ฮยัง

อาจินตยา (อจินไตย) ซัง ฮยัง วิดฮี วาซา พระเป็นเจ้าสูงสุดในคติศาสนาฮินดูแบบบาหลี

ฮยัง (กาวี, ซุนดา, ชวา, บาหลี: Hyang) หรือรูปปริวรรตอักษร หฺยํ เป็นรูปแสดงของพระเป็นเจ้าสูงสุดในปรัมปราโบราณของชวาและบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย[1] อาจถือว่ามีลักษณะความเป็นพระเจ้าหรือเป็นความเป็นบรรพชน การนับถือบูชาฮยังสาสารถพบได้ในศาสนาพื้นถิ่นของเกาะชวาและเกาะบาหลี ซึ่งรวมทั้ง ซุนดาวีวีตัน หรือศาสนาซุนดา, เกอจาเวิน หรือศาสนาชวาประเภทไม่เป็นเอกเทวนิยม, กาปีตายัน หรือศาสนาชวาประเภทเป็นเอกเทวนิยม และ กามาตีร์ตา หรือศาสนาบาหลี โลกที่ประทับอยู่ของฮยังเรียกว่า กะฮ์ยังกัน (Kahyangan) ซึ่งเป็นคำภาษาชวาเก่าแปลว่า "วิมานของฮยัง" ในอีกนับหนึ่งอาจแปลว่า "สวรรค์"[2]

เอกสารภาษาซุนดาเก่า ซังฮยัง ซิกซา กันดัง กาเรอซียัน[3] ระบุถึงฮยังว่าอาจตีความเป็น "อำนาจสูงสุด" เช่นเดียวกับที่ในซุนดาวีวีตันถือว่าฮยังอาจเรียกว่า ซังฮยังเกอร์ซา (Sang Hyang Kersa; ซึ่งทรงอำนาจ)[4]

กามาตีร์ตาหรือศาสนาบาหลีบรรยายถึงฮยังว่าเป็นสิ่งทางจิตวิญญาณอันเป็นที่เคารพบูชาซึ่งต้องให้การบูชาที่พิเศษ หรืออาจใช้เป็นชื่อเรียกสิ่งดำรงอยู่ทางจิตวิญญาณที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ โดยแสดงออกในรูปประดุจดวงอาทิตย์ในตวามฝัน ส่วนมากเป็นรูปบุรุษ การมาถึงของฮยังในชีวิตใครก็ตามมีความหมายถึงการได้รับกุศลใหญ่แบะความสุขแก่บุคคลนั้น โดยทั่วไปแล้ว คำว่าฮยังสามารถหมายถึงต้นธารขอบความงดงาม ต้นธารของทุกสิ่ง (หรือ "ผู้สร้าง") หรืออาจเรียกถึงพระเจ้าโดยรวม ๆ[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Penjelasan Lengkap Acintya (Sang Hyang Widhi atau Sang Hyang Tunggal) - Mantra Hindu Bali". Mantra Hindu Bali (ภาษาอินโดนีเซีย). 2015-12-17. สืบค้นเมื่อ 2018-07-13.
  2. Zoetmulder, P.J. (1982), Old Javanese-English Dictionary, Koninklijk Instituut voor Taal-, Land- en Volkenkunde
  3. Piliang, Santo Saba (2020-06-14). LEMURIA INDONESIA (ภาษาอินโดนีเซีย). Santo Saba Piliang.
  4. Tempo: Indonesia's Weekly News Magazine (ภาษาอังกฤษ). Arsa Raya Perdana. 2006.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!