ภาษาไทดั้งเดิม
ภาษาไทดั้งเดิม [ 1] (อังกฤษ : Proto-Tai language ) เป็นภาษาดั้งเดิม (proto-language) หรือภาษาบรรพบุรุษที่ได้รับการสืบสร้าง ขึ้นของกลุ่มภาษาไท ทั้งมวล ซึ่งได้แก่ ภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาคำเมือง ภาษาไทใหญ่ ภาษาไทลื้อ ภาษาไทดำ เป็นต้น ทั้งนี้ ภาษาไทดั้งเดิมมิได้ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารใด ๆ ที่หลงเหลืออยู่โดยตรง แต่ได้รับการสืบสร้างตามระเบียบวิธีเปรียบเทียบ (comparative method) โดยนักภาษาศาสตร์หลี่ ฟางกุ้ย ใน พ.ศ. 2520[ 2] และพิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ ใน พ.ศ. 2552[ 3] [ 4]
ระบบเสียง
ภาษาไทดั้งเดิมมีหน่วยเสียงพยัญชนะที่หลากหลายกว่าภาษาตระกูลไทในปัจจุบัน แต่มีเสียงวรรณยุกต์ที่น้อยกว่าภาษาปัจจุบัน
พยัญชนะเดี่ยว
ตารางด้านล่างนี้แสดงระบบพยัญชนะของภาษาไทดั้งเดิม ตามการสืบสร้างของ หลี่ ฟางกุ้ย ในหนังสือ คู่มือภาษาศาสตร์เชิงเปรียบเทียบตระกูลไท (A Handbook of Comparative Tai ). พยัญชนะในฐานเพดานแข็ง ซึ่งระบุในหนังสือดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ [č, čh, ž] ถูกจัดเป็นหยัญชนะกักเสียดแทรก (affricate consonant) ในที่นี้จะใช้สัญลักษณ์ [tɕ , tɕʰ and dʑ ] ตามลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบสัทอักษรสากล
ระบบเสียงดังกล่าวนี้ได้รับการสืบสร้างใหม่โดย พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ ในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการด้วยกัน การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเป็นเพียงการตีความที่แตกต่างกันเท่านั้น ได้แก่ พยัญชนะฐานเพดานแข็งถูกจัดใหม่ให้เป็นพยัญชนะกัก (stop) แทนที่จะเป็นพยัญชนะกักเสียดแทรก (affricate) ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับพยัญชนะอื่น ๆ ภายในระบบเสียงภาษาไทดั้งเดิม และสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสัทศาสตร์ได้โดยใช้หลักเดียวกันกับพยัญชนะกักตัวอื่น ๆ (ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเสียงพยัญชนะเหล่านี้ไม่ได้มีลักษณะของการกักเสียดแทรก) การตีความอีกอย่างที่ต่างกันคือ พยัญชนะที่มีเสียงกักเส้นเสียงนำมาก่อน (pre-glottalized consonant) [ˀb, ˀd] ถูกตีความใหม่ให้เป็นเสียงกักเส้นเสียงลมเข้า (implosive consonant) [ɓ, ɗ] แทน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ได้แก่
พยัญชนะกักพ่นลมถูกตัดออก โดยจัดให้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใหม่ในภายหลัง หลังจากที่ภาษาไทดั้งเดิมได้แยกออกเป็นสาขาย่อยต่าง ๆ
ตัดพยัญชนะเสียดแทรกริมฝีปาก (/f/ และ /v/) ออก โดยจัดให้เป็นการแปรเสียงที่เกิดขึ้นในภายหลังแทน
