อุษา นารายณัน

อุษา นารายณัน
อุษาขณะออกต้อนรับวลาดีมีร์ ปูตินและภริยา (ในขณะนั้น) เมื่อปี 2543
สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของอินเดีย
ดำรงตำแหน่ง
25 กรกฎาคม 2540 – 25 กรกฎาคม 2545
ก่อนหน้าวิมลา ศารมา
ถัดไปเทวีสิงห์ รณสิงห์ เศขาวัต
สุภาพสตรีหมายเลขสองของอินเดีย
ดำรงตำแหน่ง
21 สิงหาคม 2540 – 25 กรกฎาคม 2545
ก่อนหน้าวิมลา ศารมา
ถัดไปศรีมติ สุมัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ทินต์ ทินต์

พ.ศ. 2465
พม่าของสหราชอาณาจักร
เสียชีวิต24 มกราคม พ.ศ. 2551 (86 ปี)
ราเชนทรนคร เดลี ประเทศอินเดีย
สัญชาติอินเดีย
คู่สมรสโกจเจรีล รามัน นารายณัน (สมรส 2494; เสียชีวิต 2548)
บุตรจิตรา นารายณัน
อมฤตา นารายณัน

อุษา นารายณัน (ฮินดี: उषा नारायणन; พ.ศ. 2465 – 24 มกราคม พ.ศ. 2551) หรือนามเดิมว่า ทินต์ ทินต์ (พม่า: တင့်တင့်) เป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศอินเดียช่วงปี พ.ศ. 2540–2545 เป็นภริยาของโกจเจรีล รามัน นารายณัน ประธานาธิบดีอินเดียคนที่ 10 หลังสามีขึ้นดำรงตำแหน่งดังกล่าว อุษาจึงเป็นสตรีต่างชาติที่ดำรงตำแหน่งสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนที่สองของประเทศ ทั้งนี้เธอมีบทบาทสำคัญในการเป็นนักสังคมสงเคราะห์หญิงจากการริเริ่มโดยสามี[1]

ประวัติ

อุษามีนามเดิมว่า ทินต์ ทินต์ เกิดที่ประเทศพม่า[2] สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยร่างกุ้ง หลังจากนั้นจึงประกอบกิจเป็นอาจารย์พิเศษในภาควิชาภาษาพม่าและวรรณคดี[2] ก่อนรับทุนไปศึกษาต่อ ณ โรงเรียนสังคมสงเคราะห์เดลี (Delhi School of Social Work) และรับปริญญาโทในสาขาที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับการกระทำผิดในเด็กและเยาวชน[2]

เธอพบกับโกจเจรีล รามัน นารายณันตั้งแต่ยังทำงานอยู่ในประเทศพม่า ทั้งนี้เธอเคยทำงานอยู่ในสมาคมเยาวนารี (World Young Women's Christian Association) เมื่อเธอได้ยินว่านารายณันเป็นนักศึกษาของแลสกี (Laski) เธอจึงเริ่มมีปฏิสันถารด้วย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเสรีภาพทางการเมือง หลังจากนั้นทั้งสองจึงสมรสกันเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ในเดลี การสมรสของทั้งสองได้รับการยกเว้นเป็นพิเศษจากความช่วยเหลือของชวาหระลาล เนห์รูเพราะเธอถือสัญชาติพม่า หลังสมรสเธอจึงรับสัญชาติอินเดียและเปลี่ยนชื่อเป็น "อุษา" ทั้งสองมีบุตรสาวด้วยกันสองคน คนแรกชื่อจิตรา เป็นเอกอัครราชทูตประจำสวิตเซอร์แลนด์และสันตะสำนัก และบุตรสาวอีกคนชื่อ อมฤตา

หลังสามีขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศอินเดีย อุษาจึงเป็นสตรีต่างชาติที่ดำรงตำแหน่งสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนที่สองของประเทศ ซึ่งคนแรกคือชานกี เวนกทรมัณ (Janaki Venkataraman) ภริยาชาวพม่าเชื้อสายอินเดียของรามสวามี เวนกทรมัณ ประธานาธิบดีคนก่อนหน้านี้

หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากโรงเรียนสังคมสงเคราะห์เดลี เธอจึงมีบทบาทยิ่งด้านการเป็นนักสังคมสงเคราะห์สำหรับสตรีและเด็กในอินเดีย[3] นอกจากนี้เธอยังมีงานแปลและตีพิมพ์เรื่องสั้นภาษาพม่าหลายเล่ม เป็นต้นว่า รวมเรื่องชื่อ "Sweet and Sour" ที่แปลจากผลงานของเตน เพ มยิน (Thein Pe Myint) ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2541

อุษา นารายณันถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเวลา 17.30 น. ของวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551 ณ โรงพยาบาลเซอร์คังคาราม เดลี ประเทศอินเดีย สิริอายุ 86 ปี[4]

อ้างอิง

  1. Mathew, Liz (25 July 2012). "The first ladies of Rashtrapati Bhavan". Live Mint. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Former President's wife Usha Narayanan passes away". Outlook India. 24 January 2008. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
  3. "Her Excellency Tin Tin". The OutLook. 2 July 2013. สืบค้นเมื่อ 25 February 2013.
  4. "Ex-First Lady Usha Narayanan dies at 86". The Indian Express. 25 January 2008. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!