วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค เป็นวัคซีน ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอหิวาตกโรค [ 8] ในช่วงหกเดือนแรกวัคซีนจะให้ผลในการป้องกันโรคประมาณ 85% และในช่วงปีแรกจะให้ผลในการป้องกันโรคประมาณ 50 หรือ 62%[ 8] [ 9] [ 10] หลังจากเวลาสองปีความมีประสิทธิภาพจะลดลงเหลือไม่ถึง 50%[ 8] แต่ทั้งนี้หากกลุ่มประชากรใดก็ตามมีสัดส่วนของผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคจำนวนสูง ประชากรในกลุ่มดังกล่าวที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคก็จะได้รับประโยชน์จากภูมิคุ้มกันหมู่ [ 8]
องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำให้ใช้มาตรการขององค์การฯ ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ สำหรับกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงในการติดโรคสูง [ 8] โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดรับประทานตามขนาดที่กำหนดจำนวนสองหรือสามครั้ง[ 8] ระยะเวลาป้องกันในวัยผู้ใหญ่คือสองปี และในเด็กวัย 2–5 ขวบที่หกเดือน[ 8] วัคซีนแบบฉีดหนึ่งโดสมีให้บริการในพื้นที่ที่พบอหิวาตกโรคบ่อย[ 11] [ 12] [ 13] ใน ค.ศ. 2010 วัคซีนแบบฉีดซึ่งมีจำนวนน้อยกว่านั้นมีอยู่ในพื้นที่บางแห่งของโลกเท่านั้น[ 8] [ 9]
โดยทั่วไปวัคซีนชนิดรับประทานทั้งสองประเภทนั้นมีความปลอดภัย[ 8] แต่อาจมีอาการปวดท้องหรือการการท้องร่วงเกิดขึ้นได้[ 8] วัคซีนนี้ปลอดภัยสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง [ 8] วัคซีนเหล่านี้ได้รับได้รับอนุมัติให้ใช้ป้องกันโรคในกว่า 60 ประเทศ[ 8] และมีการใช้ในประเทศที่มักเกิดโรคเป็นประจำ ซึ่งมีความคุ้มค่าของค่ารักษา[ 8]
วัคซีนตัวแรกที่ใช้ในการป้องกันอหิวาตกโรคนั้นถูกผลิตขึ้นเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18[ 14] และเป็นวัคซีนที่มีการใช้อย่างแพร่หลายตัวแรกที่ถูกผลิตขึ้นในห้องทดลอง[ 14] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้มีการเปิดตัววัคซีนชนิดรับประทานเป็นครั้งแรก[ 8] วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[ 15]
อ้างอิง
↑ "Summary for ARTG Entry:94483 Dukoral oral inactivated cholera vaccine liquid vial and buffer granules sachet" . Therapeutic Goods Administration (TGA). สืบค้นเมื่อ 30 July 2020 .[ลิงก์เสีย ]
↑ "Dukoral Product information" . Health Canada . สืบค้นเมื่อ 30 July 2020 .
↑ "Eukoral EPAR" . European Medicines Agency (EMA). สืบค้นเมื่อ 30 July 2020 .
↑ "Vaxchora EPAR" . European Medicines Agency (EMA) . 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020 .
↑ "Dukoral suspension and effervescent granules for oral suspension, Cholera vaccine (inactivated, oral) - Summary of Product Characteristics (SmPC)" . (emc) . 7 December 2015. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020 .
↑ "Vaxchora- cholera vaccine, live, oral kit" . DailyMed . 24 October 2018. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020 .
↑ "Vaxchora- cholera vaccine, live, oral kit" . DailyMed . สืบค้นเมื่อ 30 July 2020 .
↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 "Cholera vaccines: WHO position paper – August 2017". Relevé Épidémiologique Hebdomadaire . 92 (34): 477–98. August 2017. hdl :10665/258764 . PMID 28845659 .
↑ 9.0 9.1 Graves PM, Deeks JJ, Demicheli V, Jefferson T (August 2010). "Vaccines for preventing cholera: killed whole cell or other subunit vaccines (injected)" . The Cochrane Database of Systematic Reviews (8): CD000974. doi :10.1002/14651858.CD000974.pub2 . PMC 6532721 . PMID 20687062 .
↑ Sinclair D, Abba K, Zaman K, Qadri F, Graves PM (March 2011). "Oral vaccines for preventing cholera" . The Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD008603. doi :10.1002/14651858.CD008603.pub2 . PMC 6532691 . PMID 21412922 .
↑ "Vaxchora (Cholera vaccine, Live, Oral)" (PDF) . U.S. Food and Drug Administration . เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2017. สืบค้นเมื่อ 15 March 2017 .
↑ "Vaxchora approval letter" (PDF) . U.S. Food and Drug Administration (FDA) . 10 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2017-07-22. สืบค้นเมื่อ 2020-07-30 . บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
↑ "Vaxchora" . U.S. Food and Drug Administration (FDA) . 1 September 2019. สืบค้นเมื่อ 28 December 2019 .
↑ 14.0 14.1 Stanberry LR (2009). Vaccines for biodefense and emerging and neglected diseases (1st ed.). Amsterdam: Academic. p. 870. ISBN 9780080919027 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
↑ World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019 . Geneva: World Health Organization. hdl :10665/325771 . WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
การพัฒนา กลุ่ม การจัดการ วัคซีน
เรื่องโต้แย้ง บทความที่สัมพันธ์กัน