มาเรีย ชาราโปวา

มาเรีย ชาราโปวา
มาเรีย ชาราโปวาใน 2015 มูตัวมาดริดโอเพน
ชื่อเต็มMaria Yuryevna Sharapova
ชื่อจริงМари́я Ю́рьевна Шара́пова
ประเทศ (กีฬา) รัสเซีย
ถิ่นพำนักบราเดนตัน รัฐฟลอริดา สหรัฐ
วันเกิด (1987-04-19) 19 เมษายน ค.ศ. 1987 (37 ปี)
เนียกุน สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต
ส่วนสูง1.88 m (6 ft 2 in)[1]
เทิร์นโปรApril 19, 2001[1]
การเล่นมือขวา (แบ็กแฮนด์สองมือ)[1]
ผู้ฝึกสอนYuri Sharapov
Michael Joyce (2008–10)
Thomas Högstedt (2010–13)[2]
จิมมี คอนเนอส์ (2013)
Sven Groeneveld (2013–present)
เงินรางวัลUS$ 36,766,149[3]
เดี่ยว
สถิติอาชีพ592–142 (80.7%)[1]
รายการอาชีพที่ชนะ35 WTA, 4 ITF
อันดับสูงสุดNo. 1 (August 22, 2005)[1]
อันดับปัจจุบันNo. 7 (February 29, 2016)[1]
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว
ออสเตรเลียนโอเพนW (2008)
เฟรนช์โอเพนW (2012, 2014)
วิมเบิลดันW (2004)
ยูเอสโอเพนW (2006)
การแข่งขันอื่น ๆ
Tour FinalsW (2004)
คู่
สถิติอาชีพ23–17[1]
รายการอาชีพที่ชนะ3 WTA[1]
อันดับสูงสุดNo. 41 (June 14, 2004)[1]
ผลแกรนด์สแลมคู่
ออสเตรเลียนโอเพน2R (2003, 2004)
ยูเอสโอเพน2R (2003)
คู่ผสม
ผลแกรนด์สแลมคู่ผสม
US OpenQF (2004)
การแข่งขันแบบทีม
Fed CupW (2008), สถิติ 7–1
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 1 กันยายน 2558

มาเรีย ยูรืยเอฟนา ชาราโปวา (อังกฤษ: Maria Yuryevna Sharapova; รัสเซีย: Мари́я Ю́рьевна Шара́пова; เกิด 19 เมษายน 2530) เป็นนักเทนนิสอาชีพชาวรัสเซีย ซึ่งสมาคมนักเทนนิสอาชีพหญิงจัดให้อยู่ในอันดับ 7 ของโลก เป็นผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ในสหรัฐตั้งแต่ปี 2537[4] แข่งขันดับเบิลยูทีเอทัวร์ตั้งแต่ปี 2544 เธอเคยถูกจัดอยู่อันดับ 1 ของโลกโดยดับเบิลยูทีเอในห้าโอกาส รวม 21 สัปดาห์ เธอเป็นหญิงหนึ่งในสิบคนและชาวรัสเซียคนเดียวที่ครองแกรนด์สแลมอาชีพ เธอยังได้เหรียญโอลิมปิก โดยคว้าเหรียญเงินให้ประเทศรัสเซียในประเภทหญิงเดี่ยวในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในกรุงลอนดอน

ชาราโปวาเป็นหมายเลข 1 ของโลกเป็นครั้งแรกในวันที่ 22 สิงหาคม 2548 ขณะอายุ 18 ปี และครั้งสุดท้ายครองตำแหน่งเป็นครั้งที่ห้าเป็นเวลาสี่สัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2555 ถึง 8 กรกฎาคม 2555[5][6] การชนะเลิศประเภทเดี่ยวของเธอ 35 ครั้ง และแกรนด์สแลม 5 ครั้ง สองครั้งทีเฟรนช์โอเพนและที่ออสเตรเลียนโอเพน วิมเบิลดันและยูเอสโอเพนอีกที่ละครั้ง อยู่ในอันดับสามในบรรดานักกีฬาที่ยังแข่งขันอยู่ ตามหลังเซเรนาและวีนัส วิลเลียมส์ เธอชนะรอบสุดท้ายดับเบิลยูทีเอสิ้นปีในการเปิดตัวเธอในปี 2547 เธอยังชนะเลิศประเภทคู่สามครั้ง

แม้เป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ แต่ชาราโปวามีช่วงเวลาระดับที่หาได้ยากในกีฬาหญิง เธอชนะเลิศประเภทเดี่ยวอย่างน้อยหนึ่งรายการต่อปีตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2558 เป็นสถิติต่อเนื่องที่เป็นรองเพียงสเตฟฟี กราฟ, มาร์ตินา นาฟราติโลวา, และคริส เอเวิร์ต ผู้เชี่ยวชาญเทนนิสหลายคนและอดีตนักกีฬาเรียกชาราโปวาว่าเป็นผู้เข้าแข่งขันเทนนิสยอดเยี่ยมคนหนึ่ง โดยจอห์น แม็กเอ็นโรเรียกเธอว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งที่กีฬาเทนนิสเคยเห็น[7]

