สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1
1st Thai–Lao Friendship Bridge
ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ–ໄທ I
สะพานมิตรภาพ ไทย–ลาว แห่งที่ 1 ถ่ายจากฝั่งลาว
พิกัด17°52′42″N 102°42′56″E / 17.87833°N 102.71556°E / 17.87833; 102.71556
เส้นทาง ถนนมิตรภาพ
ทางหลวงเอเชียสาย 12
ทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์
ข้ามแม่น้ำโขง
ที่ตั้งหมู่ที่ 1 คุ้มจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย, บ้านท่านาแล้ง เมืองหาดซายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์
ชื่อทางการสะพานมิตรภาพ 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)
เหนือน้ำสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 7 (เลย–เวียงจันทน์)
ท้ายน้ำสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)
ข้อมูลจำเพาะ
วัสดุคอนกรีตอัดแรง
ความยาว1,170 เมตร
ประวัติ
วันเริ่มสร้างตุลาคม พ.ศ. 2534
วันสร้างเสร็จเมษายน พ.ศ. 2537
วันเปิด8 เมษายน พ.ศ. 2537
ที่ตั้ง
แผนที่
แผ่นจารึกในภาษาอังกฤษและภาษาลาว อนุสรณ์ถึงสะพานมิตรภาพไทย–ลาวแห่งแรก
ข้อความภาษาลาวในป้ายหมายถึง "จุดเปลี่ยนเส้นทางจราจร อยู่ข้างหน้า เตรียมหยุดรถ"

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (อังกฤษ: First Thai–Lao Friendship Bridge; ลาว: ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທຳອິດ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก โดยเชื่อมต่อหมู่ที่ 1 คุ้มจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เข้ากับบ้านท่านาแล้ง เมืองหาดซายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว ตัวสะพานมีความยาว 1,170 เมตร มีทางรถ 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.5 เมตร ทางเท้า 2 ช่องทาง กว้างช่องละ 1.5 เมตร และรถไฟทางเดี่ยวกว้าง 1 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน พ.ศ. 2557

ประวัติ

สะพานแห่งนี้ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระมหากษัตริย์ไทย และนายหนูฮัก พูมสะหวัน ประธานาธิบดีลาว

ลักษณะของสะพาน

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1แห่งนี้เป็นแบบคอนกรีตอัดแรง เสริมเหล็กแบบ Box Girder มีความยาวทั้งสิ้น 1174 เมตร พื้นผิวจราจรประกอบด้วยช่องจราจร 2 ช่องทาง กว้างช่องทางละ 3.5 เมตร. มีช่องทางเดินทั้งสองข้าง ข้างละ 1.5 เมตร และช่องทางเดินรถไฟตรงกลางกว้าง 1 เมตร ช่วงแม่น้ำประกอบด้วยตอม่อ 6 ตอม่อ ระยะห่างระหว่างตอม่อสะพานช่วงกลางแม่น้ำ 105 เมตร ช่วงบนฝั่งทั้ง 2 ข้าง ประกอบด้วยตอม่อ 8 ตอม่อในฝั่งไทย และ 7 ตอม่อในฝั่งลาว

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งแรกนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศลาว และยังส่งเสริมสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างสองประเทศ สะพานแห่งนี้อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าซึ่งแต่เดิมขนถ่ายกันโดยใช้แพขนานยนต์ และยังเป็นการเปิดทางออกสู่ทะเลโดยสะดวกให้กับประเทศลาว สะพานแห่งนี้ยังคงความสำคัญในด้านการค้า และยังเป็นสัญลักษณ์แห่งเจตจำนงของออสเตรเลียในการให้ความร่วมมือเพื่อพัฒนาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ก่อนการเปิดใช้สะพาน สถิติการนำเข้า - ส่งออกผ่านด่านศุลกากรหนองคาย ในปีงบประมาณ 2536 มีมูลค่ารวม 3.6 พันล้านบาท ในปี 2537 มูลค่าได้เพิ่มขึ้น 34 เปอร์เซ็นต์ เป็น 4.8 พันล้านบาท และเพิ่มเป็น 5.3 พันล้านบาทในปี 2538 สถิติล่าสุดในปีงบประมาณ 2554 แสดงมูลค่ารวมการนำเข้า-ส่งออกผ่านด่านศุลกากรหนองคายซึ่งสูงถึง 43 พันล้านบาท ด้านการคมนาคม ในปีงบประมาณ 2537 มีพาหนะเข้าประเทศไทยผ่านด่านมิตรภาพไทย - ลาว จำนวน 13,518 คัน และออกจำนวน 13,455 คัน ต่อมาภายหลังจากเปิดใช้สะพานแห่งนี้ จำนวนพาหนะเข้า-ออก ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปีงบประมาณ 2538 มีพาหนะเข้า 47,293 คัน และออก 48,658 คัน สถิติล่าสุดประจำปีงบประมาณ 2554 มีพาหนะเข้าถึง 419,659 คันและออก 424,841 คัน ด้านจำนวนจำนวนคนเข้า - ออก ผ่านด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว ในปีงบประมาณ 2537 มีคนเดินทางเข้าจำนวน 55,085 คน และ ออก 50,100 คน ต่อมาในปีงบประมาณ 2538 ตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นโดยมีคนเดินทางเข้าถึง 293,126 คน และออก 292,462 คน สำหรับในปีงบประมาณ 2554 มี คนเดินทางเข้าจำนวน 2,713,495 คน และออก 2,657,100 คน[1]

การเฉลิมฉลอง

ในระหว่างวันที่ 4 ถึง 8 เมษายน พ.ศ. 2557 ณ หาดจอมมณี จังหวัดหนองคายได้ร่วมมือกับนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศออสเตรเลีย จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ทางจังหวัดหนองคาย กำหนดจัดการเฉลิมฉลองวันครบรอบ 20 ปี สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ และการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ โดยในงานมีการจุดดอกไม้ไฟอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีการจุดดอกไม้ไฟตรงกึ่งกลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ระหว่างเขตประเทศไทยและเขตประเทศลาว และการแสดงต่าง ๆ ภายในงานด้วย เช่น การแสดงศิลปะวัฒนธรรมของไทย และลาว เป็นต้น

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

สะพานข้ามแม่น้ำโขงในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานปากลาย
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1
ท้ายน้ำ
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!