สำหรับวันพ่อในต่างประเทศ ดูที่
วันพ่อ
วันพ่อแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และยังตรงกับวันชาติของประเทศไทยอีกด้วย[1][2]
กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของ คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อ คือ ดอกพุทธรักษา ซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคลยกเลิก
ประวัติ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิง เนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติขึ้น เนื่องจากพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัว สังคม ที่ผู้เป็นลูกจะต้องเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น "วันพ่อ"
ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก็ได้มีการประกาศจากรัฐบาลของประเทศไทยว่า วันพ่อแห่งชาติของประเทศไทย จะยังคงเป็นวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีต่อไปตามเดิม
วัตถุประสงค์
กิจกรรม
- ประดับธงชาติไทยบริเวณอาคารบ้านเรือน ร่วมกันใส่เสื้อสีเหลือง ประดับผ้าผูก จัดโต๊ะหมู่สักการะ
- จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญตักบาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลหรือเรียกว่า "จิตอาสา"
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 จะมีหน่วยงานราชการ เอกชน พ่อค้า และประชาชนจากทั่วประเทศ นำพุ่มดอกไม้มาถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในลักษณะคล้ายกับที่มีการปฏิบัติในวันนวมินทรมหาราชอีกด้วย
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
กำหนดวันที่แน่นอน | ทั่วประเทศ | |
---|
เฉพาะอาชีพ | |
---|
บางท้องที่ | |
---|
| |
---|
กำหนดวันที่ไม่แน่นอน | |
---|