รัฐบาลสกอต (อังกฤษ : Scottish Government ) เป็นรัฐบาลของประเทศสกอตแลนด์ เกิดขึ้นหลังจากการกระจายอำนาจจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ในปีค.ศ. 1999[ 2] แรกเริ่มใช้ชื่อว่า คณะบริหารสกอต (อังกฤษ : Scottish Executive ) รัฐบาลสกอตประกอบด้วย คณะรัฐมนตรีสกอต โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากรัฐสภาสกอต ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 โดยมีมุขมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ โดยความเห็นชอบจากรัฐสภา ผู้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลและเป็นผู้เลือกแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีสกอตโดยความเห็นชอบของรัฐสภาสกอต[ 3] การออกกฎหมายของรัฐบาลจำเป็นตั้งผ่านการอนุมัติจากรัฐสภา โดยรัฐสภาสกอตมีหน้าที่ออกกฎหมายต่างๆ ทั้งหมดที่ยกเว้นกฎหมายที่สงวนไว้แก่รัฐสภาสหราชอาณาจักร
รัฐมนตรีถูกแต่งตั้งโดยมุขมนตรีด้วยความเห็นชอบจากรัฐสภาสกอต และพระมหากษัตริย์ผ่านสมาชิกรัฐสภา พระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 ได้บัญญัติเกี่ยวกับรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการเอาไว้ ในการปกครองปัจจุบันเรียกว่า เสนาบดีในคณะรัฐมนตรี (Cabinet Secretary) และรัฐมนตรี (Minister) นอกจากนี้ยังมี 2 เจ้าพนักงานกฎหมาย คือ อัยการในสมเด็จฯ (อัยการสูงสุดแห่งสกอตแลนด์) และ นิติกรสูงสุดสำหรับสกอตแลนด์ (รองอัยการสูงสุดแห่งสกอตแลนด์) รัฐมนตรีสกอต และข้าราชการพลเรือนที่ทำงานให้กับรัฐลาลสกอตเรียกรวมกันอย่างเป็นทางการว่าคณะปกครองสกอต
ประวัติ
ในปีค.ศ. 1885 นโยบายภายในที่เกี่ยวกับสกอตแลนด์ถูกนำไปอยู้ภายใต้สำนักสกอตติช กระทรวงหนึ่งในรัฐบาลสหราชอาณาจักรโดยมีเสนาบดีสกอตแลนด์เป็นผู้บังคับบัญชา ต่อมาตำแหน่งนี้จะกลายไปเป็นเสนาบดีใหญ่ฝ่ายสกอตแลนด์
หลังจากการลงประชามติว่าด้วยการปกครองตนเองในปีค.ศ. 1997 บทบาทหน้าที่หลายอย่างของเสนาบดีใหญ่ฝ่ายสกอตแลนด์ถูกโยกย้ายไปให้รัฐมนตรีสกอตต่าง ๆ ที่ขึ้นตรงกับรัฐสภาปกครองตนเองของสกอตแลนด์
คณะบริหารสกอตที่ 1 ถูกตั้งโดยมุขมนตรีดอนัลด์ ดีวาร์ โดยเป็นรัฐบาลผสมระหว่างพรรคแรงงานสกอต และพรรคเสรีประชาธิปไตยสกอต ในช่วงนี้ตำแหน่งรัฐมนตรีถูกแบ่งเป็น รัฐมนตรี (Minister) และรองรัฐมนตรี (Deputy Minister) รัฐบาลผสมแรงงาน-เสรีประชาธิปไตยคงอยู่ต่อไปภายใต้มุขมนตรี เฮนรี่ แมคลีช และแจ็ก แมคคอนเนลล์ หลังจากการเลือกตั้งรัฐสภาสกอตแลนด์ปี ค.ศ. 2007 อเล็กซ์ แซลมอนด์ สามารถตั้งรัฐบาลพรรคชาติสกอต ได้ รัฐบาลนี้คงอยู่ต่อมาหลังจากการลาออกของเขาในปีค.ศ. 2014 และการแต่งตั้งอดีตรองมุขมนตรีของเขา นิโคลา สเตอร์เจียน เป็นมุขมนตรี
ตั้งแต่ปีค.ศ. 2007 คณะบริหารสกอตได้ใช้ชื่อ รัฐบาลสกอต การเปลี่ยนชื่อจะถูกรับรองทางกฎหมายในพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 2012 ในปีค.ศ. 2001 อดีตมุขมนตรีเฮนรี่ แมคลีช ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อดังนั้น แต่ได้รับการต่อต้านบางส่วน[ 4]
ในขณะเดียวกับที่รัฐบาลสกอตเริ่มใช้ชื่อใหม่ ก็ได้มีการใช้ตราสัญลักษณ์ใหม่ มันเข้ามาแทนที่ตราที่มีตราแผ่นดินที่ใช้ในสกอตแลนด์ โดยแทนที่ด้วยธงชาติสกอตแลนด์ [ 5]
