สมเด็จพระวันรัต (นิรันตร์ นิรนฺตโร)

สมเด็จพระวันรัต นามเดิม นิรันตร์ ฉายา นิรนฺตโร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารและกรรมการมหาเถรสมาคม

ประวัติ

ชาติกำเนิด

สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า ฮกเล้ง โกณเขมะ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ เป็นบุตรนายลุ้นฮวด-นางกิมหลง (นามสกุลเดิม ไมตรี) ภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 330 ซอยคูกำพล ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

อุปสมบท

หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนชลราษฎรอำรุงแล้ว ท่านได้ติดตามสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) มาอยู่วัดเทพศิรินทราวาส และสมเด็จฯ ได้เปลี่ยนชื่อท่านเป็นนิรันตร์ นับแต่นั้น ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2474 โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพกวี (จั่น วิจญฺจโล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเขมทัสสี (เอี่ยม เขมิโย) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

การศึกษาพระปริยัติธรรม

ลำดับสมณศักดิ์

  • 8 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระนิรันตรญาณมุนี[1]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม[2]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธาดา มหากถิกสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2504 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ปรีชาญาณดิลก ตรีปิฎกคุณาลงกรณ์ ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ได้รับสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุล ตรีปิฎกคุณประสาธนวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • 6 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระวันรัต ปริยัติปฏิบัติคุณดิเรก อดิเรกคัมภีรธรรมัตถโกศล สุวิมลวินยสุนทร ญาณวรวรางกูร วิบูลธรรมโสภิต ตรีปิกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[6]

มรณภาพ

สมเด็จพระวันรัต มรณภาพด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เวลา 19.25 น. ศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลากวีนิรมิต วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานโกศไม้สิบสองและรับศพในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเวลากลางคืนตลอด 7 คืน

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จฯ แทนพระองค์ไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส การนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จฯ ด้วย

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 64, ตอนที่ 27 ง, 17 มิถุนายน 2490, หน้า 1532
  2. เรื่องเก่าเล่าใหม่, หน้า (24)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 74, ตอนที่ 107 ง, 17 ธันวาคม 2500, หน้า 2947
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 78, ตอนที่ 104 ง ฉบับพิเศษ, 15 ธันวาคม 2504, หน้า 1
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 97, ตอนที่ 60 ก ฉบับพิเศษ, 16 เมษายน 2523, หน้า 1-3
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ (พระสาสนโสภณ และพระอุบาลี คุณูปมาจารย์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ), เล่ม 113, ตอนที่ 13 ข, 2 กรกฎาคม 2539, หน้า 3-5
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 174-177. ISBN 974-417-530-3
  • สมเด็จพระวันรัต (นิรันตร์ นิรนฺตโร). เรื่องเก่าเล่าใหม่. กรุงเทพฯ : สืบสานพุทธศาสน์, 2547. 136 หน้า. [อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระวันรัต (นิรนฺตรมหาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2547]

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!