ชาราโปวายังได้งานเดินแบบจำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงเป็นนางแบบในสปอตส์อิลละสเตรติดสวิมสูตอิชชู (Sports Illustrated Swimsuit Issue) เธอปรากฏในหลายโฆษณา ซึ่งรวมไนกี พรินซ์และแคนอน นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 เธอเป็นทูตสันถวไมตรีโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยสนใจโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเชอร์โนบิลเป็นพิเศษ ในเดือนมิถุนายน 2554 เธอได้รับขนานนามเป็นหนึ่งใน "30 ตำนานเทนนิสหญิง: อดีต ปัจจุบันและอนาคต" โดยไทม์[8] และในเดือนมีนาคม 2555 เทนนิสแชนเนลยังยกให้เป็นหนึ่งใน "100 ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" จากข้อมูลของฟอบส์ เธอเป็นนักกีฬาหญิงที่มีรายได้สูงสุดในโลก 11 ปีติดต่อกัน และทำรายได้ 285 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งรวมเงินรางวัลตั้งแต่เธอเล่นอาชีพในปี 2544[9][10]

ในเดือนมีนาคม 2559 ชาราโปวาเปิดเผยว่าเธอไม่ผ่านการทดสอบสารกระตุ้นที่ออสเตรเลียนโอเพน[11]

รางวัล

พ.ศ. 2546

  • Women's Tennis Association (WTA) Newcomer of the Year

พ.ศ. 2547

  • WTA Player of the Year
  • WTA Most Improved Player of the Year

พ.ศ. 2548

  • ESPY Best Female Tennis Player
  • นักกีฬาหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี โดยสหพันธ์เทนนิสรัสเซีย
  • Master of Sports of Russia
  • Prix de Citron Roland Garros

พ.ศ. 2549

  • นักกีฬาหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี โดยสหพันธ์เทนนิสรัสเซีย
  • Whirlpool 6th Sense Player of the Year

พ.ศ. 2550

  • ESPY Best Female Tennis Player
  • ESPY Best International Female Athlete
  • ESPY Best Female Tennis Player

พ.ศ. 2553

  • WTA Fan Favorite Singles Player
  • WTA Humanitarian Of The Year
  • WTA Most Fashionable Player (On Court)
  • WTA Most Fashionable Player (Off Court)
  • WTA Most Dramatic Expression

พ.ศ. 2555

  • ESPY Best Female Tennis Player
  • Medal of the Order For Merit to the Fatherland 2nd Class
  • Medal of the Order For Merit to the Fatherland 1st Class

ชีวิตส่วนตัว

อุบัติเหตุนิวเคลียร์ ที่เชอร์โนบิล ในปี ค.ศ. 1986 ทำให้พ่อแม่ของ ชาราโปวา ยูริ และ เยเลนา ต้องย้ายถิ่นฐาน จาก โกเมล เบลารุส ไปยังเมือง Nyagan ในไซบีเรีย บ้านของบิดาของเยเลนา [12] โดยเยเลนาได้ให้กำเนิดมาเรีย หลังจากนั้น 1 ปี

เมื่อชาราโปวาอายุได้ 2 ปี ครอบครัวของเธอได้ย้ายไป โซชิ ที่นั่นเพื่อนสนิทของพ่อเธอ อเล็กซานเดย์ คาเฟลนิคอฟ (Aleksandr Kafelnikov) (ลูกชายของเขา ก็คือ เยฟเจนี คาเฟลนิคอฟ นักเทนนิสอันดับ 1 โลกและชนะสองแกรนด์สแลมชายเดี่ยว ) อเล็กซานเดย์ให้ไม้เทนนิสแก่ชาราโปวาเป็นครั้งแรกตอนเธออายุ 4 ปี จากนั้นเธอก็เริ่มฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอกับพ่อของเธอที่สวนสาธารณะในเมือง เธอเข้ามาฝึกเรียนเทนนิสครั้งแรกกับโค้ชยูริ ยัตคิน (Yuri Yutkin) ซึ่งประทับใจทันทีเมื่อเขาเห็นเธอเล่น เขาบอกว่า "มือประสานงานกับตาที่โดดเด่น."

