โรเบิร์ต อเลฮันโดร แซทโควสกี (Robert Alejandro Szatkowski)[ 9] [ 4] เกิด 18 ธันวาคม ค.ศ. 1970[ 9] [ 4] เป็นนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันที่รู้จักกันดีในนาม ร็อบ แวน แดม (Rob Van Dam) หรือเรียกกันย่อๆว่า อาร์วีดี (RVD) ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในสมาคม ECW , WWE และ TNA ปัจจุบันงานหลักๆ ของเขาคือการทำรายการโทรทัศน์ที่ชื่อว่า อาร์วีดีทีวี ซึ่งเป็นรายการที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวของแวน แดม ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว[ 10]
ประวัติ
ใน ECW ยุคดั้งเดิม เขาเป็นแชมป์แท็กทีม ECW 2 สมัย คู่กับซาบู และเป็นแชมป์ ECW Television ที่ครองเข็มขัดได้ยาวนานที่สุดด้วย[ 11] ส่วนใน WWE เป็นแชมป์โลก 2 สมัย (แชมป์ WWE และแชมป์ ECW ), แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล 6 สมัย, แชมป์ฮาร์ดคอร์ WWE 4 สมัย, แชมป์ยุโรป WWE , แชมป์โลกแท็กทีม 2 สมัย คู่กับเคน และบูเกอร์ ที ตามลำดับ และแชมป์แท็กทีม WWE คู่กับเรย์ มิสเตริโอ [ 12] เขาเป็นแชมป์ ECW คนแรกภายใต้สังกัด ECW ยุคใหม่ในนามของ WWE[ 13] และเป็นคนแรกและคนเดียวที่ครองแชมป์ WWE และแชมป์ ECW ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นผู้ชนะ Money In The Bank ประจำปี 2006 อีกด้วย
ร็อบ แวน แดม ได้เข้าร่วมปล้ำมันนีอินเดอะแบงก์แลดเดอร์แมตช์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 22 และสามารถคว้ากระเป๋ามาครองได้สำเร็จ[ 14] ต่อมาได้ขอใช้สิทธิ์ของกระเป๋าชิงแชมป์ WWE กับ จอห์น ซีนา ในอีซีดับเบิลยู วันไนท์สแตนด์ (2006) และก็สามารถคว้าแชมป์ WWE มาครองได้สำเร็จ พร้อมกับการเปิดตัวรายการ ECW ในเครือ WWE พอล เฮย์แมน จึงมอบแชมป์ ECW ให้กับแวน แดมไปครองอีก 1 เส้น ทำให้แวน แดมได้ครองทั้งแชมป์ WWE และแชมป์ ECW พร้อมกันทั้ง 2 เส้น แต่ต่อมาก็เสียแชมป์ WWE ให้กับเอดจ์ และเสียแชมป์ ECW ให้กับบิ๊กโชว์ เนื่องจากแวน แดมถูกตำรวจจับกุมข้อหามีกัญชาไว้ในครอบครอง[ 15]
แวน แดมได้เจอกับแรนดี ออร์ตัน ในวันไนท์สแตนด์ (2007) และเอาชนะได้ในแมตช์จับใส่เตียงพยาบาล ต่อมาได้หมดสัญญาการปล้ำใน WWE และไม่มีการต่อสัญญาแต่อย่างใด[ 16] ในรอว์ฉลองครบรอบ 15 ปี ร็อบ แวน แดมได้กลับมาและเอาชนะซานติโน มาเรลลา ไปได้ เป็นการกลับมาของแวน แดม แบบชั่วคราว[ 17]
แวน แดมทำเซอไพรส์ให้กับแฟนๆ โดยการกลับมาปล้ำในรอยัลรัมเบิล (2009) หลังจากที่เลิกปล้ำให้กับ WWE ไปเป็นเวลา 2 ปี โดยปล้ำในแมตช์รอยัลรัมเบิล ซึ่งออกมาปล้ำเป็นลำดับที่ 25 แต่ก็ไม่ชนะในแมตช์นี้[ 18] และไม่ได้มีการเซ็นสัญญาเพื่อกลับมาปล้ำให้กับ WWE แต่อย่างใด ต่อมาก็ได้สังกัดอยู่ TNA
ใน TNA Impact! (19 เมษายน 2010) ร็อบ แวน แดมสามารถคว้าแชมป์โลก TNA มาได้สำเร็จจากการเอาชนะเอเจ สไตส์ ในศึก TNA Impact! (10 สิงหาคม 2010) ได้ถูกอาบิสทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัส ทำให้ต้องหยุดพักการปล้ำเป็นระยะและต้องสละแชมป์ไป[ 19] [ 20]
