มาลีเอโตอา ลาอูเปปา ดำรงตำแหน่งเป็นมาลีเอโตอาใน ค.ศ. 1880 ถึง 1898
มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 1 ดำรงตำแหน่งเป็นมาลีเอโตอาใน ค.ศ. 1898 ถึง 1939
มาลีเอโตอา (ซามัว : Mālietoa ; แม่แบบ:IPA-sm Mālietoa ) เป็นราชวงศ์ ของรัฐ และหนึ่งในสี่ตำแหน่งประมุข ที่ยิ่งใหญ่แห่งประเทศซามัว แปลตรงตัวเป็น "นักรบผู้ยิ่งใหญ่" ต้นกำเนิดของชื่อตำแหน่งมาจากประโยคสุดท้ายของนักรบชาวตองงาขณะหนีจากชายหาดไปที่เรือของพวกเขาว่า "มาลีเอโตอา, มาโลเอตาอู..." ("นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ขอบคุณสำหรับสงคราม)
ปัจจุบัน ผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือ มาลีเอโตอา ฟาอามาอูซีลี โมลี ผู้ถูกมอบให้ด้วยพระเกียรติแห่งมาลีเอ ในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2018 เสด็จขึ้นครองราชย์หลังมาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 2 พระราชบิดาสวรรคตในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2007[ 1] [ 2]
พงศาวลี
ต่อไปนี้คือรายนามมาลีเอตัวที่รวบรวม นอกจากนี้ยังมีการบันทึกในฉบับอื่น ๆ อีกเล็กน้อย; อย่างไรก็ตาม ความสอดคล้องโดยรวมของลำดับเหตุการณ์และการตั้งชื่อนั้น เมื่อพิจารณาจากคำบอกเล่ามุขปาฐะของลำดับวงศ์ตระกูลของซามัว
มาลีเอโตอา ซาเวอา - มาลีเอโตอาคนแรกหลังจากการยึดครองตองกาของอูโปลู, ซาไวอี. สมรส 3 ครั้ง. ครั้งแรกกับลูอาฟาตาซานา พระธิดาหัวหน้าเผ่าทูอานาอีมีพระโอรสคือ มาลีเอโตอา อูอิเลมาตูตู สมรสครั้งที่ 2 กับอามาอามาอูลา ผู้หญิงจากเผ่าทูอานาอี มีพระโอรสคือกากาซาเวอา, เลอูโปลูซาเวอา, และ อูมูซาเวอา. ครั้งที่ 3 กับโซโลโซโลอูตา มีพระโอรสคือโปลูเลอูลิกากา
มาลีเอโตอา อูอิเลมาตูตู - เป็นที่รู้จักในนามมาลีเอโตอา ฟาอีงาหรือมาลีเอโตอา ฟาอีซาอูเตเล เป็นที่รู้จักในปกรนัมของซามัวว่าเป็นทรราชย์ มนุษย์กินคน ที่ขูดรีดส่วยมนุษย์จากราษฎรของเขา.[ 3] สมรสกับอาลาอีนูอานูอา ตูอิโตงา, พระธิดาในตูอีโตงา และประทับ ณ โฟอางาบนชายฝั่งทางเหนือของเกาะอูโปลู พระอนุชาต่างพระชนนีเลอูโปลูซาเวอาและกากาซาเวอา อาจปกครองเป็นมาลีเอโตอาตามลำดับหรือพร้อมกันก็ได้ (ฐานะปรปักษ์)
มาลีเอโตอา กาโลอาอิโตโฟ
มาลีเอโตอา โซนาอิเลปูเล
มาลีเอโตอา เซอาลีอิเตเล
มาลีเอโตอา อูอิเลมาตูตู
มาลีเอโตอา เฟโตโลอาอิ
มาลีเอโตอา อูลา - เป็นที่รู้จักในนามมาลีเอโตอา วาเอตูอิหรือมาลีเอโตอาวาลาเลติมู ว่ากันว่าเป็นราชามนุษย์กินคนที่โหดร้าย ประทับ ณ เลโอเนอูตา, ใกล้หมู่บ้านแห่งอาโมอาบนเกาะอูโปลู
มาลีเอโตอา เลปาเลอาไล - "หัวหน้านักปราชญ์" เป็นที่รู้จักในความเฉลียวฉลาดและความโปรดปราณในปริศนาที่ซับซ้อน
มาลีเอโตอา อูอิตูอาลางี - พระโอรสในมาลีเอโตอา อูอิเลมาตูตู ฟาอีงา และ อาลาอีนูอานูอา ตูอิโตงา ตำแหน่งแห่งที่ในลำดับพระราชวงศ์เป็นที่ถกเถียง บางฝ่ายเชื่อว่าเป็นพระโอรสโดยสายเลือดในมาลีเอโตอา อูอิเลมาตูตู ฟาอีงา, บ้างก็ว่าเป็นพระโอรสบุญธรรม, และยังมีอีกหลายคนยืนยันว่าตำแหน่งของเขาคือผู้สืบเชื้อสายรุ่นที่ 7 นับจาก อูอิเลมาตูตู (ที่ซึ่งถูกจัดในรายพระนาม)
