หลอดเลือดแดงหัวใจซ้าย หรือ หลอดเลือดแดงเลฟต์โคโรนารี (อังกฤษ: left coronary artery ย่อว่า LCA) เป็นหลอดเลือดแดงที่แยกออกมาจากเอออร์ตาเหนือลิ้นเอออร์ตา และส่งเลือดไปเลี้ยงยังด้านซ้ายของหัวใจ นอกจากนี้ยังถูกเรียกว่า หลอดเลือดแดงหัวใจหลักซ้าย (อังกฤษ: left main coronary artery ย่อว่า LMCA) และก้านหลักซ้าย (อังกฤษ: left main stem ย่อว่า LMS) โดยหลอดเลือดนี้เป็นหนึ่งในบรรดาหลอดเลือดแดงหัวใจ
แขนง
โดยทั่วไปแล้วหลอดเลือดแดงนี้จะทอดตัวยาว 10 ถึง 25 มิลลิเมตรจากนั้นจึงแยกออกเป็นสองง่าม เป็นหลอดเลือดแดงส่วนลงด้านหน้าซ้าย (นอกจากนี้ยังอาจเรียกว่าหลอดเลือดแดงส่วนลงด้านหน้าซ้าย (LAD) และวิโดว์ เมเกอร์) และแขนงเซอร์คัมเฟล็กซ์ของหลอดเลือดแดงหัวใจซ้าย (LCx) นอกจากนี้บางครั้งยังอาจมีหลอดเลือดแดงออกมาเพิ่มเติมอีกที่บริเวณสองง่าม กลายเป็นสามง่าม โดยหลอดเลือดที่แยกเพิ่มออกมานี้เรียกว่า ramus หรือ หลอดเลือดแดงอินเทอร์มิเดียท[1]
ส่วนที่อยู่ระหว่างเอออร์ตาและสองง่าม เรียกว่า หลอดเลือดแดงหลักซ้าย (LM) ขณะที่คำว่า "LCA" อาจหมายถึงเพียงหลอดเลือดแดงหลักซ้าย หรือหลอดเลือดแดงหลักซ้ายและแขนงทั้งหมด
บางครั้งอาจถูกเรียกว่า "แขนงผนั้งกั้นแรก" (first septal branch) ด้วย[2]
ภาพเพิ่มเติม
-
หลอดเลือดแดงหัวใจซ้าย
-
หลอดเลือดของหัวใจ
-
-
แผนภาพของส่วนโค้ง
-
หัวในมนุษย์และหลอดเลือดแดงหัวใจ
-
แผนภาพหลอดเลือดหัวใจทางด้านข้างซ้าย
-
แผนภาพของเนื้อตายเหตุขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ
-
-
การชันสูตรพลิกศพแสดงตัวอย่างหลอดเลือดแสดง
ostium primumของหัวใจและส่วนต้นของหลอดเลือดแดงหัวใจ เทียบกับภาพร่างด้านบน
-
หลอดเลือดแดงหัวใจซ้าย
-
หลอดเลือดแดงหัวใจซ้าย ผ่านการกำซาบเนื้อเยื่อด้วยพลาสติก
-
หลอดเลือดแดงหัวใจซ้าย ผ่านการกำซาบเนื้อเยื่อด้วยพลาสติก
ดูเพิ่ม
- การไหลเวียนของหัวใจ
- พีท แมราวิช นักบาสเกตบอลชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งขาดหลอดเลือดแดงหัวใจซ้ายแต่กำเนิด เป็นผลให้เขาเสียชีวิตอย่างกระทันหันด้วยหัวใจวายเมื่ออายุ 40 ปี
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- SUNY Figs 20:03-01 - "Anterior view of the heart."