รัฐบัญญัติคุ้มครองผู้ป่วยและการบริบาลที่เสียได้

รัฐบัญญัติคุ้มครองผู้ป่วยและการบริบาลที่เสียได้ (อังกฤษ: Patient Protection and Affordable Care Act) มักย่อเป็นรัฐบัญญัติการบริบาลที่เสียได้ (ACA) และมีชื่อเล่นว่า โอบามาแคร์ (Obamacare) เป็นกฎหมายกลางของสหรัฐซึ่งรัฐสภาสหรัฐที่ 111 เป็นผู้ตรา และประธานาธิบดีบารัก โอบามาลงนามเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ภายใต้รัฐบัญญัตินี้ โรงพยาบาลและแพทย์ปฐมภูมิจะเปลี่ยนเวชปฏิบัติของพวกตนทั้งด้านการเงิน เทคโนโลยีและคลินิกเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีขึ้น ราคาถูกลง และปรับปรุงวิธีการกระจายและการเข้าถึงได้

รัฐบัญญัติการบริบาลที่เสียได้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มคุณภาพและการเสียได้ของประกันสุขภาพ ลดอัตราผู้ไม่ได้เอาประกันโดยขยายความคุ้มครองของประกันและลดราคาของบริการสุขภาพ รัฐบัญญัติฯ ริเริ่มกลไกซึ่งรวมถึงการมอบอำนาจ เงินอุดหนุนและตลาดประกัน[ต้องการอ้างอิง] รัฐบัญญัติฯ ยังกำหนดให้ผู้ประกันยอมรับผู้สมัครทุกคน ครอบคลุมรายการจำเพาะและคิดเบี้ยประกันอัตราเดียวโดยไม่คำนึงถึงภาวะก่อนหน้านี้หรือเพศ[1]

รัฐบัญญัติฯ ก่อให้เกิดการลดจำนวนและร้อยละของผู้ไม่มีประกันสุขภาพอย่างสำคัญ โดยประเมินไว้ระหว่าง 20-24 ล้านคนที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างปี 2559[2][3] การเพิ่มรายจ่ายด้านบริการสุขภาพโดยรวมชะลอลงนับแต่นำกฎหมายนี้ไปปฏิบัติ ซึ่งรวมเบี้ยประกันสำหรับแผนประกันที่อาศัยนายจ้าง[4] สำนักงานงบประมาณของรัฐสภารายงานในการศึกษาหลายครั้งว่ารัฐบัญญัติฯ จะลดการขาดดุลงบประมาณ และการยกเลิกจะเพิ่มการขาดดุล[5][6]

นับแต่เริ่มนำไปปฏิบัติ ผู้คัดค้านใช้คำว่า "โอบามาแคร์" เรียกรัฐบัญญัติฯ และต่อมาผู้อื่นก็นำไปใช้ด้วย[7]

กฎหมายและการนำไปปฏิบัติเผชิญการคัดค้านในรัฐสภาและศาลกลาง และจากรัฐบาลของบางรัฐ กลุ่มผลประโยชน์อนุรักษนิยม สหภาพแรงงานและองค์การธุรกิจขนาดย่อม ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐสนับสนุนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการมอบอำนาจปัจเจกของรัฐบัญญัติฯ ว่าเป็นการใช้อำนาจเก็บภาษีของรัฐสภา[8] วินิจฉัยว่าไม่สามารถบังคับรัฐให้เข้าร่วมการขยายเมดิเคด (Medicaid) ของรัฐบัญญัติฯ[9][10][11] และวินิจฉัยว่าเงินอุดหนุนของกฎหมายนี้เพื่อช่วยปัจเจกบุคคลในการจ่ายประกันสุขภาพมีได้ในทุกรัฐ ไม่เพียงเฉพาะในรัฐที่จัดตั้งตลาดของรัฐเท่านั้น[12]

กฎหมายนี้เป็นการยกระดับระเบียบที่สำคัญที่สุดในระบบบริการสุขภาพของสหรัฐ ร่วมกับการแก้ไขรัฐบัญญัติบริการสุขภาพและการปรองดองการศึกษา (Health Care and Education Reconciliation Act) นับแต่การผ่านเมดิแคร์ (Medicare) และเมดิเดดในปี 2508

อ้างอิง

  1. "ObamaCare Survives the Supreme Court: 5 Takeaways". The Week. June 28, 2012. สืบค้นเมื่อ June 30, 2012.
  2. "Federal Subsidies for Health Insurance Coverage for People Under Age 65:2016 to 2026". United States. Congressional Budget Office. March 24, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Report)เมื่อ December 9, 2016. สืบค้นเมื่อ November 23, 2016.
  3. Uberoi, Namrata; Finegold, Kenneth; Gee, Emily (March 2, 2016). "Health Insurance Coverage and the Affordable Care Act, 2010–2016" (PDF). Assistant Secretary for Planning and Evaluation. U.S. Department of Health and Human Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2011. สืบค้นเมื่อ December 7, 2016.
  4. "Employer Health Benefits 2015". Kaiser Family Foundation. สืบค้นเมื่อ November 19, 2016.
  5. "Budgetary and Economic Effects of Repealing the Affordable Care Act". United States. Congressional Budget Office. June 19, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Report)เมื่อ June 22, 2015. สืบค้นเมื่อ June 19, 2015.
  6. "CBO's Analysis of the Major Health Care Legislation Enacted in March 2010". United States. Congressional Budget Office. March 30, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 10, 2012. สืบค้นเมื่อ April 6, 2012.
  7. Wallace, Gregory (June 25, 2012). "'Obamacare': The word that defined the health care debate". CNN. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  8. ABA Health eSource (July 12, 2012). "Supreme Court Upholds PPACA". สืบค้นเมื่อ November 20, 2013.
  9. Pg 55–58, slip opinion, National Federation of Independent Business v. Sebelius, U.S. Supreme Court (June 28, 2012)
  10. Barrett, Paul M. (June 28, 2012). "Supreme Court Supports Obamacare, Bolsters Obama". BloombergBusinessweek. สืบค้นเมื่อ June 30, 2012.
  11. National Post Wire Services (June 28, 2012). "Obamacare upheld by the U.S. Supreme Court". National Post. สืบค้นเมื่อ June 30, 2012.
  12. "Supreme Court Approves Obamacare Subsidies on Healthcare.gov". CNBC. June 25, 2015. สืบค้นเมื่อ January 21, 2017.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!