ภีมราว รามชี อามเพฑกร

ดร.ภีมราว รามชี อามเพฑกร
เกิด14 เมษายน ค.ศ. 1891(1891-04-14)
เกิดใน Mhow (ปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ ดร.อามเพฑกร นคร/Dr. Ambedkar Nagar ใน รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต6 ธันวาคม ค.ศ. 1956(1956-12-06) (65 ปี)
นิวเดลี ประเทศอินเดีย
สัญชาติอินเดีย
มีชื่อเสียงจากรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมคนแรกของอินเดีย
ขบวนการสิทธิทลิต (Dalit rights movement)
หัวหน้าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย (Constitution of India)
ขบวนการชาวพุทธทลิต (Dalit Buddhist movement)
คู่สมรสรามาพาอี อามเพฑกร (พ.ศ. 2449)[1]
สาวิตา อามเพฑกร (พ.ศ. 2491)[2]
บิดามารดารามชี มาโลชี สักปาล
ภีมาพาอี สักปาล
ลายมือชื่อ

ดร.ภีมราว รามชี อามเพฑกร (มราฐี: भीमराव रामजी आंबेडकर) หรือบางครั้งนิยมทับศัพท์เป็น เอมเบดการ์ หรือ อัมเบดการ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและกระทรวงยุติธรรมของอินเดีย และเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย ท่านถูกยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย" อีกด้วย อามเพฑกร เป็นผู้อุปถัมภพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย และได้เดินร่วม ขบวนกับ มหาตมา คานธี และชวาหระลาล เนห์รู เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ต่อมาเนห์รูได้เป็นนายกรัฐมนตรีและได้แต่งตั้งให้อามเพฑกร เป็นรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและกระทรวงยุติธรรม[3][4][5][6][7][8]

ชีวิตในเยาว์วัย

ภีมราว รามชี อามเพฑกร (Bhimrao Ramji Ambedkar) เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1891 ในตระกูลสังข์ปาล (Sakpal) ซึ่งเป็นจัณฑาล กลุ่มคนที่มีสถานะต่ำต้อยที่สุดในศาสนาฮินดู ครอบครัวของเขาอาศัยอยู่ที่เมือง Mhow พ่อของอามเพฑกรทำงานเป็นทหารอังกฤษ และมีความก้าวหน้ากว่าจัณฑาลกลุ่มอื่น ครอบครัวสังข์ปาลจึงเห็นความสำคัญของการศึกษา และเขี่ยวเข็ญให้ลูกๆ ได้เล่าเรียนหนังสือ ถึงขั้นที่เมื่อครอบครัวสังข์ปาลต้องย้ายไปบอมเบย์ (ปัจจุบันคือมุมไบ) และเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน พี่ชายของอามเพฑกรต้องยอมเลิกเรียนหนังสือไปทำงานในโรงงานเพื่อช่วยค้ำจุนบ้าน และส่งเสียให้อามเพฑกรได้เรียนหนังสือ [9]

อามเพฑกรต้องเผชิญกับการกีดกันทางวรรณะที่แสนเลวร้าย เพราะนามสกุลเดิมอย่างสังข์ปาล หรือนามสกุลใหม่ของครอบครัวที่ตั้งตามภูมิลำเนาอย่าง อัมบาวาเดการ์ (Ambavadekar) ยังแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นจัณฑาลอย่างชัดเจนโดยในชั้นเรียน อามเพฑกรถูกเลือกปฏิบัติหลายอย่าง เช่น ถูกครูสั่งให้นำผ้าปูพื้นเก่า ๆ มานั่งแยกจากเพื่อนนักเรียน ไม่มีเพื่อนมาพูดคุยหรือเล่นด้วย ไม่ได้กินข้าวกับเพื่อน ๆ จำเป็นต้องกินน้ำโดยไม่มีแก้ว และถูกห้ามเรียนภาษาสันสกฤต เพราะความเชื่อที่ว่าจัณฑาลต่ำต้อยและแปดเปื้อนเกินกว่าจะศึกษาภาษาสันสกฤตอันศักดิ์สิทธิ์ได้ อามเพฑกรจึงเติบโตกับการถูกเลือกปฏิบัติโดยการตีตราทางวรรณะ แต่เขายังได้รับโอกาสที่ดี เมื่อ กฤษณาจี เคชาฟ อามเพฑกร (Krishnaji Keshav Ambedkar) ครูวรรณะพราหมณ์ซึ่งเอ็นดูเขาเป็นพิเศษ อนุญาตให้เขาใช้นามสกุล “อามเพฑกร” จนหลายคนเข้าใจผิดคิดว่า อามเพฑกรเป็นคนในวรรณะพราหมณ์ ซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานที่ต้องเผชิญได้เป็นอย่างดี อามเพฑกรจึงยกย่องสรรเสริญครูคนนี้มาก เพราะนามสกุลดังกล่าวช่วยเบิกทางให้เขากลายเป็นผู้นำคนสำคัญในการต่อสู้เพื่อปลดแอกระบบวรรณะ[10]

