วัคซีนซับยูนิต (อังกฤษ: subunit vaccine) เป็นวัคซีนที่ทำด้วยส่วนประกอบของเชื้อโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนอง (คือมีสภาพเป็นแอนติเจนได้)[1][2]
วัคซีนซับยูนิตไม่ได้ใช้เชื้อโรคทั้งตัวซึ่งไม่เหมือนกับวัคซีนเชื้อลดฤทธิ์ (attenuated vaccine) หรือวัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine) แต่ใช้เพียงส่วนของเชื้อโรคซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนอง ส่วนต่าง ๆ เช่น โปรตีน พอลิแซ็กคาไรด์[1][2]
หรือเพปไทด์
เพราะวัคซีนไม่มีส่วนที่ "ยังมีชีวิต" อยู่ของเชื้อโรค จึงไม่เสี่ยงก่อโรค ปลอดภัย และคงสภาพได้ดีกว่าวัคซีนที่ใช้เชื้อโรคทั้งตัว (เช่น วัคซีนเชื้อลดฤทธิ์และวัคซีนเชื้อตาย)[1]
ข้อดีอื่น ๆ รวมทั้งเป็นเทคโนโลยีที่ได้ใช้มานานแล้วและเหมาะใช้กับบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง[2]
ข้อเสียรวมทั้งการผลิตซับซ้อนกว่าวัคซีนบางชนิด (เช่น วัคซีนอาร์เอ็นเอ) อาจต้องเติมยาเสริม (adjuvant) หรืออาจจะต้องให้วัคซีนบูสต์ และต้องหาส่วนประกอบผสมจากเชื้อโรคเพื่อให้ก่อภูมิคุ้มกันได้ดีสุด[2]
กลไก
วัคซีนซับยูนิตมีส่วนประกอบจากเชื้อโรค เช่น โปรตีนหรือพอลิแซ็กคาไรด์ โดยต้องเลือกส่วนประกอบผสมมาอย่างดีเพื่อก่อภูมิคุ้มกันที่ดีและสามารถกันโรคได้
เพราะภูมิคุ้มกันมีปฏิสัมพันธ์อย่างจำกัดกับเชื้อโรค โอกาสเสี่ยงผลข้างเคียงจึงน้อยกว่า[2]
วัคซีนที่มีประสิทธิภาพย่อมก่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันจำโรคได้ ดังนั้น เมื่อติดโรคในอนาคต ก็จะทำให้ตอบสนองต่อเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว[1]
ข้อเสียอย่างหนึ่งก็คือส่วนประกอบของเชื้อโรคที่มีสภาพเป็นแอนติเจนอาจไม่มีรูปแบบทางโมเลกุลของเชื้อโรค (pathogen-associated molecular pattern) ซึ่งสามัญในเชื้อโรคกลุ่มหนึ่ง
เป็นโครงสร้างที่เซลล์ภูมิคุ้มกันจัดว่าเป็นสัญญาณอันตราย ดังนั้น เมื่อไม่มี การตอบสนองของภูมิคุ้มกันจึงอ่อนกว่า
ข้อเสียอีกอย่างก็คือ แอนติเจนเหล่านี้ไม่ทำให้เซลล์ติดเชื้อ ดังนั้น ภูมิคุ้มกันที่ก่อจึงอาจเกิดเพียงในน้ำเหลือง คือก่อแอนติบอดี แต่ไม่ก่อการตอบสนองของเซลล์ ภูมิจึงอาจอ่อนกว่าที่วัคซีนชนิดอื่น ๆ ทำให้เกิด
เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน จึงอาจต้องเติมยาเสริม (adjuvant) หรือต้องให้วัคซีนบูสต์ (booster dose)[2]
ชนิด
ข้อดี
ข้อเสีย
เชิงอรรถและอ้างอิง
|
---|
การพัฒนา | |
---|
กลุ่ม | |
---|
การจัดการ | |
---|
วัคซีน | |
---|
เรื่องโต้แย้ง | |
---|
บทความที่สัมพันธ์กัน | |
---|
|