มุอัมมัร อัลก็อษษาฟี (อาหรับ : معمر القذافي audio ⓘ Muʿammar al-Qaḏḏāfī ) หรือ มูอัมมาร์ กัดดาฟี เป็นผู้นำประเทศลิเบีย โดยพฤตินัย หลังรัฐประหารในปี พ.ศ. 2512[ 1] เขาได้รับการขนานนามในเอกสารทางการและสื่อของรัฐว่า "ผู้ชี้นำการมหาปฏิวัติวันที่ 1 กันยายน แห่งมหาสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย" ("Guide of the First of September Great Revolution of the Socialist People's Libyan Arab Jamahiriya ") หรือ "ภราดาผู้นำและผู้ชี้ทางแห่งการปฏิวัติ" ("Brotherly Leader and Guide of the Revolution") นับตั้งแต่การลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเองในปี พ.ศ. 2515 [ 2] กัดดาฟีเคยเป็นผู้นำประเทศที่ไม่ใช่กษัตริย์ที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในโลกหลังการเสียชีวิตของโอมาร์ บองโก ประธานาธิบดีแห่งประเทศกาบอง ในปี พ.ศ. 2553 และยังเป็นผู้นำลิเบียที่ครองอำนาจนานที่สุดนับตั้งแต่ลิเบียตกเป็นมณฑลหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อ พ.ศ. 2094 [ 3] กัดดาฟีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 หลังจากถูกประชาชนลิเบียลุกฮือต่อต้านเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย กับ มูอัมมาร์ กัดดาฟี เมื่อ เมษายน 2551
ประวัติ
กัดดาฟี เกิดใกล้กับเมืองเซิร์ต ประเทศลิเบีย ในอิตาลี ใน ครอบครัวอาหรับ เบดูอิน ที่ยากจน กลายเป็นชาตินิยมอาหรับขณะอยู่ที่โรงเรียนในเมืองซาบาต่อมาได้ลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารเบงกาซี ภายในกองทัพ เขาได้ก่อตั้งกลุ่มปฏิวัติซึ่งโค่นล้ม สถาบันกษัตริย์ เซนุสซีแห่งไอดริส ที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก ใน การรัฐประหาร พ.ศ. 2512เมื่อยึดอำนาจ กัดดาฟีได้เปลี่ยนลิเบียให้เป็นสาธารณรัฐที่ควบคุมโดยสภาบัญชาการการปฏิวัติ ของ เขาด้วยพระราชกฤษฎีกาเขาเนรเทศประชากรชาวอิตาลีของลิเบียและขับไล่ฐานทัพทหารตะวันตก การกระชับความสัมพันธ์กับรัฐบาลชาตินิยม อาหรับโดยเฉพาะอียิปต์ของกามาล อับเดล นัสเซอร์ เขาสนับสนุน การรวมตัวทางการเมืองทั่วอาหรับ ไม่ประสบผลสำเร็จ เขาเป็นอิสลามสมัยใหม่เขาแนะนำอิสลามเป็นพื้นฐานของระบบกฎหมายและส่งเสริมสังคมนิยมอิสลาม เขาโอนสัญชาติให้กับอุตสาหกรรมน้ำมัน และใช้รายได้ของรัฐที่เพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนกองทัพให้ทุนแก่การปฏิวัติในต่างประเทศและดำเนินโครงการทางสังคมที่เน้นโครงการสร้างบ้าน การดูแลสุขภาพ และการศึกษา ในปี พ.ศ. 2516 เขาได้ริเริ่ม " การปฏิวัติประชาชน " ด้วยการจัดตั้งสภาประชาชนขั้นพื้นฐานซึ่งนำเสนอเป็นระบบประชาธิปไตยทางตรงแต่ยังคงควบคุมการตัดสินใจที่สำคัญส่วนบุคคลได้ เขาสรุปทฤษฎีนานาชาติฉบับที่สามของเขาในปีนั้นในThe Green Book
ในปี 1977 กัดดาฟีได้เปลี่ยนลิเบียให้เป็นรัฐสังคมนิยม ใหม่ ที่เรียกว่าจามาฮิริยา ("รัฐแห่งมวลชน") พระองค์ทรงรับบทบาทเชิงสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการในการปกครอง แต่ยังคงเป็นหัวหน้าทั้งกองทัพและคณะกรรมการปฏิวัติที่รับผิดชอบในการตรวจตราและปราบปรามผู้เห็นต่าง ระหว่างทศวรรษ 1970 และ 1980 ความขัดแย้งบริเวณชายแดนของลิเบียกับอียิปต์และชาด ที่ไม่ประสบผลสำเร็จ การสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธต่างชาติ และข้อกล่าวหาว่ามีส่วนรับผิดชอบต่อการวางระเบิดของเที่ยวบิน Pan Am เที่ยวบิน 103และUTA เที่ยวบิน 772ทำให้ลิเบียโดดเดี่ยวมากขึ้นในเวทีโลก ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นมิตรพัฒนาเป็นพิเศษกับอิสราเอล สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ส่งผลให้สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดลิเบียในปี พ.