สำนักงานศาลปกครองAdministrative Court Office |
ตราสัญลักษณ์ |
ภาพรวมสำนักงาน |
---|
ก่อตั้ง | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2542; 25 ปีก่อน (2542-10-11) |
---|
ประเภท | ส่วนราชการ |
---|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
---|
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 |
---|
บุคลากร | 3,474 คน (พ.ศ. 2566)[3] |
---|
งบประมาณต่อปี | 3,364,448,100 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
---|
ฝ่ายบริหารสำนักงาน | - จำนงค์ ถาวรวิสิทธิ์, รักษาการเลขาธิการ
- ชำนาญ ทิพยชนวงศ์, รองเลขาธิการ
- เจตน์ สถาวรศีลพร, รองเลขาธิการ
- ว่าง, รองเลขาธิการ
- ว่าง, รองเลขาธิการ
|
---|
ต้นสังกัดสำนักงาน | ศาลปกครอง |
---|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
---|
ศาลปกครอง (อังกฤษ: Administrative Court) เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมและมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ
ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา
อำนาจพิจารณาพิพากษา
ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
- คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มี อำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิด กับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
- คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
- คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎคำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
- คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
- คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
- คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
เรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง
- การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร
- การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
- คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น
อำนาจศาลปกครองสูงสุด
ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้
- คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุม ใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด
- คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออก โดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
- คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด
- คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
ศาลปกครองแบ่งออกเป็น "ศาลปกครองชั้นต้น" และ "ศาลปกครองสูงสุด"
- ศาลปกครองชั้นต้น โดยมี สำนักงานศาลปกครองกลาง และสำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค ทำหน้าที่รับผิดชอบในงานธุรการศาลและงานอื่นๆ ตามมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
- 1. ศาลปกครองกลาง เปิดทำการวันที่ 9 มีนาคม 2544 : เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ : 0 2141 1111 , Call Center ศาลปกครอง 1355 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร รวมทั้งจังหวัดที่มิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองในภูมิภาค คือ จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี
- 2. ศาลปกครองเชียงใหม่ เปิดทำการวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 : เลขที่ 333 ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก (ในบริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่) อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0 5310 7999 โทรสาร : 0 5310 7336-8 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่
- 3. ศาลปกครองสงขลา เปิดทำการวันที่ 31 สิงหาคม 2544 เลขที่ 1111 หมู่ 2 ถนนสงขลา-เกาะยอ ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90100 โทรศัพท์ : 0 7433 4945-8 โทรสาร : 0 7433 4931โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสตูล
- 4. ศาลปกครองนครราชสีมา เปิดทำการวันที่ 3 ตุลาคม 2544 : เลขที่ 345 หมู่ 6 ถนนมิตรภาพ (เลี่ยงเมือง) ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ 0 4430 7300-2 โทรสาร 0 4430 7300-2 ต่อ 1122 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
- 5. ศาลปกครองขอนแก่น เปิดทำการวันที่ 30 เมษายน 2545 : เลขที่ 333 หมู่ที่ 2 ถนนเหล่านาดี ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ : 0 4325 8681-2 โทรสาร : 0 4325 8660 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคาม และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดมุกดาหาร
- 6. ศาลปกครองพิษณุโลก เปิดทำการวันที่ 1 ตุลาคม 2545 : เลขที่ 111 หมู่ที่ 8 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : 0 5590 9550-9 โทรสาร : 0 5590 9560 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดอุตรดิตถ์
