สถานีกรุงธนบุรี (อังกฤษ: Krung Thon Buri station) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมส่วนต่อขยายช่วงตากสิน–บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน–วงเวียนใหญ่) และรถไฟฟ้าสายสีทอง ตัวสถานียกระดับเหนือถนนเจริญนครและถนนกรุงธนบุรีใกล้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
สถานีกรุงธนบุรี (รหัส: S7) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมส่วนต่อขยายช่วงตากสิน–บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน–วงเวียนใหญ่) และเป็นสถานีรถไฟฟ้าสถานีแรกในฝั่งธนบุรี ตัวสถานียกระดับเหนือถนนกรุงธนบุรีใกล้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินและถนนเจริญนคร ในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
สถานีกรุงธนบุรี เป็นสถานีที่ก่อสร้างพร้อมกับสถานีวงเวียนใหญ่ ในโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ส่วนต่อขยายสะพานตากสิน–บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน–แยกตากสิน) ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ซึ่งสถานีทั้ง 2 แห่งได้ก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนแล้วเสร็จและมีกำหนดเปิดให้บริการกลาง พ.ศ. 2550 แต่เนื่องจากทางกรุงเทพมหานคร ประสบปัญหาการจัดจ้างบริษัทติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณที่เสนอราคาสูง ประกอบกับทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซีได้ปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าบีทีเอสมาเป็นระบบของบริษัท บอมบาดิเอร์ ทำให้การติดตั้งระบบการเดินรถล่าช้ากว่ากำหนดการไปมาก
จนกระทั่งวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานครได้ลงนามสัญญาจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ ส่วนที่ 1 (ระบบอาณัติสัญญาณ) กับบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) งบประมาณ 368 ล้านบาท กรอบระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน และเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้ดำเนินการจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ส่วนที่ 2 (ระบบสื่อสาร, ระบบจ่ายไฟฟ้า, ระบบควบคุมและจัดเก็บข้อมูลและระบบประกอบอาคารในสถานีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบรถไฟฟ้า) กับกลุ่มบริษัท AAT Consortium จำกัด งบประมาณ 675 ล้านบาทและลงนามในสัญญาว่าจ้างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 ใช้ระยะเวลาติดตั้งระบบประมาณ 300 วัน[1]
[2]
เมื่อส่วนต่อขยายนี้ดำเนินการเสร็จสิ้น กรุงเทพมหานครได้เปิดทดลองเดินรถไฟฟ้าช่วงสะพานตากสิน–วงเวียนใหญ่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นครั้งแรก โดยทดสอบระบบอาณัติสัญญาณและระบบที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 12 เมษายน พ.ศ. 2552 และเริ่มทดลองให้บริการโดยไม่มีผู้โดยสารตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ต่อมากรุงเทพมหานครได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการโดยไม่คิดค่าโดยสารระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นจึงจะเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง ซึ่งหลังจากเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น. วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 พบว่าสถานีกรุงธนบุรีมีผู้ใช้บริการ 12,000 เที่ยวคน/วัน และสถานีวงเวียนใหญ่มีผู้ใช้บริการ 28,800 เที่ยวคน/วัน รวม 40,800 เที่ยวคน/วัน และวันที่ 18 พฤษภาคม มีผู้โดยสารมากขึ้นเป็น 43,500 เที่ยวคน/วัน คาดว่าในอนาคตจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการส่วนต่อขยายนี้ถึงวันละ 50,000 เที่ยวคน/วัน[3]
ที่ตั้ง
ถนนกรุงธนบุรี บริเวณปากซอยกรุงธนบุรี 8 หน้าสถานีบริการน้ำมันบางจาก (โรงเรียนเทคนิคสัจจวัฒน์เดิม) และท่าปล่อยรถประจำทางสาย 3, 84, 105 ก่อนถึงเชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินฝั่งธนบุรี ในพื้นที่แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
ก่อนหน้าที่ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจะเปิดให้บริการ ผู้โดยสารจากฝั่งธนบุรีจำนวนมากต้องโดยสารเรือข้ามฟากที่ท่าเรือเป็ปซี่หรือเดินทางข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินเพื่อเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าที่สถานีสะพานตากสินและสถานีสุรศักดิ์ แต่จากการเปิดให้บริการที่สถานีกรุงธนบุรีทำให้ผู้โดยสารรถประจำทางจากถนนเจริญนครและถนนกรุงธนบุรีสามารถเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าได้โดยตรง ที่ตั้งของสถานีกรุงธนบุรีอยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือเป็ปซี่ประมาณ 900 เมตร ห่างจากสถานีสะพานตากสินประมาณ 1.2 กิโลเมตร และห่างจากสถานีต่อไปคือสถานีวงเวียนใหญ่ประมาณ 640 เมตร นับว่าเป็นสถานีรถไฟฟ้าสถานีแรกที่ระบบรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งธนบุรี
