รัศมีโลก (อังกฤษ: Earth radius) ที่ใช้ในภูมิมาตรศาสตร์และดาราศาสตร์นั้นปกติจะหมายถึงค่ารัศมีที่เส้นศูนย์สูตรของโลก ค่านี้มีนิยามต่างกันไป เช่น ค่าตามการวัดจริง และค่าที่กำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อใช้เป็นหน่วยวัดความยาว
รัศมีที่ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการสำรวจทางภูมิศาสตร์
ค่าของรัศมีที่เส้นศูนย์สูตรของโลกที่ใช้ในทรงรีโลกมาตรฐาน GRS80 และทรงรีโลกมาตรฐาน WGS84 ซึ่งเป็นมาตรฐานของการสำรวจทางธรณีวิทยาคือ
ค่ารัศมีที่กำหนดเป็นทางการ
ในสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 24 ในปี 2015 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ได้นิยามค่ารัศมีเส้นศูนย์สูตรและตามแนวขั้วโลก[2] รัศมีเส้นศูนย์สูตรที่ระบุนี้ใช้เป็นหน่วยวัดความยาวในทางดาราศาสตร์
- รัศมีเส้นศูนย์สูตรของโลกที่กำหนดใช้ () = 6378.1 กม.
- รัศมีขั้วโลกที่กำหนดใช้ () = 6356.8 กม.
รัศมีเส้นศูนย์สูตรที่กำหนดใช้นี้ใช้สำหรับการเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์นอกระบบ โดยเฉพาะที่มีขนาดเล็กใกล้เคียงโลกเป็นหลัก ค่ารัศมีนี้อาจถูกแปลงเป็นหน่วยอื่นได้ดังต่อไปนี้
รัศมีตามการวัดจริง
ในเดือนสิงหาคม 1999 คณะกรรมการเฉพาะกิจครั้งที่ 3 ของสมาคมภูมิศาสตร์สากล (IAG) ได้ระบุค่าล่าสุดที่ใช้งานไว้เป็นดังนี้[3]
- 6378136.59±0.10 m (tide-free system: ไม่พิจารณาความเปลี่ยนแปลงจากน้ำขึ้นน้ำลง)
- 6378136.62±0.10 m (zero-frequency tide system: ไม่พิจารณาความเปลี่ยนแปลงจากน้ำขึ้นน้ำลงโดยตรง แต่ยังพิจารณารวมผลโดยอ้อม)
USNO และ HMNAO ใช้ค่าต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าคงที่ทางดาราศาสตร์ (K6)[4]
อ้างอิง