ต่อมาใน ค.ศ. 1907 อามเพฑกรเรียนจบโรงเรียนมัธยมปลายเอลฟินสโตน ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่สำหรับจัณฑาลที่สามารถไต่เต้าเข้าสู่การศึกษาระดับสูง เมื่อมีงานเลี้ยงฉลองเรียนจบ อามเพฑกรก็ได้รู้จักกับพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกจาก กฤษณจี อรชุน เกลุสการ์ (Krishnaji Arjun Keluskar) นักเขียนนวนิยายภาษามราฐีและนักสังคมสงเคราะห์ ที่นำหนังสือพุทธประวัติที่เขาเป็นผู้เขียนมอบให้อามเพฑกร ตอนนั้นอามเพฑกรสนใจเรื่องพระพุทธเจ้าอย่างมาก แต่เขาก็ยังคงนับถือศาสนาฮินดูตามเดิม[11]

เรียนต่อต่างประเทศ

อามเพฑกรเป็นคนตั้งใจศึกษาหาความรู้ ทำให้อามเพฑกรได้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบอมเบย์ จาก มหาราชาสายาจีราว คายกวาทที่ 3 (Maharaj Sayajirao Gaekwad III) กษัตริย์ผู้ปกครองรัฐบาโรดา หลังเรียนจบแล้วใน ค.ศ. 1913 อามเพฑกรได้ทำงานตอบแทนมหาราชาแห่งรัฐบาโรดา แต่โดนย้ายตำแหน่งงานใหม่เรื่อย ๆ โดยไม่มีงานถาวร ประกอบกับพ่อของเขาเสียชีวิต อามเพฑกรจึงตัดสินใจลาออก แต่เดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน อามเพฑกรได้รับทุนของมหาราชาสายาจีราว คายกวาทที่ 3 อีกครั้ง เพื่อเรียนต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาทำงานใช้ทุนทันทีหลังเรียนจบ[12]

ในสหรัฐอเมริกา อามเพฑกรสามารถคบหาผู้คนได้มากมาย เพราะปราศจากการกีดกันทางวรรณะ ซึ่งช่วยให้อามเพฑกรเห็นศักยภาพของประชาธิปไตยที่จะทำให้สังคมมีความเสมอภาคมากขึ้น พร้อมกับเรียนรู้ความสำคัญเรื่องสิทธิ เป็นฐานของการขับเคลื่อนสังคมอินเดียให้ก้าวหน้าต่อไป อามเพฑกรเรียนจบปริญญาโทในปี 1916 ทว่าเขากลับตัดสินใจขอเรียนต่อที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยขยายทุนอีก 1 ปี แต่ก็เรียนไม่จบจึงต้องกลับอินเดียเพื่อทำงานใช้ทุนมหาราชา โดยอามเพฑกรกลับอินเดียในปี 1917 เข้าทำงานเป็นเลขานุการกองทัพของมหาราชาบาโรดา แต่หนีการถูกเหยียดวรรณะไม่พ้น เพราะคนวรรณะพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของอามเพฑกรต่างรังเกียจเขา อามเพฑกรร้องเรียนเรื่องนี้ต่อมหาราชา แต่ทุกอย่างยังคงเงียบงัน ช่วงนั้นเขายังโดนชาวปาร์ซีกลุ่มหนึ่งขับไล่ออกจากหอพัก หลังทราบว่าเขาเป็นจัณฑาล ทำให้อามเพฑกรตัดสินใจเดินทางออกจากบาโรดา และไปอยู่ที่บอมเบย์[13]