สถานีแห่งนี้ใช้ชื่อในโครงการระหว่างการก่อสร้างว่า "สถานีกรุงธนบุรี" ตามชื่อถนนที่ตั้งสถานี ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีเจริญนคร" ตามเส้นทางถนนเจริญนครที่อยู่ใกล้เคียง แต่จุดกึ่งกลางสถานียังห่างจากถนนเจริญนครถึงประมาณ 700 เมตร เนื่องด้วยข้อจำกัดจากโครงสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทำให้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "สถานีกรุงธนบุรี" อีกครั้งในปัจจุบัน
แผนผังของสถานี
รูปแบบของสถานี
เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด
ทางเข้าออกสถานี
- 1 ซอยกรุงธนบุรี 3, สินสาธรทาวเวอร์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, คิว เฮ้าส์ คอนโด สาทร,ท่ารถประจำทางสาย 84 (บันไดเลื่อน)
- 2 ไอดีโอ สาทร-ตากสิน, อาคารไทยศรีประกันภัย, ปั๊มน้ำมันบางจาก, ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี, ป้ายรถประจำทางไปทางแยกตากสิน (ลิฟต์)
- 3 กรุงธนบุรี
- 4 ซอยกรุงธนบุรี 8, ร้านอาหารนทีทิพย์ & บ้านหลังที่ 2, เดอะ แบงค็อก สาทร-ตากสิน, ไอดีโอ โมบิ สาทร-ตากสิน, ป้ายรถประจำทางไปทางแยกตากสิน (บันไดเลื่อน)
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 หน้าคิว เฮ้าส์ คอนโด สาทร และ ทางออก 4 หน้าเดอะ แบงค็อก สาทร-ตากสิน
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ลิฟต์สำหรับผู้พิการ จากทางเท้าถนนกรุงธนบุรีทั้ง 2 ฝั่ง บริเวณทางออกที่ 2 และ 3
- บันไดทางขึ้น-ลงสถานีจากทางเท้า 4 จุด (มีบันไดบันไดเลื่อน 2 จุด)
- ทางเดินยกระดับกลางถนนกรุงธนบุรี จากสถานีทั้งด้านทิศตะวันออกและตะวันตก เชื่อมสะพานลอยที่ 1 และ 2 ของถนนกรุงธนบุรีตามลำดับ
สถานีรถไฟฟ้าสายสีทอง
สถานีกรุงธนบุรี (รหัส: G1) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทองช่วงที่ 1 ระยะที่ 1 (กรุงธนบุรี–คลองสาน) ตัวสถานียกระดับเหนือถนนกรุงธนบุรีขาออก ใกล้เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง
ถนนกรุงธนบุรี บริเวณด้านหน้าจุดจอดแล้วจร สถานีกรุงธนบุรี ก่อนถึงเชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินฝั่งธนบุรี ในพื้นที่แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
แผนผังของสถานี
U3 ชานชาลา
|
ส่วนล้างขบวนรถ
|
ศูนย์ซ่อมบำรุงกรุงธนบุรี
|
ชานชาลา 2
|
สายสีทอง มุ่งหน้า คลองสาน (ไม่ได้ใช้งาน)
|
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
|
ชานชาลา 1
|
สายสีทอง มุ่งหน้า คลองสาน
|
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร
|
ชั้นขายบัตรโดยสาร
|
ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, กรุงธนบุรี
|
G ระดับถนน
|
-
|
ป้ายรถประจำทาง, อาคารสินสาธรทาวเวอร์, อาคารไทยศรีประกันภัย, ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี
|
เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง และเปิดใช้ชานชาลาที่ 1 เพียงชานชาลาเดียว ขบวนรถที่มาจากสถานีเจริญนครจะสับรางเพื่อเข้าสู่ชานชาลาที่ 1 จากนั้นผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางจะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมด และผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีคลองสานจะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีคลองสานจะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสภาพรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นขบวนรถจะออกจากสถานีไปสถานีเจริญนครและให้บริการต่อ หรือเดินรถเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุงต่อไป
รูปแบบของสถานี
เป็นแบบชานชาลาเกาะกลาง ขนาดมาตรฐาน กว้าง 31.5 เมตร ระดับชานชาลาสูง 15.20 เมตร ยาว 107 เมตร เนื่องจากสถานีทำหน้าที่เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงในตัว ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร ชานชาลา และพื้นที่ควบคุมการเดินรถทั้งหมด ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด
ทางเข้าออกสถานี
- 1 ซอยเจริญนคร 14, คิวเฮาส์คอนโด สาทร
- 2 ซอยกรุงธนบุรี 5, วิลลา สาทร คอนโดมิเนียม
- 3 กรุงธนบุรี
- 4 ซอยกรุงธนบุรี 8, ร้านอาหารนทีทิพย์ & บ้านหลังที่ 2, เดอะ แบงค็อก สาทร-ตากสิน, ไอดีโอ โมบิ สาทร-ตากสิน, ป้ายรถประจำทางไปทางแยกตากสิน (บันไดเลื่อน)
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ลิฟต์สำหรับผู้พิการ จากทางเท้าถนนกรุงธนบุรี บริเวณทางออกที่ 3
เวลาให้บริการ
ปลายทาง |
ขบวนรถ |
ขบวนแรก |
ขบวนสุดท้าย
|
สายสีลม[4]
|
ชานชาลาที่ 3
|
S12 |
บางหว้า |
เต็มระยะ |
05.47 |
00.31
|
ชานชาลาที่ 4
|
W1 |
สนามกีฬาแห่งชาติ |
เต็มระยะ |
05.39 |
23.58
|
|
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท |
– |
23.44
|
สายสีทอง[5]
|
ชานชาลาที่ 1 และ 2
|
G3 |
คลองสาน |
เต็มระยะ |
06.00 |
00.08
|
รถโดยสารประจำทาง
ถนนกรุงธนบุรี
- เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
สายที่
|
จุดเริ่มต้น
|
จุดสิ้นสุด
|
ประเภทของรถที่ให้บริการ
|
ผู้ให้บริการ
|
หมายเหตุ
|
3 (2-37)
|
อู่กำแพงเพชร
|
คลองสาน
|
1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
|
ขสมก.
