ฮันส์ ฟิชเชอร์ (เยอรมัน: Hans Fischer; 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1881 – 31 มีนาคม ค.ศ. 1945) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองเฮิชสท์อัมไมน์ เป็นบุตรของดร.อ็อยเกน ฟิชเชอร์ และอันนา แฮร์เดเกิน[1] ฟิชเชอร์เรียนวิชาเคมีและการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยโลซานและมหาวิทยาลัยมาร์บวร์ค และเริ่มทำงานที่คลินิกในเมืองมิวนิก ต่อมาฟิชเชอร์เป็นอาจารย์สอนวิชาสรีรวิทยาที่สถาบันสรีรวิทยา ในปี ค.ศ. 1916 ฟิชเชอร์ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยอินส์บรุค สองปีต่อมา ฟิชเชอร์ย้ายไปทำงานที่มหาวิทยาลัยเวียนนา และในปี ค.ศ. 1921 ฟิชเชอร์ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีอินทรีย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งมิวนิกจนกระทั่งเสียชีวิต[2]
ฟิชเชอร์มีผลงานการศึกษารงควัตถุในเลือด น้ำดี และคลอโรฟิลล์ในใบพืช รวมถึงการศึกษาสารกลุ่มไพร์โรล และมีผลงานที่สำคัญคือการสังเคราะห์บิลิรูบินและเฮมิน ซึ่งทำให้ฟิชเชอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1930[3]
ด้านชีวิตส่วนตัว ฟิชเชอร์แต่งงานกับวิลทรูท เฮาเฟอ ในปี ค.ศ. 1935[4] ฟิชเชอร์กระทำอัตวินิบาตกรรมในปี ค.ศ. 1945 ต่อมาชื่อของเขาและชื่อของเอมีล ฟิชเชอร์ได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อของแอ่งดวงจันทร์[4]
อ้างอิง
|
---|
ค.ศ. 1901–1925 | |
---|
ค.ศ. 1926–1950 | |
---|
ค.ศ. 1951–1975 | |
---|
ค.ศ. 1976–2000 | |
---|
ค.ศ. 2001–ปัจจุบัน | |
---|