วัคซีนโรคโปลิโอ เป็นวัคซีน ที่ใช้ป้องกันโรคโปลิโอ ชนิดหนึ่งใช้เชื้อไวรัสโปลิโอ ตายและให้โดยการฉีด (IPV) ส่วนอีกชนิดหนึ่งใช้เชื้อไวรัสโปลิโอเป็นและให้ทางปาก (OPV) องค์การอนามัยโลก แนะนำให้เด็กทุกคนได้รับวัคซีนต้านโรคโปลิโอ[ 1] วัคซีนทั้งสองชนิดกำจัดโรคโปลิโอไปจากส่วนใหญ่ของโลก[ 2] [ 3] และลดจำนวนผู้ป่วยต่อปีจากประมาณ 350,000 คนใน ค.ศ. 1988 เหลือ 359 คนใน ค.ศ. 2014[ 4]
วัคซีนโรคโปลิโอชนิดเชื้อตายปลอดภัยมาก อาจเกิดอาการแดงหรือปวดเล็กน้อย ณ จุดฉีด วัคซีนโรคโปลิโอทางปากทำให้เกิดโรคโปลิโออัมพาตที่สัมพันธ์กับวัคซีนประมาณสามต่อล้านขนาด โดยทั่วไปให้วัคซีนทั้งสองชนิดได้อย่างปลอดภัยระหว่างการตั้งครรภ์และผู้ป่วยเอชไอวี[ 1]
วัคซีนโรคโปลิโอชนิดแรกเป็นวัคซีนโปลิโอชนิดเชื้อตาย ซึ่งพัฒนาโดยโจนัส ซอล์ก และมีใช้ใน ค.ศ. 1955[ 1] วัคซีนโรคโปลิโอทางปากพัฒนาโดยแอลเบิร์ต ซาบิน และมีใช้เชิงพาณิชย์ใน ค.ศ. 1961[ 1] [ 5] ทั้งสองอยู่ในรายการยาหลักขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นยาสำคัญที่สุดที่จำเป็นในระบบสุขภาพพื้นฐาน[ 6] ราคาขายส่งอยู่ที่ประมาณ 0.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อขนาดสำหรับรูปให้ทางปากใน ค.ศ. 2014[ 7] ในสหรัฐ มีราคาระหว่าง 25 ถึง 50 ดอลลาร์สหรัฐในรูปเชื้อตาย[ 8]
ผลข้างเคียง
Doses of oral polio vaccine are added to sugar cubes for use in a 1967 vaccination campaign in Bonn , West Germany
วัคซีนโรคโปลิโอเป็นวัคซีนเชื้อเป็นที่ถูกทำให้สิ้นฤทธิ์ จึงมีความปลอดภัยสูงมาก ผู้รับวัคซีนชนิดฉีดบางรายอาจมีอาการบวมแดงหรือเจ็บที่ตำแหน่งฉีดวัคซีน ส่วนวัคซีนชนิดกินพบว่าบางครั้งทำให้เกิดโรคโปลิโอจากวัคซีนจนมีอาการอ่อนแรง ซึ่งพบได้ 3 ครั้ง ต่อการให้วัคซีนหนึ่งล้านครั้ง โดยทั่วไปถือว่ามีความปลอดภัยเพียงพอสามารถให้กับหญิงตั้งครรภ์ได้ และให้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีสุขภาพดีได้ด้วย[ 9]
โรคโปลิโอจากวัคซีน
จำนวนผู้ป่วยโรคโปลิโอจากวัคซีนที่ออกสู่ธรรมชาติ หรือ cVDPV (เส้นสีแดง) เพิ่มขึ้นจนมากกว่าจำนวนผู้ป่วยโรคโปลิโอตามธรรมชาติ (เส้นสีน้ำเงิน) เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 2017
โรคโปลิโอจากวัคซีนเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยมากของการใช้วัคซีนโปลิโอแบบกิน เกิดจากการที่เชื้อในวัคซีนเกิดการประกอบพันธุกรรมใหม่เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบประสาทและทำให้มีอาการอ่อนแรงได้[ 10] อาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอชนิดมาจากวัคซีน (vaccine-derived poliovirus, VDPV) นี้เหมือนกันทุกประการกับอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอในธรรมชาติ[ 11] มีรายงานว่ามีการระบาดของเชื้อไวรัสโปลิโอชนิดมาจากวัคซีนที่ออกสู่ธรรมชาติ (circulating vaccine-derived poliovirus, cVDPV) ทำให้เกิดโรคอัมพาตจากโปลิโอชนิดมาจากวัคซีน (vaccine-associated paralytic poliomyelitis, VAPP)[ 12] ซึ่งมักพบในพื้นที่ที่มีการให้วัคซีนโปลิโอชนิดกินแต่ไม่ทั่วถึง เชื่อว่าเป็นเพราะเชื้อในวัคซีนทำให้คนในพื้นที่เกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อในธรรมชาติ เมื่อเกิดโรคจึงพบเฉพาะชนิดที่เกิดจากเชื้อที่มาจากวัคซีน[ 13] [ 14]
เมื่อ ค.ศ. 2016 องค์การอนามัยโลกได้ใช้มาตรการเพื่อลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ โดยให้แต่ละประเทศเปลี่ยนชนิดวัคซีนโปลิโอแบบกินจากชนิด 3 สายพันธุ์ มาเป็นชนิด 2 สายพันธุ์[ 15] ซึ่งไม่มีเชื้อโปลิโอชนิดที่ 2 อีกต่อไป เนื่องจากเชื้อโปลิโอชนิดนี้ถูกกำจัดหมดไปจากโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1999[ 16]