มาลีเอโตอา ลาอาอูลี - เป็นที่รู้จักในนามมาลีเอโตอา ลาอาอีเลโปอูลิอูลี เป็นพระโอรสบุญธรรมในมาลีเอโตอา อูอิตูอาลางี ดังนั้นจึงเป็นการสิ้นสุดระบบการสืบตระกูลฝั่งบิดา ของมาลีเอโตอาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นี่คือสิ่งที่ลำดับวงศ์ตระกูลบันทึก แต่ความจริงก็คือมาลีเอโตอา ซาเวอามีการแต่งงาน 3 ครั้งซึ่งหนึ่งในเชื้อสายของมาลีเอโตอาสายปัจจุบัน ทำให้เชื้อสายของมาลีเอโตอา ซาเวอาไม่ขาดสาย โดยบันทึกว่ามาลีเอโตอา อูอิตูอาลางีสมรสกับกาโตโลอาอีอาโอโอเลลางี มีพระโอรส 2 องค์ได้แก่ มาลีเอโตอา ลาอาอูลี, มาลีเอโตอา ฟูอาโอเลโตเอลาอู และพระธิดาซาโอตีอาเลอู
มาลีเอโตอา ฟูอาโอเลโตเอลาอู - พระโอรสในอูอิตูอาลางิ ทรงชิงราชสมบัติจากพระเชษฐาลาาอาอูอิโดยตั้งตนเป็นปรปักษ์ที่ซิอูมู อูโปลู พระนางโตฮูอิอา ลิมาโป บรรพบุรุษฝ่ายสตรีของราชวงศ์ตูอิกาโนกูโปลู แห่งตองกา ก็สืบเชื้อสายจากฟูอาโอเลโตเอลาอู[ 4]
มาลีเอโตอา ฟาเลฟาตู - พระโอรสในมาลีเอโตอา ลาอาอูลีกับพระชายาที่ 3 นูอูอิเลมาตูลิแห่งมาอางิอากี
มาลีเอโตอา เตาลาปาปา - สืบเชื้อสายจากมาลีเอโตอา ลาอาตูอิ เตาลาปาปามีชื่อเสียงจากมาวาเอกาของพระองค์หรือออกคำสั่งพระโอรสธิดาของพระองค์ (เตาฟิอา อา เล มาลีเอโตอา)
มาลีเอโตอา ไทอาโอโป - พระธิดาในมาลีเอโตอา เตาลาปาปาจาก 1 ใน 4 พระชายา (usuga ) เป็นมาลีเอโตอาสตรีพระองค์เดียวที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ พระสวามี มีสถานะเป็นหัวหน้าชาวตองกาในนามอานาวาอาโอซึ่งถือตำแหน่ง ฟาเล ฟิซี แห่งตูอิ ลาเคปา [ 5] ตำนานกล่าวถึงรัชกาลนี้มีความเมตตากรุณาและความสงบสุข พระอนุชาเซอูลี อาจจะเป็นมาลีเอโตอา 1 ครั้ง, แม้ว่าคำอธิบายอื่นยืนยันว่ามาลีเอโตอา เซอูลีสืบเชื้อสายจากมาลีเอโตอ่ซากากาอีมูลีซึ่งอ้างสิทธิ์ในช่วงนี้ มาลีเอโตอา เลอาฟูอิเตวากาถูกกล่าวถึงในลำดับวงศ์ตระกูลด้วยเช่นกัน
มาลีเอโตอา ตูอิลาเอปา - เห็นได้ชัดว่ามีพระยศภาษาตองกาที่ได้มาจากฟิจิคือตูอิ ลาเกปา (ตูอิลาเอปา) ที่พระบิดาถืออยู่ เช่นเดียวกับมาลีเอโตอา
มาลีเอโตอา โตโตอา ตูอิลาเอปา - เป็นไปได้ว่าเป็นองค์เดียวกับตูอิลาเอปา
มาลีเอโตอา อาเอโอไอนูอู - พระโอรสในตูอิลาเอปาหรือโตโตอา ตูอิลาเอปา
มาลีเอโตอา เลาลาอัวโฟลาซา
มาลีเอโตอา มูอากูตูติอา - เป็นที่รู้จักในนามมาลีเอ โตอาทีอา ย้ายราชธานีจากมาลีเอ อูโปลู ไปยังซาปาปาลีอิ ซาไวอี
มาลีเอโตอา ฟิติเซมานูที่ 1
มาลีเอโตอา ไวอีนูโป
มาลีเอโตอา นาตูอิตาซินา - พระอนุชาต่างมารดาในมาลีเอโตอา ไวอินูโป (มีพระบิดาร่วมกันคือมาลีเอโตอา ฟิติเซมานูที่ 1)
มาลีเอโตอา โมลี
มาลีเอโตอา ตาลาวู โทนูไมเปอา
มาลีเอโตอา ลาอูเปปา
มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 1
มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 2 (1913–2007), ดำรงตำแหน่ง 1939 ถึง 2007 เขาได้รับการสถาปนา 1939. เมื่อซามัวได้รับเอกราชใน 1962 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นโอ เล อาโอ โอเล มาโล (ประมุขแห่งรัฐ) ร่วมกับ ตูปูอา ตามาเซเซ เมอาโอเล
มาลีเอโตอา ฟาอามาอูซิลลี โมลี - ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 16 สิงหาคม 2018
พงศาวลีมาลีเอโตอา
อ้างอิง:
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ Tautua-Fanene, Deidre (2018-08-17). "Malietoa title bestowed at Malie" . Samoa Observer . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-08-14 .
