มติอ่าวตังเกี๋ย (หรือ มติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Pub.L. 88–408, 78 Stat. 384) เป็นมติร่วมซึ่งรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาผ่านเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1964 เพื่อตอบโต้ยุทธนาวีระหว่างกองเรือตอร์ปิโด 135[1] ของกองทัพเรือเวียดนามเหนือ และเรือพิฆาต ยูเอสเอส แมดด็อกซ์ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม และยุทธนาการทางทะเลครั้งที่สองที่ว่ากันระหว่างเรือเวียดนามเหนือและเรือประจัญบาน ยูเอสเอส แมดด็อกซ์ และยูเอสเอส เทอร์เนอร์ จอย เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมในอ่าวตังเกี๋ย การปฏิบัติทั้งสองนี้รวมรู้จักกันในชื่อ กรณีอ่าวตังเกี๋ย
มติอ่าวตังเกี๋ยมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะมอบอำนาจแก่ประธานาธิบดีสหรัฐ ลินดอน บี. จอห์นสัน ให้ใช้กำลังทหารตามแบบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไม่ต้องรอการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการจากรัฐสภาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มติดังกล่าวมอบอำนาจแก่ประธานาธิบดีในการกระทำการใด ๆ ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุน "สมาชิกหรือรัฐภาคีใด ๆ ของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ซึ่งรวมไปถึงการใช้กำลังทหารด้วย มติดังกล่าวได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ในสภาผู้แทนราษฎร ต่อมารัฐบาลจอห์นสันอาศัยอำนาจตามมติดังกล่าวเริ่มต้นการยกระดับความเกี่ยวข้องทางทหารของสหรัฐในเวียดนามใต้ และสงครามอย่างเปิดเผยระหว่างเวียดนามเหนือกับสหรัฐอเมริกา[2]
เชิงอรรถ
- ↑ Moise, p. 78
- ↑ "Gulf of Tonkin Measure Voted In Haste and Confusion in 1964", The New York Times, 1970-06-25
อ้างอิง
- Moise, Edwin E. Tonkin Gulf and the Escalation of the Vietnam War. (1996), The University of North Carolina Press. ISBN 0-8078-2300-7.
แหล่งข้อมูลอื่น