อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ภาพถ่ายมุมสูงของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เป็นที่ตั้งของบริษัทและศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวนมาก รวมถึงสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและศูนย์วิจัยแห่งชาติในสังกัดอื่น ๆ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ทางเหนือของกรุงเทพมหานคร ติดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย อาจหาญ เป็นผู้อำนวยการ

ประวัติ

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2545 โดยถือเป็น “นิคมวิจัยสำหรับเอกชน” แห่งแรกของเมืองไทย ภายใต้การบริหารจัดการของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีภารกิจหลักในการสร้างให้เกิดนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน รวมถึงการสร้างให้เกิดการพัฒนากำลังคนในด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยตั้งอยู่ที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนพื้นที่กว่า 200 ไร่ ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของ สวทช. รวมถึงศูนย์วิจัยแห่งชาติ 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ นอกจากนี้ ที่ตั้งของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยยังติดกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ซึ่งทำให้อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เป็นทำเลที่มีความพร้อมสูงสุดสำหรับกิจกรรมวิจัยและพัฒนา เป็นที่ซึ่งมีนักวิจัยอยู่รวมกันมากกว่า 3,700 คนและเป็นแหล่งรวมบุคลากรที่มีความสามารถขนาดใหญ่

ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ผู้เช่าพื้นที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกรมสรรพากร นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยจัดเตรียมไว้ให้ เช่น ศูนย์ประชุมที่มีพื้นที่แสดงนิทรรศการขนาด 2,000 ตารางเมตร และห้องประชุมขนาดใหญ่ จุ 350 ที่นั่ง ห้องประชุมที่พร้อมสำหรับการจัดประชุมทางไกล ฐานข้อมูลงานวิจัย รวมถึงระบบโทรคมนาคมความเร็วสูง กิจการที่เริ่มก่อตั้งและกิจการขนาดเล็ก สามารถเช่าใช้พื้นที่เพื่อการทำวิจัยและพัฒนาภายในหน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยี ด้วยอัตราพิเศษ กิจการขนาดใหญ่สามารถเลือกระหว่างพื้นที่ในอาคารหรือที่ดินเปล่า เพื่อสร้างอาคารสำหรับการวิจัยและพัฒนาของตนเอง พร้อมด้วยการให้บริการทางเทคนิค การเงิน บุคลากร ธุรกิจ

นอกจากเป็นที่ตั้งของ สวทช. และศูนย์วิจัยแห่งชาติทั้ง 4 ศูนย์ ยังมีบริษัทเอกชนทั้งไทยและต่างชาติ เช่าพื้นที่เพื่อที่วิจัยกว่า 60 ราย ทำให้ต้องมีการขยายพื้นที่ใช้สอยของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จาก 140,000 ตารางเมตร ในระยะที่ 1 เพิ่มขึ้น อีก 126,000 ตารางเมตร ในระยะที่ 2 และพร้อมเปิดให้บริการในปี 2556

องค์กรและโครงสร้าง

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของ สวทช. และศูนย์วิจัยแห่งชาติทั้ง 4 ศูนย์ ดังนี้:

อ้างอิง

  1. "Overview". The National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-28. สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
  2. "Mission and Framework". National Metal and Material Technology Center (MTEC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-29. สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
  3. "About". National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC). สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
  4. "About NANOTEC". National Nanotechnology Center (NANOTEC). สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!