วิทยาลัยการพาณิชย์และเศรษฐศาสตร์ซิดแนมเสนอให้เขารับตำแหน่งอาจารย์ด้านเศรษฐกิจการเมืองเป็นเวลา 2 ปี อามเพฑกรตอบตกลงทันที และเริ่มงานตั้งแต่ 11 พฤศจิกายน ปี 1918 เขาทุ่มเทกับการสอนหนังสืออย่างจริงจังกระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดัง ดึงดูดนักศึกษาจากสถาบันอื่นให้มาฟังเขาบรรยายได้อย่างล้นหลาม กระนั้นเพื่อนร่วมงานวรรณะสูงบางคนก็ยังเหยียดเขาอยู่ อามเพฑกรที่เข้าใจดีถึงการกดขี่ทางวรรณะ จึงเริ่มเคลื่อนไหวต่อสู้เรื่องระบบวรรณะ เรียกร้องให้ชาวอินเดียโดยเฉพาะคนวรรณะสูงและอภิสิทธิ์ชนเปลี่ยนทัศนคติ ให้นึกถึงสิทธิของคนที่ถูกกดขี่ ไล่เลี่ยกันนั้นก็ตัดสินใจลาออกก่อนหมดสัญญาจ้าง พกทุนรอนก้อนหนึ่งย้ายไปเป็นข้าราชการในเมืองโครักขปุระตามคำเชิญของ มหาราชาชาหุที่ 1 ผู้ทรงสนับสนุนสิทธิของจัณฑาล

มหาราชาพระองค์นี้ออกทุนให้อามเพฑกรเขียนและตีพิมพ์วารสารรายสัปดาห์ชื่อ มุขนายก ในบอมเบย์เมื่อปี 1920 อามเพฑกรใช้วารสารฉบับนี้โจมตีนักการเมืองอนุรักษนิยมที่ไม่แยแสต่อการกดขี่คนวรรณะต่ำ แต่วารสารนี้กลับต้องปิดตัวลงในเวลาไม่นานด้วยขาดสภาพคล่องทางการเงิน แม้การเคลื่อนไหวช่วงแรกจะเต็มไปด้วยปัญหา แต่เขาก็ยังไม่ละทิ้งความมุ่งมั่น เมื่ออามเพฑกรเก็บหอมรอมริบได้จำนวนหนึ่ง และจากการหยิบยืมเงินจากเพื่อนและมหาราชา ก็ไปเรียนต่อปริญญาโทและปริญญาเอกที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน ประเทศอังกฤษ พร้อมกับพยายามสอบเนติบัณฑิต เขาใช้ชีวิตในอังกฤษอย่างแร้นแค้นถึง 3 ปี จนสามารถเรียนจบปริญญาโท ปริญญาเอก และสอบผ่านเนติบัณฑิตอังกฤษ[14]

การต่อสู้เพื่อคนนอกวรรณะ

อามเพฑกรกลับอินเดีย โดยการเริ่มต้นทำงานเป็นทนายความในศาลสูงบอมเบย์ในปี 1924 ทำให้มีโอกาสช่วยเหลือเรื่องกฎหมายให้ผู้ด้อยโอกาส เขาได้ทำตามความฝันอีกครั้ง นั่นคือ การเคลื่อนไหวเรียกร้องให้สังคมอินเดียมองเห็นปัญหาของระบบวรรณะ ควบคู่กับการเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ

