ราโมนส์ (อัลบั้ม)

ราโมนส์
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด23 เมษายน ค.ศ. 1976
บันทึกเสียงกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976
ที่พลาซาซาวด์, เรดิโอซิตีมิวสิกฮอล นิวยอร์กซิตี กรุงนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงพังก์ร็อก
ความยาว29.04
ค่ายเพลง
โปรดิวเซอร์เคร็ก ลีออน, ทอมมี ราโมนส์
ลำดับอัลบั้มของราโมนส์
ราโมนส์
(1976)
ลีฟโฮม
(1977)ลีฟโฮม1977

ราโมนส์ (อังกฤษ: Ramones) เป็นสตูดิโออัลบั้มเปิดตัวของวงพังก์ร็อกสัญชาติอเมริกา ราโมนส์ เปิดตัวในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1976 ผ่านทางค่ายไซร์ จุดเริ่มต้นของอัลบั้มนี้เริ่มขึ้นจาก ลิซา โรบินสัน บรรณาธิการของนิตยสารฮิตพาราเดอร์ ได้ชมการแสดงของราโมนส์ในนิวยอร์ก โรมบินสันจึงได้เขียนบทความเกี่ยวกับพวกเขาและได้ติดต่อกับแดนนี ฟีลด์ส เพื่อให้เขามาเป็นผู้จัดการวง ฟีลด์ส ก็ได้ตอบตกลงและโน้มน้าวเคร็ก ลีออน ให้มาเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับวง ราโมนส์ได้เริ่มทำการบันทึกเสียงในรูปแบบของเดโม เพื่อหาค่ายเพลงในอนาคต ลีออน ได้ชักชวนเซย์มัวร์ สไตน์ ประธานค่ายไซร์ มารับชมการแสดงของพวกเขา จนในที่สุดในเวลาต่อมาเขาก็ยินดีเซนต์สัญญาบันทึกเสียงผ่านทางค่าย ราโมนส์ ได้เริ่มบันทึกเสียงในเดือนมกราคม ค.ศ. 1976 โดยมีเวลาให้เพียง 7 วัน กับเงินสดสนับสนุน $6,400 เพื่อใช้ในการบันทึกเสียงครั้งนี้ ราโมนส์ได้ใช้เทคนิคเสียงที่คล้ายคลึงกับเดอะบีเทิลส์ บวกกับเทคนิคขั้นสูงที่คิดค้นโดยลีออน

หน้าปกหน้าอัลบั้ม เป็นรูปสมาชิกวงทั้งสี่คนยืนพิงผนังอิฐในนิวยอร์ก ซึ่งถูกถ่ายขึ้นโดย โรเบอร์ทา เบย์ลีย์ จากนิตยสารพังก์ ด้วยงบประมาณที่ค่ายเพลงให้สำหรับทำหน้าปกหน้าเพียง 125 ดอลลาร์เท่านั้น แต่มันกลับกลายเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ถูกนำมาเลียนแบบมากที่สุดตลอดกาล[1] ส่วนปกหลังเป็นหัวเข็มขัดรูปนกอินทรี พร้อมกับรายละเอียดต่างๆ

ภายหลังอัลบั้มนี้ได้ถูกจำหน่ายออกไป กลับไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยการไม่ติดอันดับชาร์ตบนๆ จนราโมนส์ได้ใช้การทัวร์คอนเสิร์ต เพื่อกระตุ้นยอดจำหน่าย โดยส่วนมากมักแสดงสดในสหรัฐอเมริกา และก็มีสองครั้งในอังกฤษ

เนื้อหาหลักของอัลบั้มพูดถึง ความรุงแรง สารเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ ความตลก และลัทธินาซี โดยมีซิงเกิลเปิดอัลบั้ม คือ "Blitzkrieg Bop" ที่ถือว่าเป็นเพลงที่ได้รับการจดจำมากที่สุดของวง ซิงเกิลส่วนใหญ่ในอัลบั้มใช้จังหวะที่เร็ว (uptempo) ด้วยจังหวะของหลายเพลงมีอัตราเฉลี่ยที่ 160 บีตส์ต่อนาที และเพลงส่วนใหญ่มักสั้นๆ คือเพียง 1 นาทีครึ่งจนถึง 2 นาทีเท่านั้น โดยซิงเกิล "I Don't Wanna Go Down to the Basement" เป็นซิงเกิลที่ยาวที่สุดของอัลบั้มนี้ (2.35 นาที) ราโมนส์ยังมีการโคเวอร์เพลงของคริส มอนเทซ ในซิงเกิล "Let's Dance"

