อิศวร จันทระ วิทยาสาคร (อังกฤษ : Ishwar Chandra Vidyasagar CIE , 26 กันยายน 1820 – 29 กรกฎาคม 1891)[ 1] ชื่อเมื่อเกิด อิศวร จันทระ บันทโยปัธยัย (Ishwar Chandra Bandyopadhyay) เป็นนักการศึกษา และ นักปฏิรูปสังคม [ 2] เขาเป็นผู้ทุ่มเทให้กับการทำร้อยแก้วภาษาเบงกอล ให้ง่ายขึ้น (simplify) และทันสมัยขึ้น (modernise) เขายังเป็นผู้สร้างเหตุผล (rationalised) และทำให้อักษรและตัวพิมพ์อักษรเบงกอลง่ายขึ้นและเป็นระบบมากชึ้น หลังจากไม่มีการปรับเลยตั้งแต่ยุคที่ชาลส์ วิลคินส์ และ ปัญจนัน กรรมกร ได้แกะตัวพิมพ์ อักษรเบงกอลไว้เมื่อปี 1780 วิทยาสาครได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาของร้อยแก้วภาษาเบงกอล"[ 3]
เขาเป็นหนึ่งในผู้รณรงค์คนสำคัญที่สุดต่อการอนุญาตให้มีการสมรสใหม่สำหรับสตรีฮินดูหม้าย รวมถึงร้องเรียนเรื่องนี้ต่อสภานิติบัญญัติท่ามกลางเสียงคัดค้านอย่างหนักจากฝั่งตรงข้ามที่ซึ่งรวบรวมรายชื่อได้มากกว่าของเขาถึงสี่เท่าโดยรัธกันตะ เทพ และจากธรรมสภา [ 4] [ 5] อย่างไรก็ตาม ลอร์ดดอลฮูสซี ได้ช่วยเหลือเป็นการส่วนตัว จนท้ายที่สุดได้มีการออกใช้รัฐบัญญัติการสมรสใหม่สำหรับสตรีฮินดูที่เป็นหม้าย (Hindu Widows' Remarriage Act) ในปี 1856[ 6] [ 7]
เขาได้รับชื่อ "วิทยาสาคร " (จากภาษาสันสกฤต วิทยา คือความรู้ และ สาคร คือท้องสมุทร รวมกันจึงแปลว่า ห้วงธารแห่งความรู้) จากวิทยาลัยสันสกฤต กัลกัตตา ที่ซึ่งเขาจบการศึกษา จากความสามารถอันโดดเด่นของเขาในสันสกฤตศึกษาและปรัชญา นักคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อนิล กุมาร ไกน์ ต่อมาได้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวิทยาสาคร เพื่อเป็นเกียรติแด่เขา[ 8]
สิ่งสืบเนื่อง
ไม่นานหลังเขาเสียชีวิต รพินทรนาถ ฐากุร ได้เขียนชื่นชมเขาว่า "ใคร ๆ ต่างสงสัยว่าเหตุใดพระเจ้าจึงได้สร้างบุรุษ [อย่างเขา] ขึ้นมาในบรรดาชาวเบงกอลกว่าสี่ล้านคน [ที่ทรงสร้างขึ้นมา]"[ 9] [ 10]
ในปี 2004 เขาได้รับจัดอันดับเป็นที่ 9 ในผลสำรวจ ขาวเบงกอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ของบีบีซี[ 11]
สิ่งสืบเนื่องจากชื่อ
สะพานวิทยาสาครเสตุ ในกัลกัตตา ที่ซึ่งตั้งชื่อตามเขา
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
แม่แบบ:Americana Poster
นานาชาติ ประจำชาติ วิชาการ ประชาชน อื่น ๆ