บทที่ 8 (ฮานะ โนะเอ็ง)
ฮานะโนะเอ็ง (ญี่ปุ่น : 花宴; Hana no En; วสันต์สังสรรค์ ; อังกฤษ : Festival of the Cherry Blossoms หรือ Under the Cherry bossoms ) เป็นบทที่ 8 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท
ที่มาของชื่อบทฮะนะโนะเอ็ง
ฮะนะ (花) ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ดอกไม้ ในชื่อบท ฮะนะโนะเอ็ง ของตำนานเก็นจิ มีความหมายโดยตรงถึง ซะกงโนะซะกุระ ( 左近桜 sakon no sakura) ที่ปลูกในพระราชวังของเมืองเฮอันเคียว
ซะกงโนะซะกุระ - ซากุระเบื้องซ้าย (左近桜 sakon no sakura) คือ ต้นซากุระ หน้าตำหนักชิชินเด็ง ซึ่งเป็นท้องพระโรงของเกียวโตะโกะโชะ (京都御所 Kyoto gosho) หรือ พระราชวังเกียวโต ที่ใช้ในราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ตั้งแต่ยุคเฮอัน
ซะกง (左近) แปลว่า เบื้องซ้าย ซะกงโนะซะกุระ นั้น หากเดินลงจากบันไดของตำหนักชิชินเด็ง ต้นซากุระจะปลูกที่ตีนบันไดด้านซ้ายมือ ในทิศทางที่เดินลงจากตำหนัก ส่วน อุกงโนะทะชิบะนะ - ต้นส้มทะชิบะนะเบื้องขวา (右近橘 ukon on Tachibana) คือต้นส้มทะชิบะนะ ที่ปลูกตรงข้ามกับ ซะกงโนะซะกุระ ปลูกที่ตีนบันไดด้านขวามือ ในทิศทางที่เดินลงจากตำหนักชิชินเด็ง [ 1]
ในเรื่อง ตำนานเก็นจิ ยังมีการเปรียบเทียบ ฮิกะรุเก็นจิ เป็นดั่ง ดอกซากุระเบื้องซ้าย โทโนะจูโจ เป็นดัง ดอกส้มทะชิบะนะเบื้องขวา เป็นการสื่อว่า บุคคลทั้งสอง ล้วนเพรียบพร้อมทั้งรูปสมบัติและคุณสมบัติ เป็นคู่แข่งที่ไม่แพ้กันเลย
เอ็ง (宴) แปลว่า งานเลี้ยง
ชื่อบท ฮะนะโนะเอ็ง ในตำนานเก็นจิ หมายถึง งานเลี้ยงฉลองในโอกาสที่ซะกงโนะซะกุระ เบ่งบานในฤดูใบไม้ผลิ นั่นเอง
ตัวละครหลักในบท
ยศ ไซโช อายุ 20 ปี
พระราชบิดาของเก็นจิ
จักรพรรดินีในจักรพรรดิคิริสึโบะ พระราชมารดาเลี้ยง ของเก็นจิ อายุ 25
พี่ชายต่างมารดาของเก็นจิ
สหานสนิทและพี่ชายภรรยาของเก็นจิ
เสนาบดีฝ่ายซ้าย พ่อตาของเก็นจิ อายุ 54
บุตรีคนที่ 6 ของอุไดจิน
คนสนิท และ พี่น้องร่วมแม่นมเดียวกับเก็นจิ
ผู้ติดตามใกล้ชิดของเก็นจิ ผู้ติดตามของเก็นจิ เป็นบุตรชายของเจ้าเมืองเมืองฮาริมะ
ท่านหญิงน้อย ภรรยาในอนาคตของเก็นจิ อายุ 12
เสนาบดีฝ่ายขวา ตาขององค์รัชทายาท
เรื่องย่อ
ปลายเดือน 2 งานสังสรรค์ดอกซะกุระบานจัดขึ้นที่ตำหนักชิชินเด็ง เมื่อล่วงเข้ายามดึกดื่น เก็นจิผู้มึนเมาสุราพยายามลอบเข้าตำหนักฟุจิตสึโบะ ทว่าประตูตำหนักปิดสนิทแน่นหนา เขาเห็นประตูตำหนักโคกิเด็งซึ่งอยู่ใกล้เคียงแง้มอยู่ จึงลอบเข้าไป ณ โถงทางเดิน เก็นจิพบกับธิดาคนที่ 6 ของอุไดจิน นางกำลังชมจันทร์สลัวในคืนฤดูใบไม้ผลิ พลางเอื้อนบทกวีบทหนึ่งจาก ชินโคะคินวะกะชู แต่งโดย โอเอะ โนะ จิซะโตะ ว่า