อามเพฑกรเห็นว่า “ระบบวรรณะ” คือสิ่งชั่วร้ายที่ขัดขวางความก้าวหน้าของสังคมอินเดีย อีกทั้งคำเรียกผองชนผู้ไร้วรรณะอย่าง “จัณฑาล” เป็นคำเรียกอย่างรังเกียจเดียดฉันท์ จึงเลือกใช้คำว่า “ทลิต” (Dalit) อันมีความหมายว่า แตกหัก หรือ สลาย ในภาษาสันสกฤต เป็นคำเรียกผองชนทั้งมวลที่ถูกกดขี่ในสังคมอินเดีย ไม่ใช่เพียงชาวฮินดูเท่านั้น หากยังรวมถึงคนด้อยโอกาสต่าง ๆ ด้วย หลากหลายวาระโอกาสที่อามเพฑกรพยายามต่อสู้เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพให้กลุ่มคนด้อยโอกาสเช่น ในปี 1927 อามเพฑกรทำพิธีสัตยาเคราะห์ ดื่มน้ำในสระโชว์ดาร์ที่เมืองมหัท (Mahad) ซึ่งเดิมห้ามคนวรรณะต่ำใช้น้ำในสระ เพื่อเรียกร้องสิทธิให้ทลิตเข้าไปใช้น้ำในสระสาธารณะโชว์ดาร์ได้

ช่วงแรกอามเพฑกรมีเจตนารมณ์ถอดรากถอนโคนระบบวรรณะให้สิ้นซาก ปรากฏชัดในงานเขียน The Annihilation of Caste (วรรณะวินาศ) ซึ่งมีเนื้อหาแข็งกร้าว รุนแรง ปลุกระดมให้ชาวทลิตและผู้ด้อยโอกาสตระหนักรู้ ต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพของตน  อามเพฑกรจึงกลายเป็นผู้นำของชาวทลิตในการต่อสู้ล้มล้างระบบวรรณะ และมีบทบาทในการเรียกร้องเอกราชของอินเดีย โดยเป็นผู้แทนชาวทลิตหารือเรื่องเอกราชอินเดียร่วมกับผู้แทนกลุ่มอื่น ๆ กับอังกฤษ

แต่เมื่อรัฐบาลอังกฤษเห็นด้วยกับอามเพฑกรว่าทลิตควรมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน เช่นที่ชาวมุสลิมและซิกซ์มี กลุ่มฮินดูอนุรักษนิยมกลับไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าการมีผู้แทนทลิตจะก่อให้เกิดความแตกแยก จึงกดดันให้อามเพฑกรยกเลิกข้อเรียกร้องเรื่องผู้แทนชาวทลิต อามเพฑกรซึ่งกลัวว่าข้อเรียกร้องจะทำให้ชาวทลิตถูกคนฮินดูหมู่มากเพ่งเล็ง จึงยอมถอนข้อเรียกร้อง และยอมลดระดับความเคลื่อนไหวเป็นในทางประนีประนอมมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้อามเพฑกรเห็นว่า ภายใต้กรอบของศาสนาฮินดู ไม่มีทางที่ชาวทลิตจะยกสถานภาพของตัวเองได้เลย จึงประกาศความตั้งใจละทิ้งศาสนาฮินดูไปนับถือศาสนาอื่น ตัวแทนศาสนาทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นอิสลาม ซิกข์ และคริสต์ ต่างพยายามเกลี้ยกล่อม แต่อามเพฑกรได้ปฏิเสธข้อเสนอทั้งหมดอย่างนุ่มนวล[15]

บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย

ปี 1947 หลังอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ อามเพฑกรได้รับเชิญจากพรรคคองเกรส เข้าร่วมกับคณะรัฐมนตรีของ ยวาหลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย ร่วมกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมด 296 คน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มาจากพรรคคองเกรส แต่ยังมีทลิตอีก 29 คน ช่วยร่างรัฐธรรมนูญ

อามเพฑกรในฐานะประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ทำให้ “รัฐธรรมนูญอินเดีย” กลายเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการสร้างสังคมอินเดียสมัยใหม่ ที่ประชาชนทุกคนต่างเสมอภาคกันด้วยกฎหมาย รัฐธรรมนูญอินเดียคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพชาวอินเดียทุกคน ทั้งการนับถือศาสนา การยกเลิกระบบวรรณะ และยกเลิกการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ ไม่ว่าด้วยเหตุแห่งวรรณะ ศาสนา เพศ เชื้อสาย และภูมิลำเนา เหล่านี้คือมรดกสำคัญ ซึ่งทำให้อามเพฑกรได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย”  