รัฐมนตรีสกอต
รัฐบาลสกอตถูกนำโดยมุขมนตรีสกอตแลนด์ และมีรัฐมนตรีสกอต และเจ้าพนักงานกฎหมาย
รัฐสภาสกอต เสนอชื่อสมาชิกคนหนึ่งเพื่อที่จะถูกแต่งตั้งเป็นมุขมนตรีโดยพระมหากษัตริย์ [ 6] มุขมนตรีแต่งตั้งรัฐมนตรีตำแหน่งต่าง ๆ รัฐมนตรีที่มีตำแหน่งอาวุโสจะเรียกว่า เสนาบดีในคณะรัฐมนตรี โดยเสนาบดีเหล่านี้จะรวมกันเป็นคณะรัฐมนตรี ร่วมกับมุขมนตรี ส่วนเจ้าพนักงานกฎหมายสกอต อัยการในสมเด็จฯ (อัยการสูงสุดแห่งสกอตแลนด์) และ นิติกรสูงสุดสำหรับสกอตแลนด์ (รองอัยการสูงสุดแห่งสกอตแลนด์) สามารถแต่งตั้งผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาสกอตมาดำรงตำแหน่งนี้ได้ แต่ทว่าตำแหน่งนี้จะต้องได้รับความยินยอม และการตรวจสอบโดยรัฐสภาสกอต นอกจากนี้เจ้าพนักงานกฎหมายยังสามารถแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์จากการเสนอชื่อของมุขมนตรี[ 6]
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีสกอตมีหน้าที่ประสานงานด้านนโยบายภายในรัฐบาลสกอต โดยมีเสนาบดีประจำคณะรัฐมนตรีร่วมงานด้วย คณะรัฐมนตรีมีสำนักงานอยู่ที่ทำเนียบเซนต์แอนดรูว์ ในระหว่างที่รัฐสภาสกอตอยู่ในสมัยประชุม คณะรัฐมนตรีจะประชุมกันทุกสัปดาห์[ 7] โดยปกติแล้วการประชุมคณะรัฐมนตรีจะเกิดขึ้นในบ่ายวันอังคารที่ทำเนียบบิวต์ จวนของมุขมนตรีสกอตแลนด์ [ 8] สมาชิกคณะรัฐมนตรีสกอตจะได้กล่องส่งสาส์นสีน้ำเงิน (Despatch Box) สำหรับใช้ในราชการจนหมดวาระ[ 9]
ในปัจจุบันมีคณะอนุกรรมาธิการ 2 คณะในคณะรัฐมนตรี[ 10]
สมาชิกคณะรัฐบาลสกอตในปัจจุบันมีดังนี้
รัฐมนตรีช่วยว่าการ
รัฐมนตรีช่วยว่าการสกอต ดำรงตำแหน่ง "รัฐมนตรี" (Minister) ถูกแต่งตั้งเข้าไปในรัฐบาลสกอตเช่นเดียวกับเสนาบดีในคณะรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการแต่ละคนจะมีเสนาบดีในคณะรัฐมนตรีคอยควบคุมอยู่อย่างละคน
รัฐมนตรีช่วยว่าการในปัจจุบัน[ 12] มีดังนี้
เจ้าพนักงานกฎหมาย
เจ้าพนักงานกฎหมายในปัจจุบันมีดังนี้
หน้าที่
หน้าที่ของรัฐมนตรีสกอตคือทำตามหน้าที่โดยคร่าวของรัฐสภาสกอตตามพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 และกฎหมายสหราชอาณาจักรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างที่กฎหมายก่อนการปกครองตนเองมอบอำนาจให้รัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ปฏิบัติหน้าที่บางประการ กฎหมายหลังการปกครองตนเองได้มอบอำนาจส่วนใหญ่ให้กับรัฐสภาสกอต
พระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 อนุญาตให้รัฐมนตรีสกอตสามารถใช้อำนาจของรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในเรื่องที่ถูกสงวนไว้กับรัฐสภาสหราชอาณาจักร และพ.ร.บ. นี้ก็ยังมอบอำนาจให้รัฐมนตรีสกอตสามารถมอบอำนาจกลับคืนให้กับรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร หรือ "การตกลงระหว่างหน่วยงาน" ใดโดยเฉพาะ การกระจายอำนาจในการปกครองเช่นนี้หมายความว่าอำนาจของรัฐมนตรีสกอต และรัฐสภาสกอตไม่เหมือนกัน [ 14]
เรื่องที่สงวนอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐสภาสหราชอาณาจักร ที่เด่นชัดมีดังนี้[ 15]
แต่ก็เหลือเรื่องสำคัญที่ถูกกระจายอำนาจมาภายใต้พระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 หลายเรื่องดังนี้[ 16]
และพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 2012 และ ค.ศ. 2016 ได้กระจายอำนาจเพิ่มเติม ได้แก่[ 17]
สมาชิกรัฐบาลสกอตมีอำนาจค่อนข้างมากในเรื่องกฎหมายในสกอตแลนด์ ร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาสกอตส่วนมากมาจากการเสนอของสมาชิกฝ่ายรัฐบาล[ 18]
รัฐบาลสกอต
นอกจากรัฐมนตรีสกอตแล้ว รัฐบาลสกอตได้รับความสนับสนุนของข้าราชการจากสำนักงานราชการพลเรือน พวกเขาเรียกดวยรวมได้ว่าคณะปกครองสกอตในพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 จากรายงานในปี ค.ศ. 2012 มีข้าราชพลเรือน 16,000 คนทำงานในหน่วยงานที่สำคัญของรัฐบาลสกอต
[ 19]
สำนักงานราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่สงวนไว้ให้แก่รัฐสภาสหราชอาณาจักร ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (แทนที่จะถูกกระจายมาให้รัฐบาลสกอต) ข้าราชการพลเรือนของรัฐบาลสกอตทำงานภายใต้ข้อยังคับของสำนักงานราชการพลเรือนในสมเด็จฯ แต่ทำงานให้กับคณะปกครองของท้องที่ที่ปกครองตนเองแทนรัฐบาลสหราชอาณาจักร
[ 20]
เสนาบดีถาวร
เสนาบดีถาวร คือข้าราชการพลเรีอนที่อาวุโสที่สุดในสกอตแลนด์ เขามีหน้าที่นำคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของคณะปกครอง รวมไปถึงสนับสนุนการทำงานมุขมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง และเป็นผู้รักษาภาระความรับผิดเพื่อให้เงิน และทรัพยากรของรัฐบาลถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้อง[ 21] เสนาบดีถาวรคนปัจจุบันคือ จอห์น-พอล มาร์กส์ ซึ่งเข้ามาแทนที่ เลสลีย์ เอวานส์ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022[ 22]
เสนาบดีถาวรเป็นสมาชิกของสำนักงานราชการพลเรือนสหราชอาณาจักร ดังนั้นเขาจึงมีส่วนร่วมในกลุ่มบริหารเสนาบดีถาวรทั่วสหราชอาณาจักรภายใต้เสนาบดีคณะรัฐมนตรี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่คล้ายกันให้กับรัฐบาลสหราชอาณาจักร
[ 23]
กระทรวง
รัฐบาลสกอตถูกแบ่งเป็น 49 กระทรวงที่มีหน้าที่นำนโยบายรัฐบาลมาปฏิบัติในแต่ละด้าน แต่ต่างจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ตรงที่รัฐมนตรีอาวุโสไม่ได้มีหน้าที่บริหารหน่วยงานของรัฐบาล และไม่ได้มีบทบาทโดยตรงต่อการดำเนินงานของแต่ละกระทรวง
กรมทั้ง 49 กรมจะถูกแบ่งเป็น "กระทรวง" (Directorates General) 7 สำนักงาน โดยแต่ละสำนักงานจะบริหารโดนข้าราชการพลเรือนอาวุโสสำนักงานละ 1 คน โดยมีตำแหน่ง "อธิบดีสูงสุด" (Director-General) ณ พฤษภาคม ค.ศ. 2021 มีกรมสูงสุด 7 กรมดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ที่สนับสนุนการทำงานของกระทรวงเหล่านี้[ 24]
สำนักราชเลขาธิการและอัยการ เป็นอัยการ อิสระของสกอตแลนด์ และเป็นหน่วยงานระดับรัฐมนตรีในรัฐบาลสกอต โดยมีผู้บริหารเป็นอัยการในสมเด็จฯ ซึ่งมีหน้าที่สั่งฟ้องร้องในคดี ร่วมกับอัยการแพ่ง (Procurator fiscal) ภายใต้กฎหมายสกอต
คณะกรรมการยุทธศาสตร์
คณะกรรมการยุทธศาสตร์รัฐบาลสกอต ประกอบไปด้วยเสนาบดีถาวร อธิบดีสูงสุดทั้ง 7 คน ที่ปรึกษาหลัก 2 คน (ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านเศรษฐกิจอย่างละคน) และอธิบดีที่ไม่ได้บริหาร 4 คน คณะกรรมการนี้มีหน้าที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลผ่านเสนาบดีถาวร และเป็นองค์กรบริหารข้าราชการพลเรือนสกอตแลนด์