อัลบั้ม ราโมนส์ ติดอันดับ 111 บนบิลบอร์ด 200 ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จทางพาณิชย์เลย แต่ก็ได้รับคำชมมากมายจากนักวิจารณ์ที่มีชื่อเสียง จนในเวลาต่อมาก็ได้ยกย่องเป็นการบันทึกเสียงที่ทรงอิทธิพลอย่างสูง และได้รับยกย่องอันทรงเกียรติมากมาย ทั้ง การติดท็อปในหัวข้อ "50 การบันทึกเสียงพังก์ที่สำคัญที่สุด" ของนิตยสารสปิน ราโมนส์ ได้กลายเป็นแรงบรรดาลใจให้กับวงดนตรีมากมาย เช่น เซ็กซ์พิสทอลส์, บัซซ์คอกส์ และเดอะแคลช รวมไปถึงวงอื่นๆ อีกมากมาย ราโมนส์ ได้จุดประกายคลื่นพังก์ร็อก ทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ รวมไปถึงมีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวเพลงร็อก ทั้งแนวกรันจ์ และเฮฟวี่เมทัล อัลบั้มได้ติดอันดับ 33 บนหัวข้อ "500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" โดยนิตยสารโรลลิงสโตนส์ ในปี ค.ศ. 2012[2] และได้รับการยืนยันยอดจำหน่ายจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา ในระดับทองคำ ในปี ค.ศ. 2014[3]

รายชื่อเพลง

แผ่นเอ
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ร้องประสานเสียงยาว
1."Blitzkrieg Bop"ทอมมี ราโมน, ดี ดี ราโมนลีห์2:12
2."Beat on the Brat"โจอี ราโมน 2:30
3."Judy Is a Punk"โจอี ราโมนลีห์, ทอมมี1:30
4."I Wanna Be Your Boyfriend"ทอมมี ราโมนลีห์,ฟรีแมน2:24
5."Chain Saw"โจอี ราโมนทอมมี1:55
6."Now I Wanna Sniff Some Glue"ดี ดี ราโมน 1:34
7."I Don't Wanna Go Down to the Basement"ดี ดี ราโมน, จอห์นนี ราโมน 2:35
แผ่นบี
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ร้องประสานเสียงยาว
8."Loudmouth"ดี ดี ราโมน, จอห์นนี ราโมน 2:14
9."Havana Affair"ดี ดี ราโมน, จอห์นนี ราโมน 2:00
10."Listen to My Heart"ดี ดี ราโมน 1:56
11."53rd & 3rd"ดี ดี ราโมน 2:19
12."Let's Dance" (โคเวอร์ของคริส มอนเทซ)จิม ลี 1:51
13."I Don't Wanna Walk Around with You"ดี ดี ราโมนทอมมี1:43
14."Today Your Love, Tomorrow the World"ดี ดี ราโมน 2:09
ความยาวทั้งหมด:29:04

ชาร์ต

อัลบั้ม

ชาร์ต (1976 - 2011) อันดับ
position
Italian Albums Chart[4] 67
Swedish Albums Chart[5] 48
US Billboard 200 111

ยอดจำหน่าย

ประเทศ การรับรอง จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย
United States (RIAA)[6] Gold 500,000^

*ตัวเลขยอดขายขึ้นกับการรับรองอย่างเดียว
^ตัวเลขการจัดส่งขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว

อ้างอิง

  1. Leigh 2009, p. 138.
  2. "500 Greatest Albums of All Time: Ramones, 'Ramones'". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-22. สืบค้นเมื่อ 28 September 2016.
  3. "RIAA - Gold & Platinum". RIAA.com. Recording Industry Association of America. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  4. "Italian Albums Chart - June 9, 2011".
  5. "Swedish Albums Chart - September 7, 1976".
  6. "American album certifications – Ramones – Ramones". Recording Industry Association of America.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!