อามเพฑกรยังทำให้อินเดียมีระบบโควตาในระบบราชการ โรงเรียน และมหาวิทยาลัย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอามเพฑกร ในการต่อสู้เพื่อสร้างสังคมอินเดียที่มีความเสมอภาค ถึงอย่างนั้น อามเพฑกรยังคงไม่พอใจกับรัฐธรรมนูญอินเดีย เพราะมีหลายส่วนในรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นไปดังใจเขา และยังคงแสวงหาหนทางที่จะทำให้ชาวทลิตขึ้นมามีบทบาทในสังคมอินเดียมากขึ้น

อามเพฑกร ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ผลักดันร่างกฎหมายกฎบัตรฮินดู (Hindu Code Bill) เพื่อแทนที่จารีตฮินดู ซึ่งผู้หญิงตกเป็นเบี้ยล่างมาตลอด ด้วยกฎหมายที่มอบสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ผู้หญิงอย่างเท่าเทียมกับผู้ชาย โดยเฉพาะเรื่องมรดก การแต่งงาน และเศรษฐกิจ แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวกลับล้มเหลว เพราะถูกต่อต้านจากนักการเมืองส่วนใหญ่ในสภา อามเพฑกรจึงลาออกจากรัฐบาลในปี 1951 ต่อมา เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 1952 และแพ้การเลือกตั้ง แต่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปีเดียวกัน และเป็นวุฒิสมาชิกจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต [16]

การเปลี่ยนศาสนา

เนื่องจากเดิมอามเพฑกรเป็นชาวจัณฑาล ภายหลังได้เลิกนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เนื่องจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีการใช้ระบอบวรรณะ ถูกคนวรรณะอื่นรังเกียจเดียดฉันท์ ซึ่งเขาเคยเผชิญมากับตนเองตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อทำลายความอยุติธรรมนั้น อามเพฑกรจึงได้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปุระ พร้อมกับบุคคลวรรณะศูทรกว่า 500,000 คน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 โดยในการนั้นมีพระภิกษุอยู่ในพิธี ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย 3 รูป คือ ท่านพระสังฆรัตนเถระ (Ven. M. Sangharatana Thera) พระสัทธราติสสเถระ (Ven. S. Saddratissa Thera) และพระปัญญานันทเถระ (Ven. Pannanand Thera) ในพิธีมีการประดับธงธรรมจักรและสายรุ้งอย่างงดงาม ในพิธีนั้น ผู้ปฏิญาณตนได้กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ [17][18][19][20]

อย่างไรก็ตามในการเปลี่ยนศาสนาครั้งใหญ่ในครั้งนี้ มีทั้งผู้สนับสนุน และคัดค้านเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีผู้นำคำสุนทรพจน์ของอามเพฑกรไปตีพิมพ์เป็นหนังสือ เป็นคำปราศรัยยาว 127 หน้า ขนาด 8 ยก[21][22][23][24]

ถึงแก่อสัญกรรม

หลังจากการประกาศเป็นพุทธมามกะได้เพียง 3 เดือน ก็ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2499[25] ท่ามกลางความเสียใจของเหล่าบรรดาชนชั้นวรรณะต่ำในอินเดีย ชวาหระลาล เนห์รู ได้กล่าวอย่างเศร้าสลดว่า "เพชรของรัฐบาลหมดไปเสียแล้ว" มุขมนตรีของบอมเบย์ในขณะนั้น คือนายชะวาน ได้ประกาศให้วันเกิดของอามเพฑกรถือเป็นวันหยุดราชการของรัฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ดวงวิญญาณของอามเพฑกร ภรรยาของเขาต้องการจะนำศพของท่านอามเพฑกร ไปทำพิธียังบอมเบย์ รัฐบาลก็ได้จัดเที่ยวบินพิเศษให้ เมื่อเครื่องบินนำศพมาถึงบอมเบย์ ประชาชนหลายหมื่นคนได้มารอรับศพของอามเพฑกรอย่างเนืองแน่น

หลังจากการอสัญกรรมของอามเพฑกร ชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศอินเดีย ได้กล่าวสรรเสริญนายอามเพฑกร ความว่า

ชื่ออามเพฑกร จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน โดยเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อลบล้างความอยุติธรรมในสังคมฮินดู อามเพฑกรต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่จำต้องต่อสู้ อามเพฑกร ได้เป็นคนปลุกให้สังคมฮินดูตื่นจากหลับ

