สถาปัตยกรรมอิหร่าน หรือ สถาปัตยกรรมเปอร์เซีย (อังกฤษ: Iranian architecture หรือ Persian architecture; เปอร์เซีย: معمارى ایرانی, Memāri e Irāni) คือสถาปัตยกรรมของประเทศอิหร่านและหลายส่วนของเอเชียตะวันตก คอเคซัส และเอเชียกลาง มีประวัติย้อนไปอย่างน้อยถึง 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นแบบฉบับอันเป็นเอกลักษณ์ส่งผลไปอย่างกว้างขวาง ทั้งตุรกี อิรัก จนถึงอุซเบกิสถานและทาจิกิสถาน และจากคอเคซัสจนถึงแซนซิบาร์ อาคารแบบเปอร์เซียมีความหลากหลายตั้งแต่กระท่อมของชาวไร่ชาวนาจนถึงโรงน้ำชา และศาลาในสวน จนถึง "โครงสร้างอันยิ่งใหญ่ที่โลกได้เห็น"[1] นอกจากนั้นประตูโบราณ พระราชวัง มัสยิด กระนั้นเมืองที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอย่าง เตหะราน ได้นำคลื่นการทำลาย ส่งผลให้เกิดสิ่งก่อสร้างใหม่
สถาปัตยกรรมอิหร่านมีความหลากหลายอย่างยิ่ง ทั้งในแง่โครงสร้างและความงาม ตั้งแต่แบบดั้งเดิมที่เคยเห็นชินตา มิได้มีนว้ตกรรมแบบฉับพลัน อย่างไรก็ตาม แผลซ้ำ ๆ จากการถูกรุกรานและการตกตะลึงทางวัฒนธรรม ได้ทำให้ "มีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ต่างจากประเทศมุสลิมอื่น"[2] ตัวอย่างงานที่สำคัญ "ได้สร้างความรู้สึกให้กับรูปทรงและมาตราส่วน ความคิดสร้างสรรค์ทางโครงสร้าง โดยเฉพาะในโครงสร้างทรงโค้งและโดม การตกแต่งอย่างชาญฉลาดซึ่งมากับความเป็นอิสรภาพและประสบความสำเร็จอย่างหาสถาปัตยกรรมอื่นใดมาเปรียบเทียบได้"[3]
อ้างอิง