ร็อบ แวน แดม กลับมาในสมาคม WWE อีกครั้ง[ 21] ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2013) ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2013 โดยมาเป็นผู้ท้าชิงกระเป๋าสิทธิ์ชิงแชมป์WWE แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้ชนะ[ 22] ในรอว์ 15 กรกฎาคม 2013 ได้เจอกับ คริส เจอริโค สุดท้ายร็อบ แวน แดมก็เป็นฝ่ายเอาชนะมาได้ ถือว่าเป็นเมนต์แรกในรอบ 6 ปี ของ ร็อบ แวน แดม ที่กลับมา WWE[ 23]
ในรอว์ 26 สิงหาคม 2013 แบรด แมดด็อกซ์ ประกาศว่าถ้าแวน แดมชนะอัลเบร์โต เดล รีโอ เจ้าของแชมป์โลกเฮฟวี่เวท จะได้สิทธิ์ชิงแชมป์ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2013) สุดท้ายแวน แดมเป็นฝ่ายชนะ และได้สิทธิ์ชิงแชมป์กับเดล รีโอ จากการช่วยเหลือของริคาร์โด โรดรีเกซ โดยขึ้นไปบนโต๊ะผู้บรรยายแล้วทำท่า RVD จนทำให้เดล รีโอ เสียสมาธิ[ 24] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ แวน แดมไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้[ 25] ในแบทเทิลกราวด์ แวน แดมได้สิทธิ์ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับเดล รีโอ อีกครั้ง ในแมตช์ฮาร์ดคอร์ สุดท้าย แวน แดมไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้ สัญญาของแวน แดม ที่ทำไว้กับ WWE นั้นมีการจำกัดจำนวนวันที่จะให้เขาทำงานในแต่ละปีเอาไว้ด้วย และ WWE ก็ใช้งาน แวน แดมไปจนเกือบครบจำนวนแล้ว ทำให้จะต้องมีการเขียนบทให้ แวน แดม ต้องหายไปสักระยะ
ในรอว์ 7 เมษายน 2014 ร็อบ แวน แดม ได้กลับมาใน WWE อีกครั้ง โดยเอาชนะ แดเมียน แซนดาว ไปได้ ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2014) แวน แดม ได้เจอกับ ซีซาโร และแจ็ก สแวกเกอร์ ในแมตช์ 3 เส้า แบบคัดออก สุดท้ายซีซาโร เป็นฝ่ายชนะไป ในรอว์ 19 พฤษภาคม ได้มีการจัดการแข่งขันในแมตช์ Beat the Clock Challenge ผู้ที่ชนะจะได้ชิงแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลกับแบด นิวส์ บาร์เร็ตต์ ในคู่แรก บิ๊กอี เอาชนะไรแบ็ก ด้วยเวลา 5:02 ในคู่ที่สอง แวน แดม เอาชนะ อัลเบร์โต เดล รีโอ ด้วยเวลา 4:15 และคู่สุดท้าย ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์ เจอกับมาร์ก เฮนรี แต่ทั้งคู่ต่างเอาชนะเวลาที่ แวน แดมทำไว้ไม่สำเร็จ ทำให้ แวน แดม ได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 และขณะที่ แวน แดม กำลังฉลองชัยชนะการแข่งขัน Beat the Clock อยู่นั้น บาร์เร็ตต์ได้ออกมาลอบทำร้าย แวน แดม ก่อนบอกข่าวร้ายกับ แวน แดม ว่าจะไม่มีทางที่จะชนะเขาได้ ในเพย์แบ็ค แวน แดม ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้ ในเดือนสิงหาคม 2014 ร็อบ แวน แดม ได้หมดสัญญากับ WWE และก็ไม่น่าจะมีการต่อสัญญาฉบับใหม่ด้วย โดยแมตช์สุดท้ายได้ปล้ำแพ้ให้กับเซท รอลลินส์ ในสแมคดาวน์ 29 สิงหาคม
ในปี 2021 ร็อบ แวน แดมได้รับการเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศ WWE Hall of Fame
ผลงานความสำเร็จ
Five Star Frog Splash
แชมป์ WWE และแชมป์ ECW
แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล
หมายเหตุ