เพิ่มเสียงพยัญชนะฐานลิ้นไก่ (uvular consonant) ออกมาต่างหาก (*/q/, */ɢ/, and */χ/) โดยเป็นหน่วยเสียงแยกจากพยัญชนะฐานเพดานอ่อน (velar) โดยมีที่มาจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างการแปรเสียงพยัญชนะในกลุ่ม /kʰ/, /x/ และ /h/ ในภาษาภายในตระกูลไทภาษาต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาษาพวน และภาษาผู้ไทกะป๋อง ความแตกต่างของเสียง /kʰ/ และ /x/ สามารถสืบสร้างได้จากภาษาไทขาว อย่างไรก็ตาม พบว่าคำที่มีเสียงพยัญชนะต้น /x/ ในภาษาไทขาว สอดคล้อง (มีเชื้อสายร่วม) กันกับคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นในภาษาพวน และภาษาผู้ไทกะป๋อง ได้ถึง 3 แบบ บางคำขึ้นต้นด้วยเสียง /kʰ/ ในทั้งสองภาษา, บางคำขึ้นต้นด้วย /h/ ในทั้งสองภาษา และบางคำขึ้นต้นด้วย /kʰ/ ในภาษาพวน แต่กลับเป็นเสียง /h/ ในภาษาผู้ไทกะปง แสดงว่าในภาษาไทดั้งเดิมควรจะมีหน่วยเสียงในกลุ่มนี้แตกต่างกันได้ถึง 3 หน่วยเสียง ไม่ใช่มีเพียงเสียง /x/ ตามการสืบสร้างแบบเดิม ดังนั้นพิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ จึงสืบสร้างหน่วยเสียงใหม่สำหรับความสอดคล้องทั้ง 3 แบบเป็น /x/, /χ/ and /q/ ตามลำดับ
ตารางด้านล่างนี้แสดงระบบเสียงหยัญชนะในภาษาไทดั้งเดิม ตามการสืบสร้างของพิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์
ริมฝีปาก
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็ง
เพดานอ่อน
ลิ้นไก่
เส้นเสียง
กัก
ไม่ก้อง
p
t
c
k
q
ʔ
ก้อง
b
d
ɟ
ɡ
ɢ
กักเส้นเสียง
ɓ
ɗ
ˀj
เสียดแทรก
ไม่ก้อง
s
(ɕ)
x
χ
h
ก้อง
z
(ʑ)
ɣ
นาสิก
ไม่ก้อง
ʰm
ʰn
ʰɲ
(ʰŋ)
ก้อง
m
n
ɲ
ŋ
เสียงไหลและกึ่งสระ
ไม่ก้อง
ʰw
ʰr , ʰl
ก้อง
w
r, l
ภาษาตระกูลไทในปัจจุบันมีเสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) เพียงไม่กี่เสียงเมื่อเทียบกับเสียงพยัญชนะต้น โดยมีลักษณะการเกิดเสียง (manner of articulation) ที่เป็นไปได้เพียง 3 แบบได้แก่ เสียงกัก, เสียงนาสิก และเสียงเปิดเท่านั้น และไม่มีการแยกระหว่างก้องหรือไม่ก้อง ทำให้หลี่ ฟางกุ้ย ได้สืบสร้างระบบเสียงพยัญชนะท้าย ซึ่งเหมือนกันกับในภาษาไทย ปัจจุบัน
Proto-Tai consonantal syllabic codas (Li 1977)
ริมฝีปาก
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็ง
เพดานอ่อน
เส้นเสียง
กัก
-p
-t
-k
-ʔ
นาสิก
-m
-n
-ŋ
เสียงไหลและกึ่งสระ
-w
-j
ในเวลาต่อมามีการศึกษาภาษาแสก เพิ่มขึ้น พบว่ามีคำที่มีเสียงพยัญชนะท้าย /-l/ อยู่ในภาษาดังกล่าว ซึ่งคำเหล่านี้ไม่ได้เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ จึงสันนิษฐานว่าภาษาไทดั้งเดิมควรจะมีเสียงพยัญชนะท้าย *-l อยู่ในระบบเสียง และยังพบว่ามีการแปรเสียงพยัญชนะท้ายที่แตกต่างกันระกหว่างภาษาแสกกับภาษาไทอื่น ๆ ได้แก่ คำที่ลงท้ายด้วย /-k/ บางคำในภาษาแสก กลับลงท้ายด้วย /-t/ ในภาษาไทอื่น คำเหล่านี้เดิมเคยถูกสืบสร้างให้ลงท้ายด้วย *-t ซึ่งไม่พบว่ามีเงื่อนไขใดสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงจาก *-t ไปเป็น *-k ได้ จึงได้สืบสร้างเสียงใหม่สำหรับการแปรเสียงดังกล่าวเป็น *-c แทน
