ร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย (อังกฤษ: Research Works Act) รหัส 102 เอช.อาร์. 3699 (102 H.R. 3699) เป็นร่างรัฐบัญญัติซึ่งเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ในคราวประชุมรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาครั้งที่ 112 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปี 2554 ผู้เสนอคือ ดาร์เรลล์ อิสสา (R-CA) ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้ร่วมสนับสนุนคือ คาร์โรไลน์ บี. มาโลนีย์ (D-NY)[1] ร่างรัฐบัญญัติมีบทบัญญัติห้ามออกคำสั่งให้เข้าได้อย่างเสรีซึ่งงานวิจัยที่รัฐบาลกลางให้ทุน[2] ร่างรัฐบัญญัตินี้ยังจะมีผลเป็นการคว่ำ[3] นโยบายของสถาบันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ[4] ซึ่งบังคับให้งานวิจัยที่ใช้เงินทุนจากผู้เสียภาษีสามารถเข้าถึงได้ทางออนไลน์โดยปราศจากค่าใช้จ่าย[5] หากออกกฎหมายนี้แล้ว ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะถูกจำกัดอย่างมาก[6] อนึ่ง มีการร่างรัฐบัญญัติทำนองเดียวกันนี้แล้วหลายครั้งด้วยกัน ทั้งในปี 2551[7] และ 2552[8] แต่ยังมิเคยตราเป็นกฎหมายสักฉบับ[9]
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 แอ็ลเซอเฟียร์ สำนักพิมพ์รายใหญ่ ประกาศเลิกสนับสนุนร่างรัฐบัญญัตินี้[10] วันเดียวกันนั้น อิสสาและมาโลนีย์ออกแถลงการณ์ว่า จะไม่ผลักดันกระบวนการนิติบัญญัติเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับนี้อีก[11]
การยอมรับ
ร่างรัฐบัญญัติได้รับการสนับสนุนจาก Association of American Publishers (AAP)[12] และสหพันธ์ลิขสิทธิ์[13]
ฝ่ายตรงข้ามได้เน้นย้ำผลกระทบต่อ สภาพพร้อมใช้งานสาธารณะขอผลงานวิจัยด้านชีวการแพทย์ เช่นที่ได้รับทุนจากเงินช่วยเหลือของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ โดยบอกว่าภายใต้ร่างรัฐบัญญัตินี้ "ผู้เสียภาษีซึ่งเป็นผู้ออกเงินในการวิจัยจะต้องจ่ายเงินอีกครั้งเพื่ออ่านผลของการวิจัย"[14] ไมค์ เทย์เลอร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอลกล่าวว่าการปิดกั้นของการเข้าถึงงานวิจัยวิทยาศาสตร์อาจทำให้เกิด "การตายที่หลีกเลี่ยงได้ ในประเทศกำลังพัฒนา" และ "ผลเสียต่อวิทยาศาสตร์อย่างไม่สามารถประเมินค่าได้" นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่าผู้แทนทั้งสอง ได้แก่ อิสสา และ มาโลนีย์ นั้นมีแรงจูงใจจากเงินบริจาคที่ได้รับจากแอ็ลเซอเฟียร์ [15]
คำร้องทุกข์ออนไลน์ – ค่าความรู้– ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากนักคณิตศาสตร์และผู้ครอบครองเหรียญฟิลด์สชาวอังกฤษที่ชื่อว่า ทิโมธี โกเวอส์ เพื่อเพิ่มความตระหนักต่อร่างรัฐบัญญัติ เพื่อเรียกรืองให้ลดราคาของวารสารทางวิชาการ และเพื่อส่งเสริมการเพิ่มจำนวนของการเข้าถึงข้อมูลอย่างเสรี ได้รับการลงนามจากนักวิชาการมากกว่า 10,000 คน[16] ผู้ลงนามสัญญาว่าจะถอนการสนับสนุนต่อวารสารแอ็ลเซอเฟียร์ ไม่ว่าจะเป็นทางการช่วยแก้ไข ทบทวน หรือส่งบทความ "จนกว่าทางบริษัทจะเปลี่ยนวิธีบริหาร" ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 แอ็ลเซอเฟียร์ได้ประกาศยกเลิกสนับสนุนร่างรัฐบัญญัติ โดยอ้างถึงความกังวลจากผู้ทบทวน ผู้เขียน และผู้แก้ไขวารสาร[17] ขณะที่ผู้ร่วมลงชื่อในการคว่ำบาตรเฉลิมฉลองการถอนตัวของแอ็ลเซอเฟียร์จากร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย[18] แอ็ลเซอเฟียร์เองได้ปฏิเสธว่าการกระทำนี้เป็นผลมาจากการคว่ำบาตร และอธิบายว่าพวกเขาทำไปเพราะได้รับคำร้องขอจากนักวิจัยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการคว่ำบาตรครั้งนี้[19]
อ้างอิง
- ↑ H.R. 3699
- ↑ Joseph, Heather (January 6, 2012).
- ↑ Trying to roll back the clock on Open Access เก็บถาวร 2012-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน statement by the American Library Association that "vehemently oppose[e]d the bill".
- ↑ "NIH Public Access Policy Details". nih.gov.
- ↑ Dobbs, David (January 6, 2012).
- ↑ Piwowar, Heather.
- ↑ Peter Suber (October 2, 2008).
- ↑ Peter Suber (March 2, 2009).
- ↑ Rosen, Rebecca J. (January 5, 2012).
- ↑ Elsevier withdraws support for the Research Works Act
- ↑ Howard, Jennifer (February 27, 2012).
- ↑ Sporkin, Andi (December 23, 2011).
- ↑ "Statement from Copyright Alliance Executive Director Sandra Aistars, Re: Introduction of H.R. 3699, the Research Works Act". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
- ↑ Eisen, Michael (January 10, 2012).
- ↑ Taylor, Mike (16 January 2011).
- ↑ "The Cost of Knowledge".
- ↑ "Elsevier withdraws support for the Research Works Act".
- ↑ Doctorow, Cory (28 February 2012).
- ↑ Howard, Jennifer (27 February 2012).