หัวใจถูกบีบรัด
หัวใจถูกบีบรัด (Cardiac tamponade) |
---|
ชื่ออื่น | Pericardial tamponade |
---|
| ภาพการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแสดงปริมาตรของน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจขนาดใหญ่มากทำให้เกิดการกดทับอันเป็นผลมาจากการมีเลือดออกจากมะเร็ง; ลูกศรปิด -แสดงหัวใจ, ลูกศรเปิด -แสดงการไหล | สาขาวิชา | ศัลยกรรมหัวใจ |
---|
อาการ | หายใจลำบาก, อ่อนแรง, วิงเวียนศีรษะ, ไอ[1] |
---|
การตั้งต้น | รวดเร็วหรือค่อยเป็นค่อยไป[2] |
---|
สาเหตุ | มะเร็ง, ไตวาย, การบาดเจ็บทรวงอก, เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ, วัณโรค[1][2] |
---|
วิธีวินิจฉัย | สังเกตอาการและตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ[2] |
---|
การรักษา | ระบายของเหลว (เจาะเยื่อหุ้มหัวใจ, เปิดช่องเยื่อหุ้มหัวใจ, ลอกเยื่อหุ้มหัวใจ)[2] |
---|
ความชุก | 2 ต่อ 10,000 ประชากรต่อปี (สหรัฐ)[3] |
---|
หัวใจถูกบีบรัด (อังกฤษ: cardiac tamponade, pericardial tamponade) เป็นภาวะฉุกเฉินซึ่งมีของเหลวคั่งอยู่ในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ[2] หากมีปริมาณของเหลวเพิ่มมากขึ้นจนทำให้หัวใจไม่สามารถขยายตัวเพื่อเติมเลือดเข้าห้องหัวใจได้จะทำให้หัวใจมีปริมาตรเลือดหัวใจบีบต่อครั้ง (stroke volume) ลดลง ทำให้เกิดการสูบฉีดเลือดไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เกิดภาวะช็อค และทำให้เสียชีวิตได้
ภาวะหัวใจถูกบีบรัดเกิดขึ้นเมื่อเกิดมีของเหลวขึ้นในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเร็วเกินกว่าที่ถุงเยื่อหุ้มหัวใจจะขยายได้ทัน หากปริมาณของของเหลวเพิ่มขึ้นช้า ๆ (เช่นในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย) ถุงเยื่อหุ้มหัวใจจะสามารถขยายขนาดเพื่อรองรับของเหลวได้ก่อนที่จะเกิดภาวะบีบรัด แต่ถ้าของเหลวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (เช่นในอุบัติเหตุหรือการฉีกขาดของหัวใจ) ปริมาณของเหลวเพียง 100 มิลลิลิตรก็สามารถทำให้เกิดภาวะบีบรัดได้[4]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|
ทรัพยากรภายนอก | |
---|
|
|