นอกจากนี้หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายอีกตัวที่อาจเป็นไปได้คือ /*-ɲ/ ซึ่งยังมีหลักฐานไม่มาก แต่สังเกตได้จากการที่คำว่า กิน /kinA1 / ในภาษาไทย เทียบได้กับภาษาในสาขาไทเหนือว่า /kɯnA1 / ซึ่งเป็นไปได้ว่าแท้จริงแล้วเสียงพยัญชนะท้ายของคำนี้ในภาษาไทดั้งเดิมควรจะเป็น *-ɲ (ซึ่งสืบสร้างคำนี้ได้เป็น *kɯɲA ) ซึ่งต่อมาเกิดการเลื่อนฐานกรณ์ไปข้างหน้า (fronting) ของทั้งสระและพยัญชนะ กลายเป็น /kinA1 / ในภาษาไทย แต่เป็น /kɯnA1 / ในภาษากลุ่มไทเหนือ
Proto-Tai consonantal syllabic codas (Pittayaporn 2009)
ริมฝีปาก
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็ง
เพดานอ่อน
กัก
-p
-t
-c
-k
นาสิก
-m
-n
(-ɲ)
-ŋ
เสียงไหลและกึ่งสระ
-w
-l
-j
พยัญชนะควบ
หลี่ ฟางกุ้ย (1977) ได้สืบสร้างพยัญชนะต้นควบต่อไปนี้
Proto-Tai consonant clusters (Li 1977)
Labial
Alveolar
Velar
Unvoiced Stop
pr-, pl-
tr-, tl-
kr-, kl-, kw-
Aspirated unvoiced stop
pʰr-, pʰl-
tʰr-, tʰl-
kʰr-, kʰl-, kʰw-
Voiced Stop
br-, bl-
dr-, dl-
ɡr-, ɡl-, ɡw-
Implosive
ˀbr-, ˀbl-
ˀdr-, ˀdl-
Voiceless Fricative
fr-
xr-, xw-
Voiced Fricative
vr-, vl-
Nasal
mr-, ml-
nr-, nl-
ŋr-, ŋl-, ŋw-
Liquid
การสืบสร้างภาษาไทดั้งเดิมของหลี่ ฟางกุ้ย ยังมีปัญหาที่อธิบายไม่ได้หลายประการ หนึ่งในนั้นคือความไม่สอดคล้องกันระหว่างการแปรเสียงพยัญชนะต้น เช่น คำว่า (มีด)พร้า /ph ra:C2 / ซึ่งร่วมเชื้อสายกับคำว่า /th a:C2 / ในภาษาแสกซึ่งหลี่ ฟางกุ้ย เคยสืบสร้างให้ขึ้นต้นด้วย *vr- นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) เห็นว่าการแปรเสียงดังกล่าวไม่สามารถอธิบายได้จากการสืบสร้างเดิม แต่จะอธิบายได้ถ้าให้ภาษาไทดั้งเดิมมีพยางค์ย่อย (sesquisyllable หรือ minor syllable) ที่นอกเหนือจากพยางหลักด้วย จากนั้นจึงอธิบายการแปรเสียงดังกล่าวได้ว่าเป็นการกร่อนของพยัญชนะควบทั้งพยางค์หลักและย่อยที่คนละตำแหน่งกัน ดังนั้นจึงแบ่งพยัญชนะควบออกได้เป็น
ควบพยางค์เดี่ยว (Tautosyllabic clusters) – พิจารณาเป็นพยางค์เดียว
ควบพยางค์ครึ่ง (Sesquisyllabic clusters) – ประกอบด้วยพยางค์ย่อย (อาจมองว่าเป็น "ครึ่งพยางค์") และพยางค์หลัก
พยัญชนะควบกล้ำพยางค์ครึ่งเป็นลักษณะที่พบได้ในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกส่วนใหญ่ เช่นภาษาเขมร แต่ในภาษาตระกูลไทในปัจจุบันไม่พบว่ามีพยัญชนะควบกล้ำพยางค์ครึ่งหลงเหลืออยู่เลย ได้สันนิษฐานว่าภาษาไทดั้งเดิมเพิ่งเข้าสู่ระยะ "ควบกล้ำพยางค์ครึ่ง" (sesquisyllabic stage) เท่านั้น (ซึ่งกร่อนมาจาก ภาษาขร้าไทดั้งเดิม ที่สันนิษฐานว่ามีสองพยางค์เป็นอย่างต่ำ) ซึ่งกำลังจะเข้าสู่ระยะ "พยางค์เดียว" (monosyllabic stage) ต่อไป ดังที่พบในภาษาตระกูลไททุกภาษา
ตารางด้านล่างนี้แสดงพยัญชนะควบกล้ำพยางค์เดี่ยว ซึ่งสืบสร้างโดย พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009)