อ้างอิง

  1. Pritchett, Frances. "In the 1900s" (PHP). สืบค้นเมื่อ 5 January 2012.
  2. Pritchett, Frances. "In the 1940s". สืบค้นเมื่อ 2012-06-13.
  3. Bhimrao Ambedkar
  4. Ambedkar Jayanti 2019: Facts on Babasaheb to share with kids | Parenting News,The Indian Express
  5. How India’s Most Downtrodden Embraced the Power of Statues
  6. Bhimrao Ramji Ambedkar | Biography, Books, & Facts | Britannica
  7. All You Need To Know About BR Ambedkar On His 129th Birth Anniversary
  8. Buswell, Robert Jr; Lopez, Donald S. Jr., บ.ก. (2013). Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton, NJ: Princeton University Press. p. 34. ISBN 978-0691157863.
  9. https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
  10. https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
  11. https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
  12. https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
  13. https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
  14. https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
  15. https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
  16. https://www.silpa-mag.com/history/article_113176
  17. https://theprint.in/opinion/why-ambedkar-chose-buddhism-over-hinduism-islam-christianity/237599/
  18. https://indianexpress.com/article/explained/buddha-purnima-special-why-ambedkar-coverted-to-buddhism-6397742/
  19. https://www.thequint.com/news/india/br-ambedkar-conversion-to-buddhism
  20. Christopher Queen (2015). Steven M. Emmanuel (บ.ก.). A Companion to Buddhist Philosophy. John Wiley & Sons. pp. 529–531. ISBN 978-1-119-14466-3.
  21. https://theprint.in/opinion/why-ambedkar-chose-buddhism-over-hinduism-islam-christianity/237599/
  22. https://indianexpress.com/article/explained/buddha-purnima-special-why-ambedkar-coverted-to-buddhism-6397742/
  23. https://www.thequint.com/news/india/br-ambedkar-conversion-to-buddhism
  24. Christopher Queen (2015). Steven M. Emmanuel (บ.ก.). A Companion to Buddhist Philosophy. John Wiley & Sons. pp. 529–531. ISBN 978-1-119-14466-3.
  25. Dr. B.R. Ambedkar บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย

Read other articles:

  لمعانٍ أخرى، طالع بور (توضيح). بور   الاسم الرسمي (بالفرنسية: Port)‏  الإحداثيات 46°09′52″N 5°34′13″E / 46.164444444444°N 5.5702777777778°E / 46.164444444444; 5.5702777777778[1]  [2] تقسيم إداري  البلد فرنسا[3]  التقسيم الأعلى آن  خصائص جغرافية  المساحة 4.25 كيلومتر مرب

 

Individuals born and raised in the United States who have at least one foreign-born parent Second-generation immigrants in the United States are individuals born and raised in the United States who have at least one foreign-born parent.[1] Although the term is an oxymoron which is often used ambiguously, this definition is cited by major research centers including the United States Census Bureau and the Pew Research Center.[1][2] As the Fourteenth Amendment to the Unit...

 

شلومو ليفي   معلومات شخصية الميلاد 1 يونيو 1934  إسرائيل  الوفاة 1 مايو 2003 (عن عمر ناهز 68 عاماً)إسرائيل  مركز اللعب مهاجم الجنسية إسرائيل  مسيرة الشباب سنوات فريق 1947–1949 مكابي تل أبيب المسيرة الاحترافية1 سنوات فريق م. (هـ.) 1954–1955 Hakoah Tel Aviv F.C. [الإنجليزية]‏ 1955–1...

Trong toán học, giai thừa là một toán tử một ngôi trên tập hợp các số tự nhiên. Cho n là một số tự nhiên dương, n giai thừa, ký hiệu n ! {\displaystyle n!} là tích của n số tự nhiên dương đầu tiên. n ! = 1 × 2 × 3 × ⋯ × n {\displaystyle n!=1\times 2\times 3\times \dots \times n} Ví dụ: 7 ! = 1 × 2 × 3 × 4 × 5 × 6 × 7 = 5040 {\displaystyle 7!=1\times 2\times 3\...

