ลูกบอลไทม์สแควร์

ลูกบอลไทม์สแควร์
ประเภทวันสิ้นปี
วันที่31 ธันวาคม – 1 มกราคม
เริ่มต้น18:00 น. EST
สิ้นสุด24:00 น.
ความถี่ทุกปี
ที่ตั้งไทม์สแควร์, นครนิวยอร์ก
ประเดิมค.ศ.1907
ผู้จัดงานAdolph Ochs
จัดโดยTimes Square Alliance
Countdown Entertainment
เว็บไซต์timessquareball.net
ลูกบอลไทม์สแควร์ปัจจุบันใน ค.ศ. 2012

ลูกบอลไทม์สแควร์ (อังกฤษ: Times Square Ball) เป็นลูกบอลเวลา (time ball) ซึ่งตั้งอยู่ในไทม์สแควร์ นครนิวยอร์ก บนหลังคาของวันไทม์สแควร์ ลูกบอลนี้เป็นส่วนขึ้นชื่อของการเฉลิมฉลองวันสิ้นปีในไทม์สแควร์ที่รู้จักกันในภาษาปากว่า การหย่อนลูกบอล (ball drop) ซึงลูกบอลเคลื่อนที่ลง 43 เมตรใน 60 วินาทีตามเสาธงซึ่งได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเริ่มตั้งแต่ 23:59 น. ET และหยุดเมื่อเที่ยงคืนเพื่อให้สัญญาณการเริ่มต้นปีใหม่ ในปีหลัง ๆ เทศกาลนี้จะมีงานบันเทิงสดซึ่งรวมการแสดงของนักดนตรีนำมาก่อน

อดอลฟ์ โอชส์ (Adolph Ochs) เจ้าของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ เป็นผู้จัดงานครั้งแรก จากเดิมที่เป็นชุดการแสดงดอกไม้ไฟวันสิ้นปีที่เขาจัดที่อาคารเดียวกันเพื่อส่งเสริมสถานะเป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของหนังสือพิมพ์ ขณะที่อาร์ตคราฟต์ สเตราส์ (Artkraft Strauss) เป็นผู้ออกแบบลูกบอล มีการหย่อนลูกบอลครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1907 เพื่อต้อนรับ ค.ศ. 1908 และมีการจัดทุกปีนับแต่นั้น ยกเว้นใน ค.ศ. 1942 และ 1943 เนื่องจากไฟฟ้าดับยามสงคราม

การออกแบบของลูกบอลยังมีการปรับตามเวลาเพื่อสะท้อนการพัฒนาของเทคโนโลยีแสง การออกแบบเดิมทำจากไม้และเหล็กและให้แสงสว่างด้วยหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา 100 หลอด ขณะที่แบบปัจจุบันเป็นระบบการให้แสงแอลอีดีด้วยคอมพิวเตอร์และผิวชั้นนอกประกอบด้วยแผงผลึกทรงสามเหลี่ยม นับแต่ ค.ศ. 2009 ลูกบอลปัจจุบันมีการแสดงบนยอดตึกตลอดปี ส่วนรุ่นดั้งเดิมที่เล็กกว่าของลูกบอลปัจจุบันซึ่งใช้ใน ค.ศ. 2008 นั้นมีการจัดแสดงที่ศูนย์ผู้เยี่ยมชมของไทม์สแควร์

เหตุการณ์นี้จัดโดยไทม์สแควร์อะไลแอนซ์และเคาต์ดาวน์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งมีเจฟฟ์ สเตราส์เป็นผู้นำ[1] และจัดเป็นการเฉลิมฉลองปีใหม่ที่ขึ้นชื่อที่สุดแห่งหนึ่งทั่วโลก มีผู้ชมเข้าร่วมอย่างน้อย 1 ล้านคนทุกปี และมีการแพร่ภาพโทรทัศน์ทั่วประเทศเป็นส่วนหนึ่งของรายการพิเศษวันสิ้นปีซึ่งมีหลายเครือข่ายและช่องเคเบิลแพร่ภาพ[2]

อ้างอิง

  1. "Nearly 800 Hard At Work On Times Square New Year's Eve Celebration". CBS New York. สืบค้นเมื่อ December 31, 2013.
  2. "NYC ball drop goes 'green' on 100th anniversary". CNN. December 31, 2007. สืบค้นเมื่อ December 2, 2012.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!