Proto-Tai consonant clusters (Pittayaporn 2009)
Labial
Alveolar
Palatal
Velar
Uvular
Unvoiced Stop
pr-, pl-, pw-
tr-, tw-
cr-
kr-, kl-, kw-
qr-, qw-
Implosive
br-, bl-, bw-
ɡr-, (ɡl-)
ɢw-
Fricative
sw-
xw-, ɣw-
Nasal
ʰmw-
nw-
ɲw-
ŋw-
Liquid
ʰrw-, rw-
ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของกลุ่มพยัญชนะควบพยางค์ครึ่ง
Voiceless stop + voiceless stop (*C̥.C̥-)
Voiceless obstruent + voiced stop (*C̥.C̬-)
Voiced obstruent + voiceless stop (*C̬.C̥-)
Voiceless stops + liquids/glides (*C̥.r-)
Voiced consonant + liquid/glide
Clusters with non-initial nasals
พยัญชนะควบอื่น ๆ ได้แก่ *r.t-, *t.h-, *q.s-, *m.p-, *s.c-, *z.ɟ-, *g.r-, *m.n-; *gm̩.r-, *ɟm̩ .r-, *c.pl-, *g.lw-; etc.
สระ
หลี่ ฟางกุ้ย (1977) ได้สืบสร้างสระเดี่ยว จำนวน 9 เสียง โดยมีลักษณะสมมาตรทั้งสระส่วนหน้าและสระส่วนหลัง โดยสระส่วนหลังมีการแยกระหว่างปากห่อ (rounded) กับปากเหยียด (unrounded) ด้วย ซึ่งคล้ายคลึงกับระบบสระของภาษาตระกูลไทในปัจจุบัน แต่กลับไม่มีการแยกระหว่างความสั้น-ยาว ดังตารางด้านล่าง
พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) ได้ปรับปรุงแก้ไขระบบเสียงสระใหม่ โดยตัดสระ /ɛ/ และ /ɔ/ ออก และเพิ่มความแตกต่างระหว่างความสั้น-ยาว ของสระ ดังตารางด้านล่าง
Proto-Tai vowels (Pittayaporn 2009)
Front
Back
unrounded
unrounded
rounded
short
long
short
long
short
long
Close
/i/
/iː/
/ɯ/
/ɯː/
/u/
/uː/
Mid
/e/
/eː/
/ɤ/
/ɤː/
/o/
/oː/
Open
/a/
/aː/
สระประสม (diphthong) โดย พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) ได้แก่:
สูงขึ้น: */iə/, */ɯə/, */uə/
ต่ำลง: */ɤɰ/, */aɰ/
วรรณยุกต์
กระบวนการแยกของเสียงวรรณยุกต์ร่วมกับการแปรเสียงพยัญชนะต้น (จาก พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ 2009)
ภาษาไทดั้งเดิมมีเสียงวรรณยุกต์สามเสียงในพยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะเสียงกังวาน (พยางค์เป็น, อังกฤษ : unchecked syllable หรือ "live syllable") และไม่มีการแยกเสียงวรรณยุกต์ในพยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะปิดกั้น (พยางค์ตาย, อังกฤษ : checked syllable หรือ "dead syllable") ระบบเสียงดังกล่าวมีความคล้ายคลึงอย่างมากกับภาษาจีนยุคกลาง และพบได้ทั่วไปในภาษาแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสียงวรรณยุกต์สามเสียงในพยางค์เป็นโดยทั่วไปจะใช้สัญลักษณ์เป็น *A, *B และ *C ตามลำดับ และใช้สัญลักษณ์ *D สำหรับเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ตาย
