อาสนวิหารนักบุญยอห์นแบปติสต์ (อิตาลี : Duomo di San Giovanni Battista ) หรือ มหาวิหารมอนซา (อิตาลี : Duomo di Monza ) เป็นคริสต์ศาสนสถาน โรมันคาทอลิก ที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ตั้งอยู่ที่เมืองมอนซา ไม่ไกลจากมิลาน ในประเทศอิตาลี
ประวัติ
ตามตำนานกล่าวกันว่าพระนางเทโอเดลินดา พระราชินีอิตาลีจากลอมบาร์ดี เป็นผู้ทรงว่าจ้างให้สร้างคริสต์ศาสนสถานแห่งนี้ขึ้น ทรงตั้งปณิธานว่าจะถวายนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา วันหนึ่งขณะที่ทรงม้ามาตามริมฝั่งแม่น้ำแลมโบร นกพิลาบก็เอ่ยว่า “Modo” หรือ “ที่นี่” พระองค์ก็ทรงตอบว่า “Etiam” หรือ “ตกลง” มอนซาเดิมชื่อว่า “โมเดเชีย” (Modoetia)
ในปี ค.ศ. 595 พระราชินีเทโอเดลินดาก็มีพระราชเสาวนีย์สร้าง “oraculum” (ชาเปลพระราชินี) ทรงกากบาด ชาเปลนี้ปัจจุบันยังคงเหลือแต่กำแพง พระบรมศพของพระองค์ก็ฝังอยู่ ณ ที่นี้ที่ในปัจจุบันคือช่องทางเดินทางซ้าย บนซากชาเปลพระราชินีก็ได้มีการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานใหม่ที่เริ่มขึ้นราวปี ค.ศ. 1300 เป็นทรงกากบาด ต่อมาก็ได้มีการเพิ่มคูหาสวดมนต์ด้านข้างอีกหลายคูหาที่ออกแบบโดยมัตเตโอ ดา คัมปิโอเน เพิ่มด้านหน้าแบบกอธิคปิซาที่เป็นหินอ่อนขาวสลับเขียว
เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณร้องเพลงสวดและเพดาน ต่อมาผนังและเพดานก็ได้รับการตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนัง และปูนปั้น หอระฆัง ได้รับการสร้างในปี ค.ศ. 1606 ขณะที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็ได้มีการสร้างสุสานติดกับทางด้านซ้ายของโบสถ์
ด้านหน้า
โค้งพระจันทร์ครึ่งซีก เหนือประตู
หน้าต่างกุหลาบ
ด้านหน้าอันใหญ่โตของมหาวิหารแบ่งออกเป็นห้าส่วน แต่ละส่วนก็ตกแต่งด้วยเครื่องยอด (tabernacle) ที่มีรูปสลักอยู่ภายใน นอกจากนั้นก็มีหน้าต่างหลายหน้าต่าง ตรงกลางเป็นหน้าต่างกุหลาบ ล้อมรอบด้วยลวดลายที่มีพื้นฐานมาจากเพดานโรมันโบราณ, ตกแต่งด้วยลายกุหลาบ, หน้ากาก และ ดวงดาว
โครงสร้างด้านหน้าถือกันว่าเป็นแบบโรมานเนสก์ แต่การตกแต่งเป็นแบบกอทิก นอกจากนั้นก็ยังมีสิ่งที่เป็นกอทิกอีกอย่างหนึ่งคือซุ้มทางเข้า พร้อมด้วยการตกแต่งด้วยปนาลี ของคริสต์ศตวรรษที่ 14 บนด้านข้าง และโค้งพระจันทร์ครึ่งซีก ของคริสต์ศตวรรษที่ 13 พร้อมด้วยรูปสลักครึ่งตัวของพระราชินีธีโอเดลินดาและพระเจ้าอกิลุล์ฟ เหนือซุ้มทางเข้าเป็นประติมากรรมนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา (คริสต์ศตวรรษที่ 15) ทำพิธีประทานศีลจุ่มแก่พระเยซูโดยมีซีโมนเปโตร , พระแม่มารีย์ นักบุญเศคาริยาห์ และเปาโลอัครทูต เป็นพยาน ตอนบนเป็นพระราชินีธีโอเดลินดาประทานมงกุฎเหล็กแห่งลอมบาร์ดี แก่นักบุญยอห์นพร้อมด้วยพระเจ้าอกิลุล์ฟ พระสวามี และอดาโลอาลด์ และ กุนเดอเบอร์กา พระราชโอรส