สำหรับประเทศไทยพบการระบาดของโรคโปลิโอครั้งแรกในปี 2495 โดยมีรายงานผู้ป่วยจำนวน 425 ราย จากนั้นพบผู้ป่วยมาอย่างต่อเนื ่องจนสูงสุดในปี 2522 ซึ่งพบผู้ป่วยจำนวน 1,083 ราย แต่หลังจากเริ่มให้วัคซีน ป้องกันโรคโปลิโอตั้งแต่ปี 2520 นั้น จำนวนผู้ป่วยได้ลดลงมาเป็นลำดับ โดยพบผู้ป่วยโปลิโอสายพันธุ์ก่อโรคตามธรรมชาติ สายพันธุ์ที่ 1 เมื่อเดือน เมษายน 2540 เป็นรายสุดท้าย ของประเทศ สำหรับผู้ป่วยโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์พบรายสุดท้ายในปี 2546 และรักษาสถานะปลอด โรคโปลิโอมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Polio vaccines: WHO position paper, January 2014" (PDF) . Wkly Epidemiol Rec . 89 (9): 73–92. Feb 28, 2014. PMID 24707513 .
↑ Aylward RB (2006). "Eradicating polio: today's challenges and tomorrow's legacy". Annals of Tropical Medicine and Parasitology . 100 (5–6): 401–13. doi :10.1179/136485906X97354 . PMID 16899145 .
↑ Schonberger L, Kaplan J, Kim-Farley R, Moore M, Eddins D, Hatch M (1984). "Control of paralytic poliomyelitis in the United States". Rev. Infect. Dis . 6 Suppl 2: S424–6. doi :10.1093/clinids/6.Supplement_2.S424 . PMID 6740085 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ "Poliomyelitis: Fact sheet N°114" . World Health Organization. Oct 2015. สืบค้นเมื่อ 14 Dec 2015 .
↑ Smith, DR; Leggat, PA (2005). "Pioneering figures in medicine: Albert Bruce Sabin--inventor of the oral polio vaccine". The Kurume medical journal . 52 (3): 111–6. doi :10.2739/kurumemedj.52.111 . PMID 16422178 .
↑ "WHO Model List of EssentialMedicines" (PDF) . World Health Organization . October 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014 .
↑ "Vaccine, Polio" . International Drug Price Indicator Guide . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-02-28. สืบค้นเมื่อ 6 December 2015 .
↑ Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition . Jones & Bartlett Learning. p. 316. ISBN 978-1-284-05756-0 .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHO2016
↑ Shimizu H, Thorley B, Paladin FJ, และคณะ (December 2004). "Circulation of Type 1 Vaccine-Derived Poliovirus in the Philippines in 2001" . J. Virol . 78 (24): 13512–21. doi :10.1128/JVI.78.24.13512-13521.2004 . PMC 533948 . PMID 15564462 .
↑ Cono J, Alexander LN (2002). "Chapter 10: Poliomyelitis" (PDF) . Vaccine-Preventable Disease Surveillance Manual (3rd ed.). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2011-10-22.
↑ "What is vaccine-derived polio?" . Online Q&A – WHO . ตุลาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 7 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2015 .
↑ Kew O, และคณะ (2002). "Outbreak of poliomyelitis in Hispaniola associated with circulating type 1 vaccine-derived poliovirus". Science . 296 (5566): 356–9. doi :10.1126/science.1068284 . PMID 11896235 .
↑ Yang CF, Naguib T, Yang SJ, และคณะ (August 2003). "Circulation of Endemic Type 2 Vaccine-Derived Poliovirus in Egypt from 1983 to 1993" . J. Virol . 77 (15): 8366–77. doi :10.1128/JVI.77.15.8366-8377.2003 . PMC 165252 . PMID 12857906 .
↑ "Replacing trivalent OPV with bivalent OPV" . World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 30 May 2019 .
↑ "Poliomyelitis" . World Health Organization (WHO) . 22 July 2019. สืบค้นเมื่อ 18 October 2019 .