วัฏจักรราชวงศ์ (อังกฤษ: Dynastic cycle; จีนตัวเต็ม: 朝代循環; จีนตัวย่อ: 朝代循环; พินอิน: Cháodài Xúnhuán) เป็นปรัชญาการเมืองที่สำคัญในประวัติศาสตร์จีน ทฤษฎีนี้ระบุว่า แต่ละราชวงศ์ของจีนก้าวขึ้นถึงจุดสูงสุดทางการเมือง วัฒนธรรม และวัฒนธรรม จากนั้นจึงเสื่อมถอยเนื่องจากการเสื่อมถอยทางศีลธรรม สูญเสียอาณัติแห่งสวรรค์และล่มสลาย หลังจากนั้นราชวงศ์ใหม่จึงมาแทนที่ราชวงศ์เดิม วัฏจักรนี้เกิดขึ้นใหม่ซ้ำ ๆ ตามรูปแบบที่จำเจ[1]
วัฏจักรนี้เป็นความต่อเนื่องของประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่สมัยแรกจนถึงปัจจุบัน โดยดูจากการสืบราชบัลลังก์หรือราชวงศ์ แสดงว่ามีการพัฒนาขั้นพื้นฐานหรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมหรือเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อย[2] John K. Fairbank เขียนแสดงความสงสัยของนักประวัติศาสตร์หลายคนว่า "แนวคิดวัฏจักรราชวงศ์... เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของประวัติศาสตร์จีน"[3]
วัฏจักร
รายละเอียดวัฏจักรเป็นไปดังนี้:
- ผู้นำใหม่ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ และได้รับอาณัติแห่งสวรรค์[5]
- จีนภายใต้ราชวงศ์ใหม่ประสบกับความเจริญรุ่งเรือง
- ประชากรเพิ่มขึ้น
- การทุจริตในราชสำนักรุนแรงขึ้น และจักรวรรดิเริ่มเสื่อมถอยและไม่มั่นคง
- ภัยธรรมชาติกวาดล้างที่ดินทำกิน โดยปกติภัยพิบัติจะไม่เป็นปัญหา อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดพร้อมกับการทุจริตและประชากรล้น จะก่อให้เกิดทุพภิกขภัย[5]
- ทุพภิกขภัยทำให้ประชากรก่อกบฏและตามมาด้วยสงครามกลางเมือง[5]
- ผู้นำสูญเสียอาณัติแห่งสวรรค์[5]
- ประชากรลดลงเนื่องจากความรุนแรง[6]
- จีนเข้าสู่สมัยรณรัฐ[6]
- หนึ่งรัฐได้รับชัยชนะ
- รัฐนั้นจัดตั้งจักรวรรดิใหม่[5]
- จักรวรรดิได้รับอาณัติแห่งสวรรค์[5]
- (วัฏจักรเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง)
อ้างอิง
- ↑ Edwin O. Reischauer, "The Dynastic Cycle", in John Meskill, The Pattern of Chinese History, (Lexington: D. C. Heath and Company, 1965), pp. 31-33.
- ↑ "Dynastic cycle," in Dillon, Michael (1998). China: A Historical and Cultural Dictionary. Richmond, Surrey: Curzon. ISBN 978-0700704392., p. 87
- ↑ John K. Fairbank and Edwin O. Reischauer, East Asia: The GreatTradition(Boston, 1960), p. 115.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Ching, Frank. Ancestors: 900 Years in the Life of a Chinese Family. New York: William Morrow and Company, 1974. p 78.
- ↑ 6.0 6.1 Wills, John E. Mountain of Fame: Portraits in Chinese History. Princeton: Princeton University Press, 1994- p. 35
ข้อมูล
แหล่งข้อมูลอื่น