ศ. 2529และคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจตามที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ ตั้งแต่ปี 1999 กัดดาฟีหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหรับ และสนับสนุนกลุ่มแอฟริกันและการสร้างสายสัมพันธ์กับชาติตะวันตกเขาเป็นประธานสหภาพแอฟริกาตั้งแต่ปี 2552 ถึง 2553 ท่ามกลางอาหรับสปริง ปี 2554 การประท้วงต่อต้านการทุจริตและการว่างงานในวงกว้างได้ปะทุขึ้นในลิเบียตะวันออก สถานการณ์ดังกล่าวลุกลามไปสู่สงครามกลางเมืองซึ่งนาโต เข้าแทรกแซงทางทหารโดยอยู่ข้างสภาเปลี่ยนผ่านแห่งชาติ (NTC) ที่ต่อต้านกัดดาฟิสต์ รัฐบาลของกัดดาฟีถูกโค่นล้ม เขาถอยกลับไปยังเซิร์ตเพียงเพื่อจะถูกกลุ่มติดอาวุธ NTC จับ ทรมาน และสังหาร
กัดดาฟีในการประชุมสุดยอดอาหรับในลิเบียในปี 2512 ไม่นานหลังจากการปฏิวัติเดือนกันยายนที่โค่นล้มกษัตริย์อิดริสที่ 1 กัดดาฟีนั่งอยู่ในเครื่องแบบทหารตรงกลาง ล้อมรอบด้วยประธานาธิบดีอียิปต์จามาล อับเดล นาสเซอร์ (ซ้าย) และประธานาธิบดีซีเรียนูรุดดิน อัล-อาตัสซี (ขวา)
กัดดาฟีเป็นบุคคลที่มีความแตกแยกอย่างมาก ครอบงำการเมืองของลิเบียมา เป็นเวลาสี่ทศวรรษ และเป็นหัวข้อของลัทธิบุคลิกภาพ ที่แพร่หลาย พระองค์ได้รับรางวัลมากมายและได้รับการยกย่องจาก จุดยืน ต่อต้านจักรวรรดินิยมการสนับสนุนเอกภาพของชาวอาหรับและชาวแอฟริกัน ตลอดจนการพัฒนาที่สำคัญของประเทศภายหลังการค้นพบน้ำมันสำรอง ในทางกลับกัน ชาวลิเบียจำนวนมากต่อต้านการปฏิรูปสังคมและเศรษฐกิจของกัดดาฟีอย่างแข็งขัน เขาถูกกล่าวหามรณกรรมว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายประการ เขาถูกหลายคนประณามว่าเป็นเผด็จการที่ ฝ่ายบริหาร เผด็จการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างเป็นระบบ และสนับสนุนการก่อการร้าย ทั่วโลก ในภูมิภาคและต่างประเทศ
สมุดปกเขียว
กัดดาฟี ได้เขียนหนังสือปรัชญาการเมืองเล่มหนึ่ง ชื่อว่า "สมุดปกเขียว " พิมพ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ.1975) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการนำประชาธิปไตยทางตรง มาใช้ และมีการวิพากษ์วิจารณ์ระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ว่าเป็น "ระบบที่พยายามเรียกกันว่าเป็นประชาธิปไตย" และระบอบการปกครองประชาธิปไตยส่วนใหญ่ในโลกนั้น "ถูกแก่งแย่งกันโดย ปัจเจกชน, ชนชั้น, กลุ่มคน, เผ่าต่าง ๆ, สภา หรือ พรรคการเมือง เพื่อเข้ามาปล้นเอาอธิปไตยของมวลชน และผูกขาด อำนาจการเมืองไว้เป็นของพวกเขาเอง"[ 4] ปัจจุบัน "สมุดปกเขียว" ได้มีการเพยแพร่และสามารถเข้าไปอ่านได้ทั้งเล่มบน เว็บไซต์ของขบวนการ International Green Charter Movement หรือ สำนักข่าวออนไลน์อิสระ MATHABA เก็บถาวร 2011-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แนวคิดการนำประชาธิปไตยทางตรงมาใช้
ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน
การประชุมชน หรือ ประชาสมาคม เป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้ประชาธิปไตยของปวงชนนั้นสัมฤทธิ์ผล ระบบการปกครองใด ๆ ที่ขัดแย้งกับวิธีการประชุมชนนี้นั้นถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ระบบการปกครองซึ่งมีอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันจะไม่เหลือความเป็นประชาธิปไตยอยู่ นอกเสียจากระบบเหล่านั้นจะรับเอาวิธีการนี้ไปใช้ การประชุมชน หรือ ประชาสมาคมนั้น คือจุดจบของการเดินทางค้นหาประชาธิปไตยของมวลชน
ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน เป็นผลสัมฤทธิ์ของการดิ้นรนเพื่อประชาธิปไตยของคน ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน ไม่ใช่ประดิษฐกรรมแห่งจินตนาการ ; มันคือผลผลิตของความคิดที่ซึมซับการทดลองเพื่อบรรลุถึงประชาธิปไตยของมนุษย์ทั้งหมดไว้
ประชาธิปไตยทางตรงนั้นไม่สามารถโต้แย้งได้เลยว่าเป็นวิธีการปกครองดีที่สุด แต่เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะรวมประชาชน ไม่ว่าจะมีจำนวนน้อยซักเท่าใด ไว้ในสถานที่แห่งหนึ่ง เพื่อที่พวกเขาจะได้ ถกเถียง ชี้แจง และตัดสิน นโยบาย, ฉะนั้นประเทศที่มิได้นำประชาธิปไตยทางตรงมาใช้ จะมองว่ามันเป็นเพียงความคิดเชิงอุดมคติที่ไม่เป็นความจริง มันจึงถูกแทนที่ด้วยทฤษฎีการปกครองอื่นมากมาย เช่น สภาผู้แทน, รัฐบาลผสม หรือ การทำประชามติ เป็นต้น โดยที่กล่าวมานั้น กีดกันและขัดขวางไม่ให้มวลชนได้จัดการกิจการการเมืองทั้งหลายของเขา
เครื่องมือการปกครองเหล่านั้นถูกแก่งแย่งกันโดย ปัจเจกชน, ชนชั้น, กลุ่มคน, เผ่าต่าง ๆ, สภา หรือ พรรคการเมือง เพื่อเข้ามาปล้นเอาอธิปไตยของมวลชน และผูกขาด อำนาจการเมืองไว้เป็นของพวกเขาเอง
สมุดปกเขียวจะนำระบบประชาธิปไตยทางตรงที่ไม่เคยนำมาประยุกต์ใช้ได้มาสู่มวลชน ไม่มีปัญญาชนคนใดที่จะโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ว่าประชาธิปไตยทางตรงนั้นมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง แต่จวบจนปัจจุบันไม่มีการคิดค้นวิธีการนำมันมาใช้ได้เลย กระนั้นทฤษฎีสากลที่สาม (Third Universal Theory) จะทำให้เกิดประชาธิปไตยโดยตรงซึ่งสามารถนำมาใช้การจริงได้ สุดท้ายก็จะทำให้ปัญหาแห่งประชาธิปไตยถูกแก้ไข จะคงเหลือแต่การดิ้นรนในการกำจัดรูปแบบของเผด็จการที่อยู่เหนือกว่ามวลชน โดย สภา, กลุ่มคน, เผ่า, ชนชั้น, ระบบพรรคเดี่ยว, ระบบพรรคคู่ หรือ ระบบหลายพรรค ซึ่งเรียกตัวเองอย่างผิด ๆ ว่า ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นมีเพียงวิธีการและทฤษฎีเดียว ความแตกต่างและหลากหลายของระบบที่พยายามเรียกตนว่าประชาธิปไตยนั้นในความจริงจะแสดงให้เห็นถึงหลักฐานว่ามันไม่ใช่ อำนาจของปวงชนจะแสดงออกมาได้เพียงวิธีเดียวคือผ่านทางประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน (Popular Conferences and People’s Committees) รัฐใด ๆ จะไม่สามารถมีประชาธิปไตยได้ หากปราศจากประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน
ประการแรกประชาชนจะถูกแบ่งเป็น ประชาสมาคมย่อย (Basic Popular Conference) แต่ละสมาคมจะเลือก เลขาธิการ (Secretariat) และเลขาธิการของประชาสมาคมย่อยทั้งหมดจะรวมกันเป็น ประชาสมาคมบน (Non-Basic Popular Conferences) ในขณะเดียวกันประชาชนของประชาสมาคมย่อยจะเลือก คณะกรรมการประชาชน (People’s Committees) ขึ้นมาทำหน้าที่แทนรัฐบาลท้องถิ่น สถาบันสาธารณะทุกสถาบันจะดำเนินการโดยคณะกรรมการประชาชนซึ่งจะมีประชาสมาคมย่อยรับผิดชอบการกำหนดนโยบายและกำกับดูแล เมื่อนั้นทั้งการบริหารและการควบคุมดูแลรัฐจะกลายเป็นของประชาชน ซึ่งจะทำให้คำนิยามของประชาธิปไตยที่ว่า ประชาธิปไตยคือการกำกับดูแลของรัฐโดยประชาชน ล้าสมัย และกลายมาเป็นคำนิยามที่แท้จริงว่า ประชาธิปไตยคือการกำกับดูแลของประชาชนโดยประชาชน