↑ "Samoa court dismisses Malietoa contempt charges" . RNZ (ภาษาNew Zealand English). 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-08-14 .
↑ Flood & Strong. Pacific Island Legends
↑ Gifford, Edward. 1929. Tongan Society. Bishop Museum Press. pp. 87, 100, 102
↑ Gunson, Niel (1987). "Sacred Women Chiefs and Female 'Headmen' in Polynesian History". Journal of Pacific History . 22 (3): 139–72. doi :10.1080/00223348708572563 .
บรรณานุกรม
Kirch, Patrick (1989). The Evolution of the Polynesian Chiefdoms . Cambridge University Press . ISBN 978-0-521-27316-9 .
Kramer, Augustin (1995). The Samoa Islands, Volumes I & II . University of Hawai'i Press . ISBN 978-0-8248-1634-6 .
Bevans, Charles (1968). Treaties and Other International Agreements of the United States of America . Dept. of State .
Gilson, Richard (1970). Samoa 1830-1900: The Politics of a Multi-Cultural Community . Oxford University Press .
Goldman, Irving (1985). Ancient Polynesian Society . University of Chicago Press .
Meleisea, Malama (1987). Lagaga: A Short History of Western Samoa . University of the South Pacific .
Moyle, R. (ed) (1984). The Samoan Journals of John Williams 1830-1832 . Australian National University Press .
Henry, Brother F. (1979). History of Samoa . Commercial Printers Ltd.
Fitisemanu and Wright (1970). Sacred Hens and Other Legends of Samoa .
Field, Michael (1984). Mau: Samoa's Struggle Against New Zealand Oppression . A.H & A.W. Reed .
Stair, John B. (1897). Old Samoa or Flotsam and Jetsam from the Pacific Ocean . Oxford University Press .
Stuebel and Brother Herman (1995). Tala o le Vavau: The Myths, Legends and Customs of Old Samoa . University of Hawai'i Press .
Tu'u'u, Misilugi (2001). Rulers of Samoa Islands and their Legends and Decrees . Tuga'ula Publications .
Tu'u'u, Misilugi (2002). Supremacy and Legacy of the Malietoa (Samoa Listened To) . Tuga'ula Publications .
Hart, Wright & Patterson (1971). History of Samoa . Pesega LDS Press .
Mageo, Jeanette (2002). "Myth, Cultural Identity and Ethnopolitics: Samoa and the Tongan "Empire" " . Journal of Anthropological Research . 58 (4): 493–520.
Schoeffel, Penelope (1987). "Rank, Gender and Politics in Ancient Samoa: The Genealogy of Salamāsina O le Tafaifā". Journal of Pacific History . 22 (4): 174–193. doi :10.1080/00223348708572566 .
Stuebel, C. (1899). "War of Tonga and Samoa and Origin of the Name Malietoa". Journal of the Polynesian Society . VIII : 231–234.
Tamasese, Tuiatua Tupua (1994). "The Riddle in Samoan History: The Relevance of Language, Names, Honorifics, Genealogy, Ritual and Chant to Historical Analysis". Journal of Pacific History . 29 (1): 66–79. doi :10.1080/00223349408572759 .
Tuimaleali'ifano, Morgan (1998). "Titular Disputes and National Leadership in Samoa". Journal of Pacific History . 33 (1): 91–103. doi :10.1080/00223349808572860 .
Gunson, Neil (1997). "Great Families of Polynesia: Inter-Island Links and Marriage Patterns". Journal of Pacific History . 32 (2): 139–179. doi :10.1080/00223349708572835 .
Gunson, Neil (1987). "Sacred Women Chiefs and Female 'Headmen' in Polynesian History". Journal of Pacific History . 22 (3): 139–72. doi :10.1080/00223348708572563 .
แหล่งข้อมูลอื่น