 

Wrestling at the Olympics Men's freestyle welterweightat the Games of the XVI OlympiadVenueRoyal Exhibition BuildingDates28 November–1 DecemberCompetitors15 from 15 nationsMedalists Mitsuo Ikeda  Japan İbrahim Zengin  Turkey Vakhtang Balavadze  Soviet Union← 19521960 → Wrestling at the1956 Summer OlympicsGreco-RomanFlymenBantammenFeathermenLightmenWeltermenMiddlemenLight heavymenHeavymenFreestyleFlymenBantammenFeathermenLightmenWeltermenMiddle...

 

Form of alternative medicine This article is part of a series onAlternative medicine General information Alternative medicine History Terminology Alternative veterinary medicine Quackery (health fraud) Rise of modern medicine Pseudoscience Antiscience Skepticism Scientific Therapeutic nihilism Fringe medicine and science Acupressure Acupuncture Alkaline diet Anthroposophic medicine Apitherapy Applied kinesiology Aromatherapy Association for Research and Enlightenment Auriculotherapy Bates met...

Bü 131 Jungmann Jenis Pesawat udara latih dasar Pembuat Bücker Flugzeugbau Perancang Carl Bücker Penerbangan perdana 27 April 1934 Diperkenalkan 1935 (Luftwaffe) Dipensiunkan 1968 (Spanish Air Force) Pengguna utama LuftwaffeSpanish Air Force Imperial Japanese Army Air Service Varian Bü 133 Jungmeister Bücker Bü 131 Jungmann (Pemuda) adalah sebuah pesawat udara latih dasar buatan tahun 1930 dari Jerman yang dipergunakan oleh Luftwaffe selama Perang Dunia II. Pranala luar Wikimedia C...

 

Species of lemur This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed.Find sources: Diademed sifaka – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (February 2012) (Learn how and when to remove this template message) Diademed sifaka in Analamazaotra Special Reserve Conservation status Critically Endangered (IUCN 3.1)[1&...

 

Stasiun Tobo Bangunan baru dan emplasemen Stasiun Tobo, 2020Lokasi Jalan Raya Bojonegoro-CepuKebonagung, Padangan, Bojonegoro, Jawa Timur 62162IndonesiaKetinggian+25 mOperatorKereta Api IndonesiaDaerah Operasi VIII SurabayaLetak dari pangkalkm 96+629 lintas Gundih-Gambringan-Bojonegoro-Surabaya Pasarturi[1]Jumlah peronSatu peron sisi yang agak rendahJumlah jalur4 (jalur 2 dan 3: sepur lurus)Informasi lainKode stasiunTBO2722[2]KlasifikasiIII/kecil[2]Operasi layanan Hany...

This article is about the Chinese political philosopher and religious reformer of the Warring States period. For other uses, see Mozi (disambiguation). Micius redirects here. For other uses, see Micius (disambiguation). Mo Di and Mo Ti redirect here. For the posthumous name of some Chinese emperors, see Emperor Mo (disambiguation). 5th-century BCE Chinese philosopher and founder of Mohism In this Chinese name, the family name is Mo. Mozi 墨翟MoziBornc. 470 BCEState of Lu, Zhou Kingdom...

 

Win Myint's CabinetCabinet of Myanmar The Head and the Deputy Heads of the GovernmentDate formed30 March 2018Date dissolved1 February 2021People and organisationsHead of stateWin MyintHead of governmentWin Myint Deputy head of government Aung San Suu Kyi (State Counsellor) Myint Swe (1st Vice President) Henry Van Thio (2nd Vice President) No. of ministers25Member partyNLDOpposition partyUSDPHistoryOutgoing formation2021 Myanmar coup d'étatPredecessorHtin Kyaw's CabinetSuccessorManagement Com...

 

Scottish Cup 2004-2005Tennent's Scottish Cup 2004-2005 Competizione Scottish Cup Sport Calcio Edizione 120ª Organizzatore SFA Date dal 2004al 28 maggio 2005 Luogo  Scozia Risultati Vincitore Celtic(33º titolo) Finalista Dundee Utd Cronologia della competizione 2003-2004 2005-2006 Manuale La Scottish Cup 2004-05 è stata la 120ª edizione del torneo. Si è conclusa il 28 maggio 2005. I Celtic hanno vinto il trofeo per la 33ª volta. Indice 1 Primo turno 2 Secondo turno 2.1 Repla...