หลี่ ฟางกุ้ย (1977) ยังไม่มีข้อมูลว่าลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ทั้งสาม (*A, *B และ *C) มีลักษณะทางสัทศาสตร์เป็นอย่างไร และวรรณยุกต์ *D นั้นแท้จริงแล้วมีลักษณะแบบเดียวกับวรรณยุกต์เสียงใดในทั้ง 3 เสียงนั้น ต่อมา พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) ได้อธิบายลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ทั้งสี่ โดยอาศัยระเบียบวิธีเปรียบเทียบลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาตระกูลไทปัจจุบัน แล้วสืบสร้างกลับไป ได้ดังนี้
Proto-Tai tonal characteristics (Pittayaporn 2009)
*A
*B
*C
*D
ชนิดของพยางค์
เป็น
เป็น
เป็น
ตาย
ระดับเสียงเริ่มต้น
กลาง
ต่ำ
สูง
ต่ำ
รูปร่างเสียง
คงที่
ยกขึ้น
ตกลง
ยกขึ้น
ความยาวสระ
–
ค่อนยาว
ค่อนสั้น
–
คุณภาพเสียง
ปกติ (modal)
ต่ำลึก (creaky)
กักเส้นเสียง (glottal constriction)
–
ภาพ
ระบบวรรณยุกต์ในภาษาไทดั้งเดิม แท้จริงแล้วไม่ได้ต่างกันเพียงแค่ระดับเสียง (pitch) แต่ยังต่างกันที่คุณภาพของเสียง (ปกติ, ต่ำลึก, กักเส้นเสียง) และระยะเวลาของเสียงสระด้วย ลักษณะเช่นนี้ยังคงพบในภาษาตระกูลไทในปัจจุบันหลาย ๆ ภาษา อักขรวิธีของภาษาไทย ปัจจุบันยังคงแสดงวรรณยุกต์เหล่านี้ไว้ โดยที่ ไม้เอก ใช้สำหรับแทนเสียง *B ในภาษาไทยโบราณ และไม้โท ใช้แทนเสียง *C ในภาษาไทยโบราณ จากตารางจะพบว่า วรรณยุกต์ *D มีลักษณะทางสัทศาสตร์เหมือนกับวรรณยุกต์ *B ซึ่งสอดคล้องกับการบังคับเอกโทในฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ ที่กำหนดให้ทั้งคำเอก (คำที่กำกับโดยไม้เอก) และคำตายอยู่ในตำแหน่งเดียวกันได้ แสดงให้เห็นว่าในอดีต เสียงวรรณยุกต์ *B และ *D มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
ระบบวรรณยุกต์ในภาษาไทดั้งเดิมมีความสอดคล้องกันกับระบบของภาษาจีนยุคกลาง ดังตารางต่อไปนี้[ 5] [ 6]
Sinitic–Tai tonal correspondences
Proto-Tai Tone
Notes (Written Thai orthography)
Middle Chinese Tone
Chinese name
Notes (Middle Chinese)
*A
Unmarked
A
平 Level (Even)
Unmarked
*B
Marked by -' (mai ek)
C
去 Departing
Marked by -h
*C
Marked by -้ (mai tho)
B
上 Rising
Marked by -x
*D
Unmarked
D
入 Entering
Marked by -p, -t, -k
วรรณยุกต์ในภาษาตระกูลไทปัจจุบันได้มีพัฒนาการมาจากวรรณยุกต์ทั้งสี่ดังกล่าว โดยเกิดการแยกเสียงวรรณยุกต์แต่ละเสียงออกเป็นอย่างน้อย 2 เสียง ขึ้นอยู่กับลักษณะทางสัทศาสตร์ของพยัญชนะต้น ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 แบบ ต่อไปนี้
"เสียงเสียดสี" (Friction sound) ได้แก่ เสียงเสียดแทรก ไม่ก้อง, เสียงกัก พ่นลม ไม่ก้อง, เสียงนาสิก ไม่ก้อง และเสียงไหล ไม่ก้อง
เสียงกัก ไม่พ่นลม ไม่ก้อง
เสียงกักเส้นเสียง
เสียงก้องใด ๆ
กระบวนการแปรเสียงวรรณยุกต์ในภาษาตระกูลไท เกิดร่วมไปกับการแปรเสียงพยัญชนะต้น โดยลำดับขั้นตอนได้ดังนี้
เสียงพยัญชนะต้นมีผลกระทบต่อเสียงวรรณยุกต์ ทำให้การรับรู้เสียงวรรณยุกต์มีความแตกต่างกันระหว่างพยัญชนะเสียงก้องและไม่ก้อง
เกิดการแยกเสียงวรรณยุกต์อย่างชัดเจน สำหรับพยัญชนะเสียงไม่ก้อง (แยกเป็น *A1, *B1, *C1, *D1) และพยัญชนะเสียงก้อง (แยกเป็น *A2, *B2, *C2, *D2)