|
มีรถให้บริการตลอดคืน
|
76 (4-14)
|
อู่แสมดำ
|
ประตูน้ำ
|
1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
3.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
|
มีรถให้บริการตลอดคืน
แต่เวลา 22.30-03.00 น. จากต้นทาง
|
105 (4-18)
|
สมุทรสาคร
|
BTS กรุงธนบุรี
|
1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
2.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
|
|
205 (3-51)
|
อู่คลองเตย
|
เดอะมอลล์ท่าพระ
|
รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
|
เส้นทางวิ่งเป็นวงกลม
|
505 (2-24E)
|
ปากเกร็ด
|
วงเวียนใหญ่
|
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
|
รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านงามวงศ์วาน ลงด่านหัวลำโพง)
|
2-28
|
ตลาดบางบัวทอง
|
สวนลุมพินี
|
รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
|
|
รถเอกชน
ถนนกรุงธนบุรี มุ่งหน้าทางแยกตากสิน รถขสมก. สาย 76 205 2-28 รถเอกชนสาย 85 108 120 163 165 1-32E
ถนนกรุงธนบุรี มุ่งหน้าสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รถขสมก. สาย 3 76 105 205 505 2-28 รถเอกชน สาย 84 85 108 120 163 1-32E
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน
- สินสาธร ทาวเวอร์
- อาคารไทยศรีประกันภัย
- อาคารชูยศและบุตร
- อาคารปริ๊นเซส ทาวเวอร์
- อาคารเสริมสุข
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขา สะพานพระเจ้าตากสิน
โรงแรม
- โรงแรมฮ็อป อินน์ กรุงเทพ สถานีกรุงธนบุรี
- โรงแรมไอบิส กรุงเทพ ริเวอร์ไซด์
- โรงแรมคิง รอยัล ทู
- โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ สาทร กรุงเทพฯ
- โรงแรมสราสินีออลสวีท
เหตุการณ์สำคัญในอดีต
- วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เวลา 15.00 น. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะได้เป็นประธานในพิธีกดปุ่มเดินเครื่องจักรก่อสร้างเสาเข็มเจาะสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีกรุงธนบุรี เพื่อให้ผู้รับเหมาคือบริษัทกิจการร่วมค้าซิโน-ไทย เอ.เอส. ได้เดินหน้าก่อสร้างสถานีและวางรางในส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-แยกตากสิน [6]
- วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 23.00 ถึงเวลา 01.00 น. ของวันถัดมา ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมคณะผู้บริหาร กรุงเทพมหานคร ประธานสภา กทม. และสื่อมวลชน ร่วมทดสอบระบบการให้บริการผู้โดยสารของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-แยกตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร จากสถานีวงเวียนใหญ่ไปสถานีกรุงธนบุรี และร่วมงาน "ความทรงจำ...ที่แสนภูมิใจ" ที่มีการจัดนิทรรศการประวัติความเป็นมาจากวันเริ่มต้นดำเนินงาน จนกระทั่งมาเป็นรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 2.2 กิโลเมตรที่สถานีวงเวียนใหญ่ [7]
แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิง
|
---|
สายตะวันตก (W) | ยศเส–สนามกีฬาแห่งชาติ (โครงการ) | |
---|
สนามกีฬาแห่งชาติ–สยาม | |
---|
|
---|
สายใต้ (S) | สยาม–สะพานตากสิน | |
---|
สะพานตากสิน–วงเวียนใหญ่ | |
---|
วงเวียนใหญ่–บางหว้า | |
---|
บางหว้า–ตลิ่งชัน (โครงการ) | |
---|
ตลิ่งชัน–บางรักน้อยท่าอิฐ (โครงการ) | |
---|
|
---|
|
---|
แขวง | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | |
---|
|