City in Michigan, United StatesRochester Hills, MichiganCityCity of Rochester HillsAutumn Sunrise at Spencer Park. FlagLocation within Oakland CountyRochester HillsLocation within the state of MichiganCoordinates: 42°39′57″N 83°09′29″W / 42.66583°N 83.15806°W / 42.66583; -83.15806CountryUnited StatesStateMichiganCountyOaklandSettled1817Organized1835 (Avon Township)Incorporated1984 (City of Rochester Hills)Government • TypeMayor–council ...

 

Map all coordinates using: OpenStreetMap Download coordinates as: KML GPX (all coordinates) GPX (primary coordinates) GPX (secondary coordinates) The State Register of Heritage Places is maintained by the Heritage Council of Western Australia. As of 2023[update], 172 places are heritage-listed in the City of Melville,[1] of which 24 are on the State Register of Heritage Places.[2] List The Western Australian State Register of Heritage Places, as of 2023[update]...

 

1980 single by Pointer SistersHe's So ShySingle by Pointer Sistersfrom the album Special Things B-sideMovin' OnReleasedJuly 23, 1980 (1980-07-23)Recorded1980StudioStudio 55 (Los Angeles, California)Genre R&B pop soul post-disco new wave synthpop Length3:37LabelPlanetSongwriter(s) Tom Snow Cynthia Weil Producer(s)Richard PerryPointer Sisters singles chronology Who Do You Love (1979) He's So Shy (1980) Could I Be Dreaming (1980) He's So Shy is a song by the American vocal gro...

This article is about the Florida barrier island. For the town of the same name on that island, see Jupiter Island, Florida. For the racehorse, see Jupiter Island (horse). Jupiter IslandBlowing Rocks Preserve on Jupiter IslandJupiter IslandJupiter IslandShow map of FloridaJupiter IslandJupiter Island (North Atlantic)Show map of North AtlanticGeographyLocationNorth AtlanticCoordinates27°01′54″N 80°06′02″W / 27.03167°N 80.10056°W / 27.03167; -80.10056Administ...

 

Resolusi 1322Dewan Keamanan PBBBukit Bait SuciTanggal7 Oktober 2000Sidang no.4.205KodeS/RES/1322 (Dokumen)TopikSituasi di Timur Tengah, yang meliputi pertanyaan PalestinaRingkasan hasil14 mendukungTidak ada menentang1 abstainHasilDiadopsiKomposisi Dewan KeamananAnggota tetap Tiongkok Prancis Rusia Britania Raya Amerika SerikatAnggota tidak tetap Argentina Bangladesh Kanada Jamaika Malaysia Mali Namibia Belanda Tun...

 

ترامواي الجزائر ترامواي الجزائر معلومات عامة البلد الجزائر  نوع ترامواي حالة مفعل مكان ولاية الجزائر عدد المحطات 38 محطة المسارات خطين ذهاب وإياب عدد الركاب (يومياً) 185.000 راكب/يوم التشغيل تاريخ الافتتاح الرسمي 8 مايو 2011  المالك مؤسسة مترو الجزائر المشغل شركة تسيير خطو...

Women's 1000 metres sprint at the 2022 Asian GamesVenueQiantang Roller Sports CentreDate1 October 2023Competitors11 from 6 nationsMedalists  Li Meng-chu   Chinese Taipei Liu Yi-hsuan   Chinese Taipei Lee Ye-rim   South Korea Roller sports at the2022 Asian GamesArtistic skatingFree skatingwomenInline freestyle skatingSpeed slalommenwomenSlalom pairmixedSkateboardingParkmenwomenStreetmenwomenSpeed skatingSprintmenwomenPoints elim...

 

Regulation of EU, determining which court has jurisdiction in the event of a conflict This article relies excessively on references to primary sources. Please improve this article by adding secondary or tertiary sources. Find sources: Maintenance regulation – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (July 2013) (Learn how and when to remove this template message) Regulation (EC) No 4/2009European Union regulationTitleCouncil Regulation (EC) on juris...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!