มัสรัต ซหรา (Masrat Zahra; เกิด 8 ธันวาคม 1993) เป็นนักข่าวฟรีแลนซ์สายงานภาพถ่ายข่าว (photojournalist) จากเมืองศรีนคร ชัมมูและกัศมีร์ เธอทำงานมุ่งเน้นไปที่เรื่องราวของชุมชนและสตรี เธอได้ระยรางวัล 2020 ความกล้าหาญในสายงานภาพถ่ายสำหรับข่าว อันยา นีดริงเฮาส์ ("Anja Niedringhaus Courage" in Photojournalism) จากมูลนิธิสื่อสตรีสากล และรางวัลคนข่าวกล้าหาญและมีจริยธรรมปีเตอร์ มัคเลอร์ (Peter Mackler Award for Courageous and Ethical Journalism) ในปี 2020
ประวัติ
มัสรัต ซหรา เกิดในย่านฮะวาล ของเมืองศรีนคร[1] ในครอบครัวชาวมุสลิม[2][3] ยิดาเป็นคนขับรถบรรทุกและมารดาเป็นแม่บ้าน[2] เธอเข้าศึกษาต่อด้านวารสารศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกลางกัศมีร์[1] เธอมีผลงานการถ่ายภาพข่าวจากข้อพิพาทกัศมีร์ที่ถูกนำไปใช้รายงานต่อโดยสำนักข่าวจากนานาชาติ เช่น เดอะวอชิงตันโพสต์, เดอะฮิวมานิทาเรียน, ทีอาร์ทีเวิลด์, อัลจาซีรา, เดอะคาราวาน และเดอะซัน[4][5][1]
ในวันที่ 3 สิงหาคม 2019 ก่อนการยกเลิกสถานะพิเศษของรัฐชัมมูและกัศมีร์ เธอได้รับมอบหมายให้ส่งผลงานให้กับเจอร์นัลลิสตส์อันเดอร์ฟายร์ (Journalists Under Fire) นิทรรศการที่จะจัดขึ้นในนครนิวยอร์ก โดยยูไนเต็ดโฟโต้อินดัสทรีส์ (United Photo Industries) และ เซนต์แอนส์แวร์เฮาส์ (St Ann's Warehouse) ร่วมกับคณะกรรมการปกป้องนักข่าว อย่างไรก็ตาม สองวันถัดมาในวันที่ 5 รัฐบาลทำการตัดอินเทอร์เน็ตทั่วชัมมูและกัศมีร์ ส่งผลให้เธอไม่สามารถส่งผลงานเข้าจัดแสดงได้ทันท่วงที[6]
ในเดือนเมษายน 2020 กองบังคับการตำรวจชัมมูและกัศมีร์ขึ้นชื่อซหราในรายงานเอฟไออาร์ภายใต้รัฐบัญญัติกิจกรรมอันขัดต่อกฎหมาย (การป้องกัน) ซึ่งปกติมีไว้ใช้กับผู้ก่อการร้าย[11] ตำรวจอ้างว่าได้รับแจ้งว่าซหราทำการอัปโหลดโพสต์ที่มีเนื้อหา "ชังชาติ" ("anti-national posts") ขึ้นบนเฟซบุ๊กโดยมีเป้าหมายเพื่อ "จงใจจะก่ออาชญากรรมโดยการปลุกปั่นเยาวชน" (criminal intention to induce the youth) ในขณะที่ความเป็นจริงเธอมีแค่อัปโหลดภาพถ่ายข่าวของเธอเท่านั้น[12] การกระทำนี้ถูกประณามว่าเป็นการโจมตีนักข่าว โดยนักวิชาการและนักเคลื่อนไหว 450 คนลงนามประณาม[11]
รางวัล
ในปี 2020 ซหราได้รับรางวัลความกล้าหาญในการถ่ายภาพข่าว อันยา นีดริงเฮาส์ (Anja Niedringhaus Courage in Photojournalism) จากมูลนิธิสื่อสตรีสากล[13][14][4]
อ้างอิง