ประชาชนทุกคนที่เป็นสมาชิกของแต่ละ ประชาสมาคม อาจจะเป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมตัวกันเป็น สมาคมวิชาชีพ หรือ สมาคมเฉพาะทาง (Professional Popular Conferences) โดยในสภาพความเป็นพลเมืองแล้วนั้นจะสามารถเป็นสมาชิกของทั้ง ประชาสมาคมย่อย และ คณะกรรมการประชาชนได้ด้วย ประเด็นที่พิจารณาโดย ประชาสมาคม และคณะกรรมการประชาชน อาจไปสิ้นสุดลงใน สภาประชาชน (General People’s Congress) ซึ่งจะเป็นการนำเลขาธิการของประชาสมาคมต่าง ๆ และ คณะกรรมการประชาชน ไว้ด้วยกัน มติของสภาประชาชนซึ่งจะมีการพบปะกันในแต่ละวาระ หรือ แต่ละปี จะถูกส่งผ่านไปยัง แต่ละประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน ซึ่งจะบริหารมติเหล่านั้นผ่าน คณะกรรมการผู้รับผิดชอบ (Responsible Committees) ที่เลือกโดยประชาสมาคมย่อยนั้น ๆ
สภาประชาชน จะไม่ใช่เพียงการรวมตัวกันของบุคคล หรือ สมาชิกสภา เช่นเดียวกับรัฐสภาทั่วไป แต่จะเป็นการรวมตัวกันของ ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน
ดังนั้นปัญหาของเครื่องมือการปกครองจะถูกแก้ไขไปโดยปริยาย และ เครื่องของเผด็จการทุกรูปแบบจะหมดไป ผู้คนจะเป็นเครื่องมือในการปกครอง และสภาพป่วยการของประชาธิปไตยจะได้รับการแก้ไขในที่สุด
— สมุดปกเขียว - ภาค 1 ; วิธีการแก้ไขปัญหาแห่งประชาธิปไตย - “อำนาจอันชอบธรรมของประชาชน”
[ 5]
เครื่องอิสริยาภรณ์
อิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
↑ Salak, Kira. "National Geographic article about Libya" . National Geographic Adventure.
↑ US Department of State's Background Notes, (November 2005) "Libya – History" , United States Department of State . Retrieved on 14 July 2006.
↑ Charles Féraud, “Annales Tripolitaines”, the Arabic version named “Al Hawliyat Al Libiya”,translated to Arabic by Mohammed Abdel Karim El Wafi, Dar el Ferjani, Tripoli, Libya, vol. 3, p.797.
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2015-08-06 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2015-08-06 .
↑ У К А З ПРЕЗИДЕНТА УКРАЇНИ Про нагородження орденом князя Ярослава Мудрого http://zakon2.rada.gov.ua (ในภาษายูเครน)
↑ Последний герой джамахирии. Кучма наградил Каддафи орденом Ярослава Мудрого CentrAsia (Ria Novosti) (ในภาษารัสเซีย)
↑ "From Libya, with love. Gaddafi's camels in Eastern Bloc" . Expats.cz. 1 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-12-09. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013 .
↑ "Kaczyński odznaczył Mubaraka" (ภาษาโปแลนด์). Newsweek . 10 April 2011. สืบค้นเมื่อ 19 June 2013 .
↑ 1997 National Orders awards เก็บถาวร 2012-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน South African government information
↑ "Gaddafi defiant over Lockerbie bomb trial" . BBC. 29 October 1997. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013 .
แหล่งข้อมูลอื่น
องค์การเอกภาพแอฟริกา สหภาพแอฟริกา