朧月夜 (おぼろづきよ) に似 (に) るものぞなき[ 2]
Oborozukiyo ni niru mono zo naki โอะโบะโระซึกิโยะ นิ นิรุ โมะโนะ โซะ นะกิ
งามใดเปรียบงามจันทร์สลัวทอแสงหม่นมัวทั่วนภาฟ้าวสันต์
เก็นจิคว้าชายแขนเสื้อของนางไว้ พูดคุยกับนาง นางจำเสียงเก็นจิได้ และทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน ในคืนจันทร์สลัวหมอกของวันที่ 20 นางไม่ยอมบอกชื่อกับเก็นจิ ทั้งสองแลกเปลี่ยนพัดของกันและกัน ยามฉุกละหุกขณะที่ใกล้รุ่งเช้าผู้คนเริ่มตื่นขึ้นมา เพราะกวีที่นางเอื้อนเอ่ย เก็นจิจึงเรียกนางว่า โอะโบะโระซึกิโยะ
ธิดาคนที่ 6 ของอุไดจินนั้น จำต้องอภิเษกกับองค์รัชทายาทในเดือน 4 อุไดจินจัดงานเลี้ยงชมดอกฟุจิในเดือน 3 เขาเชิญเก็นจิมาร่วมงานด้วย ทั้ง ๆ ที่เป็นศัตรูทางการเมืองของกันและกัน ความสง่างามของเก็นจิล้ำเกินกว่าแขกคนใด ๆ ในงาน กระทั่งยังงดงามเหนือดอกฟุจิอันสะพรั่งในสวนเสียอีก หลังจากการแสดงสังคีต เก็นจิแสร้งเป็นเมามาย เข้าไปในเรือนส่วนที่ท่านหญิงธิดาอุไดจินพำนัก เพื่อเสาะหาสตรีเจ้าของพัด เก็นจิเอื้อนบทกวีหน้าม่าน ทันใดนั้น ผู้ตอบบทกวีของเขา ก็คือ โอะโบะโระซึกิโยะ นั่นเอง[ 3]
โอะโบะโระซึกิโยะ
เมฆอัลโตสตราตัส(高層雲、こうそううん、altostratus、アルトストラタス) คือเมฆที่ลอยปกคลุมท้องฟ้าเป็นสีขาวเทาลอยอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ ๒-๗ กิโลเมตร บางครั้งอาจเรียกว่า เมฆโอะโบะโระ(朧雲)มักปกคลุมทั่วท้องฟ้า ถ้ามีอยู่บาง ๆ อาจทำให้เกิดร่มขึ้นกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ แต่โดยทั่วไปแล้วจะเหมือนกับมองผ่านกระจกกรองแสงทำให้เห็นดวงอาทิตย์ได้ไม่ชัดเจน ตรงจุดนี้ทำให้เรามองแล้วแยกเมฆชนิดนี้ออกจากเมฆซีร์โรสตราตัสได้ชัดเจน ถ้าเมฆอัลโตสตราตัสหนาขึ้น จะทำให้บริเวณโดยรอบมืดจนยากที่จะเห็นเงา
พระจันทร์ที่ถูกเมฆชนิดนี้บดบังอาจเห็นเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีทอง สีเงิน สีแดงอ่อน สีเหลือง ที่ญี่ปุ่นเรียกคืนที่พระจันทร์เป็นแบบนี้ว่า โอะโบะโระซึกิโยะ(朧月夜) [ 4]
ศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง
บทในเรื่อง คูโมงากูเระ บทนี้มีเพียงชื่อบทเท่านั้น เป็นเพียงหน้าว่างเปล่า ไม่มีเนื้อหาภายใน แสดงถึงความตายของ ฮิกะรุ เก็นจิ
บทในเรื่อง ภาค อุจิจูโจ ตัวละครหลักในตำนานเก็นจิ ตัวละครหลักในอุจิจูโจ การดัดแปลง