รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 32

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 32
วันที่29 กันยายน 2567
สถานที่โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย รอยัลแกรนด์เธียเตอร์ สยามพารากอน
เหตุการณ์สำคัญ
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสัปเหร่อ
ได้รางวัลมากที่สุดสัปเหร่อ (5)
เข้าชิงมากที่สุดเธอกับฉันกับฉัน
ขุนพันธ์ 3 (10)
โทรทัศน์
เครือข่ายทรูโฟร์ยู

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 32 จัดโดยสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมและทรูโฟร์ยู ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2567 ที่โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ พารากอนซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน ภายใต้ธีม "แสงแห่งกันและกัน" โดยได้ไอเดียมาจากแสงแห่งศรัทธาที่ผู้สร้างหนังและผู้ชมภาพยนตร์ต่างร่วมกันรักษา และสอดส่องดูแล เปรียบได้ดั่ง ความร่วมมือร่วมใจในกันและกัน เพื่อก้าวไปสู่ ยุคทอง ครั้งใหม่ของหนังไทยต่อไป ถ่ายทอดสดผ่านทางช่องทรูโฟร์ยู โดยภายในงานมีการมอบรางวัลทั้งสิ้น 17 สาขาเพื่อเป็นเกียรติแก่ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2566[1]

เธอกับฉันกับฉัน และ ขุนพันธ์ 3 เข้าชิงรางวัลมากที่สุดจำนวน 10 สาขา ตามด้วย ธี่หยด, บ้านเช่า..บูชายัญ และ เพื่อน(ไม่)สนิท เข้าชิงเท่ากันเรื่องละ 7 สาขา โดยในปีนี้ได้มีการมอบรางวัลพิเศษจำนวน 4 รางวัลได้แก่ สุพรรณหงส์เกียรติยศ, ภาพยนตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยยอดเยี่ยม, ภาพยนตร์ไทยยอดนิยม ซึ่งในปีนี้ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมโหวตเป็นครั้งแรก และรางวัลใหม่คือ "ภาพยนตร์ไทยรายได้สูงสุด" ซึ่งมอบให้กับภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดประจำปี โดยภาพยนตร์เรื่อง สัปเหร่อ ได้รับเป็นเรื่องแรก นอกจากนี้ "สัปเหร่อ" ยังเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลมากที่สุด 5 สาขา รวมถึงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

ผู้ชนะและผู้เข้าชิง

ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 32 ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 ที่โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์[2]และจะประกาศรายชื่อผู้ชนะในวันที่ 29 กันยายน 2567 ที่โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย รอยัลแกรนด์เธียเตอร์ สยามพารากอน[1]

รางวัล

ผู้ชนะจะอยู่ในลำดับแรก โดยเน้นเป็นตัวหนา และมีกริชคู่ ()

  • เรดไลฟ์ รักละเลย (RedLife) – บุญยนุช ไกรทอง ‡
  • เธอกับฉันกับฉัน (You & Me & Me) – กฤษดา นาคะเกตุ
  • ขุนพันธ์ 3 (Khun Pan 3: Judgment Day) – ปราเมศร์ ชาญกระแส
  • ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง (Solids by the Seashore) – เบญจมาภรณ์ รัตนเรืองเดช
  • แมนสรวง (Man Suang) – ชัยพฤกษ์ เฉลิมพรพานิช
  • ธี่หยด (Death Whisperer) – Banana Sound Studio ‡
  • ขุนพันธ์ 3 (Khun Pan 3: Judgment Day) – ปัญญ์สุนิตย์ อัศวินิกุล, ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา
  • บ้านเช่า..บูชายัญ (Home for Rent) – นฤเบศ เปี่ยมใย, กันตนา ซาวด์ สตูดิโอ จำกัด
  • เธอกับฉันกับฉัน (You & Me & Me) – นฤเบศ เปี่ยมใย, กันตนา ซาวด์ สตูดิโอ จำกัด
  • 4 Kings 2 – สมัคร บัวประดิษฐ์, กันตนา ซาวด์ สตูดิโอ
  • แมนสรวง (Man Suang) – กิจจา ลาโพธิ์, นักรบ มูลมานัส ‡
  • ขุนพันธ์ 3 (Khun Pan 3: Judgment Day) – นิรชรา วรรณาลัย
  • เธอกับฉันกับฉัน (You & Me & Me) – กษิดิ์เดช สุนทรารชุน
  • ลอง ลีฟ เลิฟว์! (Long Live Love!) – วิสาข์ คงคา
  • ธี่หยด (Death Whisperer) : พราวเพลิน ตั้งมิตรเจริญ
  • ธี่หยด (Death Whisperer) – มีนา จงไพบูลย์, อัยมี่ อิสลาม, ศิวกร สุขลังการ, อาภรณ์ มีบางยาง, รุจิระ ไชยภัฏ ‡
  • แมนสรวง (Man Suang) – ภคนัฏฐ์ พูลสวัสดิ์, ธัมอาร์ต สตูดิโอ
  • แสงกระสือ 2 (Inhuman Kiss: The Last Breath) – คงกฤช ทองดี, ภัทราวุธ เชยชัยภูมิ
  • ขุนพันธ์ 3 (Khun Pan 3: Judgment Day) – อาภรณ์ มีบางยาง
  • 4 Kings 2 – อาภรณ์ มีบางยาง
  • ลอง ลีฟ เลิฟ (Long Live Love) - เอ็ม พิคเจอร์ส และ แอม ว่ะฮะฮา ‡

รางวัลอื่น ๆ

  • รางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ – รศ. บรรจง โกศัลวัฒน์
  • รางวัลภาพยนตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยยอดเยี่ยม – สัปเหร่อ
  • รางวัลภาพยนตร์ไทยรายได้สูงสุด – สัปเหร่อ

ผลสรุป

ภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงหลายรายการ
จำนวนเข้าชิง ภาพยนตร์
10 เธอกับฉันกับฉัน
ขุนพันธ์ 3
7 ธี่หยด
บ้านเช่า..บูชายัญ
เพื่อน(ไม่)สนิท
6 4 Kings 2
ลอง ลีฟ เลิฟว์
5 สัปเหร่อ
4 ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง
เรดไลฟ์ รักละเลย
แมนสรวง
ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลหลายรายการ
จำนวนรางวัล ภาพยนตร์
7 สัปเหร่อ
2 เธอกับฉันกับฉัน
ธี่หยด
เพื่อน(ไม่)สนิท
แมนสรวง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "เปิดโผรางวัลคนทำหนัง 'สุพรรณหงส์' ครั้งที่ 32 ประจำปี 2566". ไทยโพสต์. 5 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2024.
  2. "รายชื่อผู้เข้าชิง รางวัล "สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 32" ภาพยนตร์ไทยปี 2566". คมชัดลึก. 5 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2024.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!