ลิ้นหัวใจ (อังกฤษ: heart valve) มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ[1] โดยปกติแล้วลิ้นหัวใจจะควบคุมการไหลของเลือดให้ไปได้ในทิศทางเดียว คือไม่มีการไหลย้อนกลับของเลือดมายังทิศทางเดิม ลิ้นหัวใจแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ atrioventricular valves (AV valves) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนกับหัวใจห้องล่าง และ semilunar valves (SL valves) อยู่บริเวณหลอดเลือดอาร์เตอรีที่ออกจากหัวใจ
atrioventricular valves
AV valves เป็นลิ้นหัวใจที่มีขนาดเล็ก มีหน้าที่ป้องกันกันไหลย้อนกลับของเลือดจากหัวใจห้องล่างเข้าสู่หัวใจห้องบนระหว่างที่หัวใจเกิดการบีบตัว ลิ้นหัวใจนี้ฝังตัวอยู่ในผนังหัวใจห้องล่างโดยอาศัย chordae tendineae เป็นตัวยืด เพื่อป้องกันลิ้นหัวใจไม่ให้เกิดการกลับหัว (inverting) โดยchordae tendineae จะยืดอยู่กับกล้ามเนื้อที่มีชื่อว่า papillary muscles และเรียก chordae tendineae รวมกับ papillary muscles ว่า subvalvular apparatus ซึ่งการปิดของ AV valves จะทำให้ได้ยินเสียงหัวใจเต้นเป็นเสียงหัวใจเต้นครั้งที่ 1 (first heart sound, S1)
AV valves แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
Bicuspid (Mitral) valve
Mitral valve หรือ bicuspid valve เป็นลิ้นหัวใจที่มี 2 แฉก มีหน้าที่ให้เลือดไหลผ่านจากหัวใจห้องบนซ้ายเข้าสู่หัวใจห้องล่างซ้าย
Tricuspid valve
Tricuspid valve เป็นลิ้นหัวใจที่มี 3 แฉก อยู่บริเวณด้านขวาของหัวใจระหว่างหัวใจห้องบนขวาและหัวใจห้องล่างขวา
Semilunar valves
semilunar valves เป็นลิ้นหัวใจที่พบได้ในบริเวณฐานของ pulmonary trunk หรือหลอดเลือดพัลโมนารี อาร์เทอรี (pulmonary artery) และหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (aorta) หลอดเลือดอาร์เทอรีทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการนำเลือดออกจากหัวใจห้องล่าง โดยลิ้นหัวใจเซมิลูนาร์จะยอมให้เลือดไหลผ่านเข้าสู่หลอดเลือดอาร์เทอรีและจะป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจห้องล่าง ซึ่งลิ้นหัวใจชนิดนี้จะไม่พบ chordae tendineae และแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
Aortic semilunar valve
ลิ้นหัวใจเอออร์ติคเป็นลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา
Pulmonary semilunar valve
ลิ้นหัวใจพัลโมนารีเป็นลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างขวาและหลอดเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรี
อ้างอิง