เมื่ออายุ 6 ปี ชาราโปวา ได้เข้าร่วมคลินิกเทนนิสในมอสโก ซึ่งสอนโดย มาร์ตินา นาฟราติโลวา เธอได้รับคำแนะนำจากนาฟราติโลวาเกี่ยวกับ วิทยาลัยเทนนิส นิค บอลเลทเทอรี (Nick Bollettieri Tennis Academy) สถาบันสอนเทนนิสในฟลอริดา ซึ่งผู้ได้รับการฝึกอบรมก่อนหน้านี้ เช่น อานเดร แอกัสซี

พ่อของ ชาราโปวา พาเธอมายังสหรัฐอเมริกาเมื่อเธออายุได้ 7 ปี เพื่อเข้าฝึกที่ วิทยาลัยเทนนิส นิค บอลเลทเทอรี ในเมืองแบลดเดนตัน [13][14][15] แม่ของเธอ เยเลนา ไม่สามารถเดินทางมาด้วย เนื่องจากปัญหาด้านวีซ่า ได้ตามมาหลังจากนั้น 2 ปี [12] ชาราโปวาอาศัยอยู่ที่ สหรัฐอเมริกาตั้งแต่นั้นมา แต่ยังคงสัญชาติ รัสเซียไว้[15] เธอมีบ้านอยู่ในเมืองแมนแฮตตันบีช ในรัฐแคลิฟอร์เนีย[16]

สถิติการแข่งขันอาชีพ

แกรนด์สแลม

รอบชิงชนะเลิศ: 10 (ชนะเลิศ 5, รองชนะเลิศ 5) 
ผลลัพธ์ ปี รายการ พื้นผิว คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
ชนะเลิศ 2547 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน หญ้า สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียมส์ 6–1, 6–4
ชนะเลิศ 2549 สหรัฐอเมริกา ยูเอสโอเพน คอนกรีต เบลเยียม จัสติน เอแนง 6–4, 6–4
รองชนะเลิศ 2550 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน คอนกรีต สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียมส์ 1–6, 2–6
ชนะเลิศ 2551 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน คอนกรีต เซอร์เบีย อนา อิวาโนวิช 7–5, 6–3
รองชนะเลิศ 2554 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน หญ้า เช็กเกีย เปตรา ควิโตวา 3–6, 4–6
รองชนะเลิศ 2555 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน คอนกรีต เบลารุส วิคตอเรีย อซาเรนกา 3–6, 0–6
ชนะเลิศ 2555 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน ดิน อิตาลี ซารา เออร์รานี 6–3, 6–2
รองชนะเลิศ 2556 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน ดิน สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียมส์ 4–6, 4–6
ชนะเลิศ 2557 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน ดิน โรมาเนีย ซิโมนา ฮาเล็ป 6–4, 6–7, 6–4
รองชนะเลิศ 2558 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน คอนกรีต สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียมส์ 3–6, 6–7

ชิงแชมป์ปลายปี

รอบชิงชนะเลิศ: 3 (ชนะเลิศ 1, รองชนะเลิศ 2)

ผลลัพธ์ ปี รายการ พื้นผิว คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
ชนะเลิศ 2547 สหรัฐอเมริกา ลอสแอนเจลิส คอนกรีต สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียมส์ 4–6, 6–2, 6–4
รองชนะเลิศ 2550 สเปน มาดริด คอนกรีต เบลเยียม จัสติน เอแนง 7–5, 5–7, 3–6
รองชนะเลิศ 2555 ตุรกี อิสตันบูล คอนกรีต สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียมส์ 4–6, 3–6

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "Maria Sharapova". WTA. สืบค้นเมื่อ September 1, 2015.
  2. Maria Sharapova splits with coach – Beyond the Baseline – SI.com
  3. "MILLION DOLLAR CLUB" (PDF). WTAtennis.com.
  4. Simon Briggs (August 28, 2013). "US Open 2011: Elena Baltacha warns Heather Watson of the extreme intensity of Maria Sharapova". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ May 4, 2013.
  5. "Notes& Netcords" (PDF). WTA. July 16, 2012. สืบค้นเมื่อ May 19, 2013.
  6. "Maria Sharapova reclaims world number one ranking". 3News. MediaWorks TV. June 8, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-28. สืบค้นเมื่อ May 4, 2013.
  7. "McEnroe Insights: Maria Sharapova". 3News. YouTube. January 26, 2011. สืบค้นเมื่อ January 11, 2015.
  8. William Lee Adams (June 22, 2011). "30 Legends of Women's Tennis: Past, Present and Future – Maria Sharapova". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-28. สืบค้นเมื่อ August 19, 2011.
  9. "The World's Highest-Paid Female Athletes 2015". Forbes. สืบค้นเมื่อ August 12, 2015.
  10. Kurt Badenhausen. "How Maria Sharapova Earned $285 Million During Her Tennis Career". Forbes. สืบค้นเมื่อ March 8, 2016.
  11. "Maria Sharapova failed drugs test at Australian Open". BBC. 8 March 2016.
  12. 12.0 12.1 Associated Press (2007-08-13). "Maria Sharapova plans 1st trip back to Chernobyl since family fled". International Herald Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2008-01-27.
  13. "Maria Sharapova Inc". Sydney Morning Herald (Australia). 2008-01-20.
  14. "Tennis academy where stars are born". British Broadcasting Corporation.
  15. 15.0 15.1 Dennis Campbell (2004-11-28). "Love match turns to hate as Russian stars attack Maria". The Guardian (United Kingdom).
  16. Kathy Ehrich-Dowd (2006-04-17). "Celebrity Q & A - Maria Sharapova". People Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-23. สืบค้นเมื่อ 2008-01-27.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!