↑ Following his first WWE (Undisputed) Championship win, the contest was immediately restarted. Because of this, Van Dam's reign is not officially recognized by WWE.
↑ Van Dam's reign is not listed on WWE's European Championship history page. However, it is acknowledged on his alumni page, and is listed in WWE's official encyclopedia.
อ้างอิง
↑ Hornbaker, Tim (2012). Legends of Pro Wrestling: 150 Years of Headlocks, Body Slams, and Piledrivers (ภาษาอังกฤษ). Skyhorse Publishing Inc. p. 538. ISBN 978-1-61321-075-8 . สืบค้นเมื่อ November 22, 2019 .
↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "Rob Van Dam Bio" . SLAM! Sports. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24 .[ลิงก์เสีย ]
↑ Baines, Tim (April 7, 2002). "The Sheik kept Van Dam sharp" . SLAM! Sports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ June 30, 2015. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012 .
↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 "Rob Van Dam « Wrestlers Database « CAGEMATCH - The Internet Wrestling Database" . www.cagematch.net .
↑ "Former WWE Champion Reveals He Worked For WWE As A Jobber" . WrestleTalk . December 24, 2020. สืบค้นเมื่อ December 28, 2020 .
↑ 6.0 6.1 6.2 "RVD - WWE Profile" . WWE . สืบค้นเมื่อ February 7, 2019 .
↑ Powell, Jason (November 24, 2002). "5 Yrs Ago: ECW Arena - Dreamer, Tazz, Storm, Snow, Lynn, Dudleys" . Pro Wrestling Torch . สืบค้นเมื่อ December 21, 2010 .
↑ "TNA Wrestling profile" . Total Nonstop Action Wrestling . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 25, 2013. สืบค้นเมื่อ March 10, 2010 .
↑ 9.0 9.1 "OWOW profile" . Online World Of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28 .
↑ 10.0 10.1 Wz Bill Behrens (March 20, 2009). "Rob Van Dam Wins A World Title In Paris, France" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-03-22. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18 .
↑ "RVD's ECW Career (1998)" . Accelerator's Wrestling Rollercoaster.
↑ 12.0 12.1 "WWE Tag Team Championship history" .
↑ ECW on Sci-Fi Network Results - June 27, 2006
↑ 14.0 14.1 "RVD wins the "Money in the Bank" Ladder Match" . WWE. 2006-02-04.
↑ "WWE suspending Rob Van Dam for 30 days" . WWE. สืบค้นเมื่อ 2006-07-04 .
↑ "RVD gets concussed" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-31. สืบค้นเมื่อ 2013-09-22 .
↑ Clayton, Corey (2007-12-10). "Rhodes and Holly golden on Raw's 15th Anniversary" . WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09 .
↑ "2009 Royal Rumble Statistics and Eliminations" . WWE. 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2011-01-19 .
