อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่น (อังกฤษ : Phantom vibration syndrome ) เป็นอาการที่คิดว่าโทรศัพท์มือถือมีการสั่นหรือเสียงเรียกเข้าเมื่อจริง ๆแล้วไม่มีใครโทรเข้า บางครั้งเรียกว่า ริงโทนวิตกกังวล (ringxiety) หรือ ฟอซอะลาม (fauxcellarm มาจากคำว่า"faux " /fō/ แปลว่า ปลอม หรือ ผิด และ มือถือ (cellphone) และเสียงร้อง (alarm)) หรือ โฟนทอม (phonetom) (เป็นการรวมกันระหว่าง phone และ phantom )[ 1] ดอกเตอร์ไมเคิล โรธเบิร์กกล่าวว่า อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่นไม่ใช่กลุ่มของอาการโรคแต่เป็นการหลอน ของประสาทสัมผัส ที่สมอง รับรู้ ถึงความรู้สึก ที่ไม่มีอยู่จริง[ 2] [ 3] บางครั้งอาจเกิดระหว่างอาบน้ำ ดูโทรทัศน์ หรือใช้เครื่องมือที่มีเสียงดัง มนุษย์มักจะเซนซิทีฟกับโทนเสียงในช่วง 1,000 ถึง 6,000 เฮิรตซ์ และเสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์มือถือมักอยู่ในช่วงนี้[ 1] อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่นจะเกิดขึ้นหลังผู้ใช้พบมือถือที่ตั้งระบบสั่นไว้[ 4] นักวิจัยมิเชล ดรูอินพบว่าเกือบ 9 ใน 10 นักศึกษาปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยของเธอมีอาการนี้[ 5]
วิทยาการระบาด
การศึกษาส่วนใหญ่พบว่า ผู้ใช้โทรศัพท์มักอาการหลอนคิดว่ามือถือสั่นหรือได้ยินเสียงเรียกเข้า รายงานระบุว่าตั้งแต่ร้อยละ 27.4 ถึง ร้อยละ 89 เคยมีอาการนี้[ 4] หนึ่งครั้งทุก 2 สัปดาห์เป็นค่าเฉลี่ยนปกติ[ 4] และคนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าอาการนี้กวนใจ[ 4]
การจัดการ
มีวิจัยจำนวนน้อยมากที่ศึกษาเกี่ยวกับการรักษาอาการหลอนคิดว่ามือถือสั่น[ 4] พบว่าการเก็บมือถือไว้ในที่ที่ต่างออกไปสามารถบรรเทาอาการนี้ได้ในบางราย[ 4] วิธีอื่นได้แก่การปิดระบบสั่น การเปลี่ยนเสียงเรียกเข้าหรือการสั่น หรือการใช้เครื่องมือถืออื่น[ 2]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Goodman, Brenda (4 May 2006). "I Hear Ringing and There's No One There. I Wonder Why" . The New York Times . p. 1.
↑ 2.0 2.1 Rothberg, M. B.; Arora, A.; Hermann, J.; Kleppel, R.; Marie, P. S.; Visintainer, P. "Phantom vibration syndrome among medical staff: a cross sectional survey" . BMJ . 341 (dec15 2): c6914–c6914. doi :10.1136/bmj.c6914 .
↑ Fischer, Elli (October 3, 2017). "Phonetom Definition" . Facebook. สืบค้นเมื่อ October 3, 2017 . Phonetom: When you could swear you felt your phone vibrate, but it's not in your pocket.
↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Deb A (2014). "Phantom vibration and phantom ringing among mobile phone users: A systematic review of literature". Asia Pac Psychiatry . 7 : 231–9. doi :10.1111/appy.12164 . PMID 25408384 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Rosen, Larry (May 7, 2013). "Phantom Pocket Vibration Syndrome" . Psychology Today. สืบค้นเมื่อ September 10, 2014 . ...According to Dr. Michelle Drouin... 89% of the undergraduates in her study had experienced these phantom vibrations...
อ่านเพิ่มเติม