ84' by Haruki Murakami" . Red Circle Authors . 11 January 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2021 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ Oates, Joyce Carol (May 2, 2019). "Science Fiction Doesn't Have to Be Dystopian" . The New Yorker (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-17 .
↑ Jamshidian, Sahar; Pirnajmuddin, Hossein (2014-01-01). "Dancing with shadows: Haruki Murakami's dance dance dance" . 21 : 41–51.
↑ "Haruki Murakami: 'I'm an outcast of the Japanese literary world' " . the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 2021-06-17 .
↑ Mambrol, Nasrullah (2019-04-08). "Analysis of Haruki Murakami's Novels" . Literary Theory and Criticism (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-17 .
↑ Poole, Steven (September 13, 2014). "Haruki Murakami: 'I'm an outcast of the Japanese literary world' " . The Guardian . London. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2016. สืบค้นเมื่อ December 11, 2016 . Murakami doesn't read many of his Japanese contemporaries. Does he feel detached from his home scene? "It's a touchy topic", he says, chuckling. "I'm a kind of outcast of the Japanese literary world. I have my own readers ... But critics, writers, many of them don't like me." Why is that? "I have no idea! I have been writing for 35 years and from the beginning up to now the situation's almost the same. I'm kind of an ugly duckling. Always the duckling, never the swan."
↑ Kelts, Roland (October 16, 2012). "The Harukists, Disappointed" . The New Yorker . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2012. สืบค้นเมื่อ October 17, 2012 .
↑ "Haruki Murakami: 'You have to go through the darkness before you get to the light' " . the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-10-10. สืบค้นเมื่อ 2021-06-17 .
↑ Poole, Steven (May 27, 2000). "Tunnel vision" . The Guardian . London. สืบค้นเมื่อ April 24, 2009 .
↑ "Author's Desktop: Haruki Murakami" . www.randomhouse.com . สืบค้นเมื่อ 2021-06-17 .
↑ "Murakami Asahido", Shincho-sha,1984
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tele
↑ Rubin, Jay (2002). Haruki Murakami and the Music of Words . Harvill Press . p. 14 . ISBN 1-86046-986-8 .
↑ Naparstek, Ben (June 24, 2006). "The lone wolf" . The Age . Melbourne. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2008. สืบค้นเมื่อ April 24, 2008 .
↑ Li, Gabriel (May 13, 2019). "Japanese Writer Haruki Murakami Speaks Up on His Family's Involvement in the Sino-Japanese War" . Pandaily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ May 16, 2019 .
แหล่งข้อมูลอื่น