↑ 19.0 19.1 Wilkenfeld, Daniel (2010-04-19). "Wilkenfeld's TNA Impact Report 4/19: Ongoing "virtual time" coverage of Spike TV broadcast--Whole F'n New Champion" . Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20 .
↑ 20.0 20.1 Caldwell, James (2012-10-14). "Caldwell's TNA Bound for Glory PPV results 10/14: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Aries vs. Hardy, Storm vs. Roode" . Pro Wrestling Torch . สืบค้นเมื่อ 2012-10-14 .
↑ "CALDWELL'S WWE PAYBACK PPV RESULTS 6/16 (Hour 1): Axel captures IC Title in opening match, A.J. captures Divas Title, RVD returning to WWE" .
↑ "CALDWELL'S WWE MITB PPV RESULTS 7/14 (Hour 3): Ongoing "virtual-time" coverage of live PPV - Cena vs. Henry, MITB All-Stars" .
↑ "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/15 (Hour 3): Punk-Heyman epic promo exchange, Jericho vs. RVD, Cena picks his Summerslam PPV opponent" .
↑ "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 8/26 (Hour 2): Van Dam vs. Del Rio, A.J. "shoots" on Total Divas, more" .
↑ "CALDWELL'S WWE NOC PPV RESULTS 9/15 (Hour 1): Del Rio vs. RVD World Title match, plus IC & Divas Title matches, Hunter-Heyman opens the PPV" .
↑ https://www.cagematch.net//?id=1&nr=182568
↑ Coleman, Jamie. "Random Rampage Thoughts # 5 : The Story Behind the New AWR Championship Belt!" . American Wrestling Rampage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ March 10, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-03 .
↑ "American Wrestling Rampage Title Histories" . American Wrestling Rampage . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-04-27. สืบค้นเมื่อ 2011-08-26 .
↑ "ECW World Television Championship history" . Wrestling-titles.com.
↑ "ECW World Tag Team Championship history" . Wrestling-titles.com.
↑ "OTT No Limits Championship « Titles Database « CAGEMATCH - The Internet Wrestling Database" . Cagematch.net . สืบค้นเมื่อ 2017-01-16 .
↑ http://www.cagematch.net/?id=1&nr=159838
↑ Royal Duncan & Gary Will (2000). Wrestling Title Histories (4th ed.). Archeus Communications. ISBN 0-9698161-5-4 .
↑ "Pro Wrestling Illustrated Award Winners Comeback of the Year" . Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-06-16. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24 .
↑ "PWI Achievement Awards: Comeback" . Pro Wrestling Illustrated . 2011-01-06. สืบค้นเมื่อ 2011-01-07 .
↑ "Pro Wrestling Illustrated Award Winners Most Popular Wrestler of the Year" . Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-06-16. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24 .
↑ "Pro Wrestling Illustrated Top 500 - 2002" . Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2008-09-11 .
↑ "WWE World Heavyweight Championship history" .
↑ "ECW Championship history" . Wrestling-titles.com.
↑ "WWE Intercontinental Championship history" .
↑ "Rob Van Dam profile" . World Wrestling Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ 2010-09-02 .
↑ "WWE Hardcore Championship history" . Wrestling-titles.com.
↑ "World Tag Team Championship history" .
↑ "Rob Van Dam Wins WSW Championship" . Wrestlezone. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24 .
เชิงอรรถรส
แหล่งข้อมูลอื่น
ลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง
ยุค 2010
2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019
แกรนด์สแลม แชมเปียนชิป
ทริปเปิลคราวน์ แชมเปียนชิป
ยุค1960 ยุค1970 ยุค1980 ยุค1990 ยุค2000 ยุค2010 ยุค2020
ยุค1970 ยุค1980 ยุค1990 ยุค2000 ยุค2010 ยุค2020
ยุคปี 1970 ยุคปี 1980 ยุคปี 1990 ยุคปี 2000 ยุคปี 2010