ภายใน
โบสถ์ประกอบด้วยทางเดินกลาง ที่ขนาบด้วยทางเดินข้าง ที่แยกจากกันด้วยเสาหกเหลี่ยมทีมีหัวเสาแบบโรมาเนสก์ และ เสากลมทีมีหัวเสาแบบบาโรก ตอนปลายสุดเป็นมุขโค้งด้านสกัด ขนาดใหญ่ และ ด้านข้างมีชาเปล ราย
ผนังตกแต่งอย่างบาโรก งานศิลปะอื่นๆ ก็ได้แก่บริเวณร้องเพลงสวด โดยมัตเตโอ ดา คัมปิโอเน แท่นบูชาเอกโดยอันเดรีย อัพพิอานี , จิตรกรรมฝาผนังในบริเวณสังฆบริเวณและแขนกางเขน and transept frescoes by จุยเซ็ปเป เมดา และ จุยเซ็ปเป อาร์ชิมโบลโด .
สมบัติ
แขนกางเขน ทางด้านขวาเป็นทางเข้าพิพิธภัณฑ์แซร์เพอโรที่เป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติของมหาวิหารที่รวมทั้งมงกุฎเหล็กแห่งลอมบาร์ดี และบานพับภาพงาช้าง “บานพับภาพกวีและมิวส์ ” และงานอันมีค่าจากสมัยโบราณจนถึงต้นยุคกลางอีกเป็นจำนวนมาก หลายชิ้นมาจากพระราชินีธีโอเดลินดา ที่รวมทั้งถ้วย ampulla ที่ทำจากตะกั่วของคริสต์ศตวรรษที่ 6 จากดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นงานรูปเคารพ ทางคริสต์ศาสนาในระยะแรกที่รวมทั้งภาพการตรึงกางเขนของพระเยซู และ การประสูติของพระเยซู ที่กลายมาเป็นงานมาตรฐานต่อมาในยุคกลางและเลยไปจากนั้น[ 1] ห้องสมุดของมหาวิหารก็มีงานหนังสือวิจิตร สำคัญๆ หลายเล่ม
ชาเปลธีโอเดลินดา
นอกไปจากมงกุฎเหล็กแล้วสิ่งที่ดึงดูดความสนใจที่สุดอีกสิ่งหนึ่งของมหาวิหารคือชาเปลธีโอเดลินดา ภายในชาเปลเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่เขียนโดยห้องเขียนภาพซาวัตตารี เป็นภาพฉากพระราชประวัติของพระราชินีธีโอเดลินดา เช่นเมื่อทรงพบนกพิลาบ, การขอแต่งงาน, การพบปะกับออธารี , ความตายของออธารี ในสนามรบ และการเสกสมรสใหม่กับอกิลุลฟ เครื่องแต่งตัวของบุคคลในภาพเป็นเครื่องแต่งกายอันหรูหราของสมัยวิสคอนติ เพดานเป็นภาพนักบุญและอีแวนเจลลิสบนบัลลังก์ของคริสต์ศตวรรษที่ 14
อ้างอิง
บรรณานุกรม
Hahn, Cynthia, The Meaning of Early Medieval Treasuries , in Reliquiare im Mittelalter, Volume 5 of Hamburger Forschungen zur Kunstgeschichte , eds Bruno Reudenbach, Gia Toussaint, Akademie Verlag, 2005, ISBN 305004134X , 9783050041346, google books เก็บถาวร 2014-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหาวิหารมอนซา
ระเบียงภาพ