- 7. ศาลปกครองระยอง เปิดทำการวันที่ 28 มกราคม 2546 : เลขที่ 777 ถนนสุขุมวิท ตำบลเนินพระ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150 โทรศัพท์ : 0 3869 4513-30 โทรสาร : 0 3869 4511-12 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
- 8. ศาลปกครองนครศรีธรรมราช เปิดทำการวันที่ 15 สิงหาคม 2546 : อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ นครศรีธรรมราช เลขที่ 345 ถนนพัฒนาการคูขวาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 โทรศัพท์ : 0 75355130 - 5 โทรสาร : 0 75355136 - 9 โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดชุมพร
- 9. ศาลปกครองอุดรธานี เปิดทำการวันที่ 24 กันยายน 2553 : เลขที่ 999 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านขาว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000 โทรศัพท์ : 0 4223 0664-6 โทรสาร : 0 4223 0627โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดนครพนม จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดสกลนคร
- 10. ศาลปกครองอุบลราชธานี เปิดทำการวันที่ 1 เมษายน 2554 : เลขที่ 444 หมู่ 3 ถนนแจ้งสนิท (กิโลเมตรที่ 9) ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ : 0 4531 9600-04 โทรสาร: 0 4531 9600-4 ต่อ 119โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอำนาจเจริญ
- 11. ศาลปกครองเพชรบุรี เปิดทำการวันที่ 19 มกราคม 2558 : เลขที่ 980/98 ถนนเพชรเกษม ตําบลชะอํา อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี 76120 โทรศัพท์ : 0 3270 9400 โทรสาร : 0 3270 9444 โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม
- 12. ศาลปกครองนครสวรรค์ : เลขที่ 9/9 หมู่ที่ 7 ตำบลกลางแดด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000 โทรศัพท์ : 0 5621 9234 โทรสาร : 0 5621 9244 เปิดทำการวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดอุทัยธานี และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดลพบุรี
- 13. ศาลปกครองสุพรรณบุรี : เลขที่ 333 หมู่ที่ 6 ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 หมายเลขโทรศัพท์ 0 3543 2333 เปิดทำการวันที่ 1 ตุลาคม 2561โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
- 14. ศาลปกครองภูเก็ต เปิดทำการวันที่ 1 ตุลาคม 2561 : เลขที่ 33/3 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 หมายเลขโทรศัพท์ 0 7639 7400โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง
- 15. ศาลปกครองยะลา เปิดทำการวันที่ 18 มกราคม 2562 : เลขที่ 199 หมู่ 1 ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000 หมายเลขโทรศัพท์ 0 7336 2462 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส
- ศาลปกครองสูงสุด เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง คือ (1) คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด (2) คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (3) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด (4) คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น หรือมีกฎหมายเฉพาะให้ผู้มีสิทธิฟ้องคดียื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด เช่นโดยตรง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ.ฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553
รายนามประธานศาลปกครองสูงสุดของไทย
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อักขราทร จุฬารัตน (21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553[5])
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 23 กันยายน พ.ศ. 2558[6])
- ดร.ปิยะ ปะตังทา (31 มีนาคม พ.ศ. 2559 – 27 กันยายน พ.ศ. 2564[7])
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์ (27 กันยายน พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565[8])
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน 2567[9])
- ประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน[10])
รายนามตุลาการศาลปกครองสูงสุดของไทย
รายนามทั้งหมดมีผล 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[11]
- สมเกียรติ บุตรดี
- พินิจ มั่นสัมฤทธิ์
- สมมาศ รัฐพิทักษ์สันติ
- เกียรติภูมิ แสงศศิธร
- วิชัย พจนโพธา
- สายทิพย์ สุคติพันธ์
- อภิรัฐ ปานเทพอินทร์
- เมธี ชัยสิทธิ์
- ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว
- สิทธานต์ สิทธิสุข
- อาทร คุระวรรณ
- อุดมศักดิ์ อังศุพิสิฐ
- ประพันธ์ คล้ายสุบรรณ
- วุฒิชัย ไทยเจริญ
- พรทิภา ไสวสุวรรณวงศ์
- เชิดชู รักตะบุตร
- บุญเสริม นาคสาร
- สมฤทธิ์ ชัยวงค์
รายนามตุลาการศาลปกครองชั้นต้นของไทย
มีรายนาม[12]
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
กระทรวง | | |
---|
อดีต | |
---|
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ | ศาล | |
---|
องค์กรอิสระ | |
---|
องค์กรอัยการ | |
---|
|
---|
|