วัคซีนป้องกันโรคไอกรน เป็นวัคซีนที่ป้องกันอาการจากการติดเชื้อโรคไอกรน (เช่น ไอเป็นชุดๆ ไอออกเสียงวูป) วัคซีนป้องกันโรคไอกรนมี 2 ประเภท ได้แก่ วัคซีนชนิดมีเซลล์ (whole-cell) และวัคซีนชนิดไม่มีเซลล์(acellular) ประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดมีเซลล์(whole-cell) นั้นป้องกันโรคได้โดยประมาณร้อยละ 78 ส่วนวัคซีนชนิดไม่มีเซลล์ (acellular) นั้นสามารถป้องกันได้ร้อยละ 71-85 ประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งสองชนิดจะลดลงหลังฉีดร้อยละ 2-10 ต่อปี โดยวัคซีนชนิดไม่มีเซลล์นั้นจะมีประสิทธิภาพลดลงเร็วกว่าชนิดที่มีเซลล์ การให้วัคซีนใรหญิงตั้งครรภ์สามารถช่วยป้องกันในทารกได้ มีการคาดการณ์ว่าวัคซีนสามารถป้องกันโรคได้มากกว่า 500,000 คนในปี 2012. [1]
องค์การอนามัยโลก และ ศูนย์ควบคุมป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา แนะนำให้เด็กทุกคนได้รับวัคซีนไอกรน และวัคซีนได้อยู่ในแผนวัคซีนประจำ รวมถึงสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ด้วย ส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้ให้วัคซีน 3 ครั้ง โดยให้ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 สัปดาห์ ในเด็กโตและวัยผู้ใหญ่นั้นสามารถให้ซ้ำได้อีก วัคซีนไอกรนไม่มีวัคซีนเดี่ยว โดยจะพบว่ามีแต่ประเภทที่รวมอยู่กับวัคซีนโรคอื่นเท่านั้น [2]
ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะใช้วัคซีนไอกรนชนิดที่ไม่มีเซลล์ เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อยกว่าชนิดที่มีเซลล์ ซึ่งผู้ที่ได้รับวัคซีนร้อยละ 10 ถึง 50 มีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีดและไข้ร่วมด้วย ผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการไข้ชัก และร้องไห้ต่อเนื่องในทารก พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ส่วนวัคซีนที่ไม่มีเซลล์จะมีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง เช่น ต่ำแหน่งฉีดบวมสั้นกว่าชนิดที่มีเซลล์ ทั้งสองชนิดไม่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเกิดความผิดปกติของระบบประสาท วัคซีนไอกรนทั้งสองชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่มีเซลล์ เด็กยิ่งอายุน้อยจะเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าเด็กโต สำหรับวัคซีนชนิดมีเซลล์ไม่ควรใช้ในเด็กที่อายุมากกว่า 6 ปี [2]
วัคซีนไอกรนถูกพัฒนาอยู่ขึ้นในปี 1926 (พ.ศ. 2469) โดยวัคซีนนี้จัดอยู่ในบันทึกยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก วัคซีนไอกรนซึ่งเป็นรวมกับวัคซีนชนิดอื่น (บาดทะยัก โปลิโอ และ Hemophilus influenza B) ราคาฉีดครั้งละ 15.41 เหรียญสหรัฐในปี 2014 [3]
อ้างอิง
|
---|
การพัฒนา | |
---|
กลุ่ม | |
---|
การจัดการ | |
---|
วัคซีน | |
---|
เรื่องโต้แย้ง | |
---|
บทความที่สัมพันธ์กัน | |
---|
|