[ 25]
สำนักงานบริหาร
เพื่อที่จะทำงานได้ประสิทธิผล รัฐมนตรีสกอตได้ตั้งสำนักงานบริหาร ไว้ 9 สำนักงาน เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานรัฐต่าง ๆ หรือเป็นหน่วยงานที่ตั้งเป็นเอกเทศเพื่อที่จะทำงานในแต่ละส่วน เช่น กรมราชทัณฑ์สกอต คมนาคมสกอตแลนด์ สำนักงานบริหารมีข้าราชการเป็นพนักงาน
มีหน่วยงานที่ไม่สังกัดรัฐมนตรี 2 หน่วยงานที่เป็นส่วนหนึ่งของคณะปกครองสกอต และจึงเป็นส่วนหนึ่งของคณะปกครองตนเอง แต่สังกัดรัฐสภาโดยตรงแทนที่จะผ่านรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักงานทะเบียนสามัญสำหรับสกอตแลนด์ และสำนักงานควบคุมกิจการมูลนิธิสกอตแลนด์
ทบวงการเมือง
รัฐบาลสกอตยังรับผิดชอบทบวงการเมืองที่ไม่สังกัดกระทรวง อยู่จำนวนหนึ่ง รวมไปถึงทบวงการเมืองบริหารที่ไม่สังกัดกระทรวง (เช่น วิสาหกิจสกอต ) ทบวงการเมืองที่ปรึกษาที่ไม่สังกัดกระทรวง (เช่น คณะกรรมการกฎหมายสกอต ) ศาล (เช่น องค์คณะผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก ) และรัฐวิสาหกิจ (เช่น การประปาสกอตแลนด์ ) หน่วยงานเหล่านี้มีข้าราชการสามัญเป็นพนักงาน (Public servant) ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน (Civil servant)
รัฐบาลสกอตยังรับผิดชอบทบวงการเมืองอื่น ๆ ที่ไม่ถูกจำแนกเป็นทบวงการเมืองที่ไม่สังกัดกระทรวง เช่น คณะกรรมการเอนเอชเอส กรรมการเยี่ยมเรือนจำ หรือผู้ตรวจการตำรวจสูงสุดในสมเด็จฯ สำหรับสกอตแลนด์
ที่ทำการ
อาคารสำนักงานใหญ่ของรัฐบาลสกอตอยู่ที่ทำเนียบเซนต์แอนดรูว์ ซึ่งอยู่บนคัลตันฮิลล์ในเอดินบะระ กรมบางกรมมีสำนักงานอยู่ที่วิคตอเรียคีย์ และทำเนียบซอตันในเอดินบะระ และแอตแลนติกคีย์ในกลาสโกว์ สำนักงานใหญ่ของสำนักราชเลขาธิการและอัยการ และของอัยการในสมเด็จฯ ตั้งอยู่ที่ถนนเชมเบอร์ในเอดินบะระกลาง
มีอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งที่ถูกใช้งานโดยรัฐบาลสกอต ทั้งคณะกรรมการการคลังสกอต และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสกอต ก็มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในทำเนียบผู้ว่าการเก่า ข้าง ๆ ทำเนียบเซนต์แอนดรูว์บนถนนรีเจนต์ นอกจากนี้ยังมีสำนักงานอื่น ๆ กระจายอยู่ทั่วเอดินบะระกลาง รวมไปถึงทำเนียบบิวต์ จวนของมุขมนตรีที่ตั้งอยู่ที่จตุรัสชาร์ลอตต์
รัฐมนตรี และข้าราชการที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใช้ทำเนียบสกอตแลนด์ ที่วิคตอเรียเอมแบงก์เมนต์ในลอนดอนหากจำเป็น ทำเนียบโดเวอร์ที่ไวต์ฮอลล์ในปัจจุบันถูกใช้โดยสำนักงานสกอต และรัฐมนตรีสกอตไม่ได้เข้าใช้แล้ว[ 26]
รัฐบาลสกอตยังมีสำนักงานย่อย และสำนักงานเฉพาะทางอยู่ทั่วสกอตแลนด์ เช่นสำนักงานการชำระเงิน และบริการชนบท[ 27]
วิคตอเรียคีย์
ทำเนียบบิวต์
สำนักงานนอกประเทศ
รัฐบาลสกอตมีสำนักงานตัวแทนสหภาพยุโรป ตั้งอยู่ที่บรัสเซลส์ ในเบลเยียม [ 28] รัฐบาลสกอตยังมีสำนักงานตั้งอยู่ภายในสถานเอกอัครราชฑูตสหราชอาณาจักรในวอชิงตัน ดี.ซี. และในสถานเอกอัครราชฑูตสหราชอาณาจักรในเบอร์ลิน และมีตัวแทนที่ได้รับการรับรองในสถานเอกอัครราชฑูตสหราชอาณาจักรในปักกิ่ง
อ้างอิง