สนธิสัญญาอึลซา หน้าลงตรารับรองที่จัดแสดง
วันร่าง 9 พฤศจิกายน 1905; 119 ปีก่อน (1905-11-09 ) วันลงนาม 17 พฤศจิกายน 1905; 119 ปีก่อน (1905-11-17 ) ที่ลงนาม พระตำหนักชุงมย็องจ็อน, ฮันซ็อง , เกาหลี วันมีผล 17 พฤศจิกายน 1905; 119 ปีก่อน (1905-11-17 ) ผู้ลงนาม
สนธิสัญญาอึลซา (เกาหลี : 을사조약, อึลซา-โจยัค ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สนธิสัญญาญี่ปุ่น-เกาหลีฉบับที่สอง (ญี่ปุ่น : 第二次日韓協約 ; โรมาจิ : Dai-niji nikkan kyōyaku ; ทับศัพท์ : ได-นิจิ นิกกัน เกียวยากุ) เป็นสนธิสัญญา ที่ทำขึ้นระหว่างจักรวรรดิเกาหลี กับจักรวรรดิญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 1905 โดยมีการลงนามเมื่อ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905[ 1] สนธิสัญญาฉบับนี้ คือการที่เกาหลียินยอมอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นในฐานะรัฐในอารักขา ถือเป็นการรับรองสถานะของกองทหารญี่ปุ่นในเกาหลีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ญี่ปุ่นมีอำนาจกำหนดนโยบายต่างประเทศของเกาหลีทั้งหมด แต่การปกครองภายในและนโยบายด้านอื่นยังดำเนินโดยข้าราชการชาวเกาหลี สนธิสัญญาฉบับนี้มีขึ้นภายหลังจากที่ญี่ปุ่นสามารถเอาชนะรัสเซียได้ในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ที่ยุติไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้า[ 2]
คำว่า "อึลซา" หรือ "อุลซา" (을사) ในภาษาเกาหลีนั้น มาจากการที่วันลงนามในสนธิสัญญานี้ เกิดขึ้นในปีที่ 42 ตามระบบแผนภูมิสวรรค์ [ 3]
การลงนาม
9 พฤศจิกายน 1905 อิโต ฮิโรบูมิ เดินทางถึงกรุงฮันซอง (กรุงโซล) และเข้าถวายพระราชสาสน์จากจักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นแก่จักรพรรดิโกจง แห่งเกาหลี เพื่อต้องการให้จักรพรรดิโกจงลงพระนามในสนธิสัญญา ซึ่งพระองค์ก็ไม่ยิมยอม ต่อมาในวันที่ 15 พฤศจิกายน อิโตได้บัญชาให้กองทหารญี่ปุ่นเข้าล้อมวังหลวงไว้ เพื่อกดดันให้พระองค์ทรงลงพระนาม
17 พฤศจิกายน พลเอก ฮาเซนาวะ โยชิมิชิ ผู้บัญชาการกองทหารรักษาการณ์ประจำเกาหลี พร้อมด้วย อิโต ฮิโรบูมิ และกองทหารญี่ปุ่นส่วนหนึ่ง ได้เข้าไปยังพระที่นั่งจุงเมียงจอน ซึ่งเป็นพระที่นั่งสถาปัตยกรรมตะวันตก ที่ตั้งอยู่ในพระราชวังด็อกซุกอุง เพื่อเกลี้ยกล่อมให้จักรพรรดิเกาหลีลงพระนามในสนธิสัญญา แต่พระองค์ก็ได้ปฏิเสธ ดังนั้น อิโต จึงบีบบังคับด้วยกำลังทหารให้คณะรัฐมนตรีเกาหลีลงนาม[ 4] อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีเกาหลี ฮัน กยูซอล ปฏิเสธการลงนามอย่างเสียงดัง อิโตจึงสั่งให้ทหารนำตัวเขาไปขัง และขู่ว่าถ้าเขายังไม่หยุดโวยวายเสียงดังจะสังหารเขา[ 5] เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ จึงมีรัฐมนตรีเกาหลี 5 คนซึ่งเรียกว่า "5 รัฐมนตรี" ยอมลงนาม คือ รัฐมนตรีศึกษาธิการ อี วันยง, รัฐมนตรีกองทัพ อี กวนแท็ก, รัฐมนตรีมหาดไทย อี จียอง, รัฐมนตรีต่างประเทศ พัก เจซุน และ รัฐมนตรีเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม กวอน จุงฮยอน โดยที่จักรพรรดิโกจงไม่ได้ทรงร่วมลงพระนาม
ข้อโต้แย้ง
การวิเคราะห์ "สนธิสัญญา ค.ศ. 1905" ของพระเจ้าโคจง
ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาผ่านพ้น จักรพรรดิโกจงได้ทรงส่งราชสาสน์ส่วนพระองค์ไปยังบรรดาประมุขแห่งรัฐของประเทศมหาอำนาจ เพื่อขอแนวร่วมเพื่อต่อต้านการลงนามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย[ 6] โดยพระองค์ได้ส่งราชสาสน์ลงตราราชลัญจกรไปยัง 8 ประมุขแห่งรัฐ คือ
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร
ประธานาธิบดี อาร์ม็อง ฟาลีแยร์ แห่งฝรั่งเศส
จักรพรรดินีโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย
จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย
พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี
สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม
จักรพรรดิกวังซวี่แห่งจักรวรรดิชิง
จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี [ 6]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ Korean Mission to the Conference on the Limitation of Armament, Washington, DC, 1921–1922. (1922). Korea's Appeal , p. 35, ที่กูเกิล หนังสือ ; excerpt, "Alleged Treaty, dated November 17, 1905."
↑ Clare, Israel et al. (1910). Library of universal history and popular science, p. 4732. , p. 4732, ที่กูเกิล หนังสือ
↑ Kodansha encyclopedia of Japan , Vol 4, 1983, p. 289; "Ulsa is the designation in the sexagenary cycle for the year corresponding to 1905"
↑ McKenzie, F. A. Korea's Fight for Freedom . 1920.
↑ 이토 히로부미는 직접~ :한계옥 (1998년 4월 10일). 〈무력을 앞장 세워 병탄으로〉, 《망언의 뿌리를 찾아서》, 조양욱, 1판 1쇄, 서울: (주)자유포럼, 97~106쪽쪽. ISBN 89-87811-05-0
↑ 6.0 6.1 Lee Hang-bok. "The King's Letter," English JoongAng Daily. September 22, 2009.
บรรณานุกรม
Beasley, William G. (1987). Japanese Imperialism, 1894–1945 . Oxford: Oxford University Press. ISBN 0198215754 ISBN 9780198215752 ; ISBN 9780198221685 ; OCLC 14719443
Carnegie Endowment for International Peace, Division of International Law. (1921). Pamphlet 43: Korea, Treaties and Agreements." The Endowment: Washington, D.C. OCLC 1644278
Clare, Israel Smith; Hubert Howe Bancroft and George Edwin Rines. (1910). Library of universal history and popular science. New York: The Bancroft society. OCLC 20843036
Cordier, Henri and Edouard Chavannes. (1905). "Traité entre le Japon et la Corée ," Revue internationale de Sinologie (International Journal of Chinese studies ). Leiden: E. J. Brill. OCLC 1767648
Duus, Peter (1995). The Abacus and the Sword: The Japanese Penetration of Korea, 1895–1910 . Berkeley: University of California Press. ISBN 9780520086142 ISBN 0520086147 ; ISBN 978-0-520-21361-6 ; ISBN 0-520-21361-0 ; OCLC 232346524
Korean Mission to the Conference on the Limitation of Armament, Washington, D.C., 1921–1922. (1922). Korea's Appeal to the Conference on Limitation of Armament. Washington: U.S. Government Printing Office. OCLC 12923609
Pak, Chʻi-yŏng. (2000). Korea and the United Nations. The Hague: Kluwer Law International. ISBN 9789041113825 ; OCLC 247402192
Tae-Jin, Yi. "Treaties Leading to Japan’s Annexation of Korea: What Are the Problems?." Korea Journal 56.4 (2016): 5-32. online