เสียงกังวาน (sonorant) ไม่ก้อง ได้แปรไปเป็นเสียงก้อง
เสียงกัก (stop) ก้อง เกิดการเสียความก้อง (devoicing) ไป กลายเป็นเสียงไม่ก้อง
เกิดการแยกและรวมเสียงวรรณยุกต์ต่อไป
อนึ่ง วรรณยุกต์ *D ได้มีการแยกออกไปตามความสั้น-ยาวของสระในพยางค์ด้วย (*DS สำหรับพยางค์ที่มีสระเสียงสั้น และ *DL สำหรับพยางค์ที่มีสระเสียงยาว)
พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) ได้เสนอว่า การแยกเสียงวรรณยุกต์เหล่านี้เกิดภายหลังจากที่ภาษาไทดั้งเดิมได้แยกออกไปเป็นภาษาต่าง ๆ แล้ว แตกต่างจากแนวคิดของนักภาษาศาสตร์บางคนก่อนหน้านี้ เช่น เจมส์ อาร์ แชมเบอร์เลน (1975) ที่ได้เสนอว่าการแยกเสียงวรรณยุกต์เกิดก่อนที่จะมีการแยกตัวของภาษาตระกูลไท
วิลเลียม เจ เก็ดนีย์ (1972) ได้เสนอ กล่องวรรณยุกต์ สำหรับใช้ในการวิเคราะห์การแปรเสียงวรรณยุกต์สำหรับภาษาในตระกูลไท[ 7] [ 8] [ 9] [ 10] ดังตารางด้านล่างนี้
Gedney Box template
*A
*B
*C
*DS
*DL
Voiceless (friction)
A1
B1
C1
DS1
DL1
Voiceless (unaspirated)
A1
B1
C1
DS1
DL1
Voiceless (glottalized)
A1
B1
C1
DS1
DL1
Voiced
A2
B2
C2
DS2
DL2
และมีคำร่วมเชื้อสายตระกูลไท สำหรับทดสอบเสียงวรรณยุกต์ในภาษาตระกูลไทต่าง ๆ ต่อไปนี้[ 11] [ 12] [ 13]
Diagnostic words for Tai tones
*A
*B
*C
*DS
*DL
1: Voiceless (friction)
huu หู ear, khaa ขา leg, hua หัว head; sɔɔŋ สอง two, maa หมา dog
khay ไข่ egg, phaa ผ่า to split, khaw เข่า knee; may ใหม่ new, sii สี่ four
khaaw ข้าว rice, sɨa เสื้อ shirt, khaa ฆ่า to kill, khay ไข้ fever, haa ห้า five; thuay ถ้วย cup, mɔɔ หม้อ pot, naa หน้า face, to wait
mat หมัด flea, suk สุก cooked/ripe, phak ผัก vegetable; hok หก six, sip สิบ ten
khaat ขาด broken/torn, ŋɨak เหงือก gums, haap หาบ to carry on a shoulder pole; khuat ขวด bottle, phuuk ผูก to tie, sɔɔk ศอก elbow, khɛɛk แขก guest, fruit
2: Voiceless (unaspirated)
pii ปี year, taa ตา eye, kin กิน to eat; kaa กา teapot, plaa ปลา fish
paa ป่า forest, kay ไก่ chicken, kɛɛ แก่ old; taw เต่า turtle, paw เป่า to blow, pii ปี flute, short (height)
paa ป้า aunt (elder), klaa กล้า rice seedlings, tom ต้ม to boil; kaw เก้า nine, klay ใกล้ near, short (length)
kop กบ frog, tap ตับ liver, cep เจ็บ to hurt; pet เป็ด duck, tok ตก to fall/drop
pɔɔt ปอด lung, piik ปีก wing, tɔɔk ตอก to pound; pɛɛt แปด eight, paak ปาก mouth, taak ตาก to dry in the sun, to embrace
3: Voiceless (glottalized)
bin บิน to fly, dɛɛŋ แดง red, daaw ดาว star; bay ใบ leaf, nose
baa บ่า shoulder, baaw บ่าว young man, daa ด่า to scold; ʔim อิ่ม full, (water) spring
baan บ้าน village, baa บ้า crazy, ʔaa อ้า to open (mouth); ʔɔy อ้อย sugarcane, daam ด้าม handle, daay ด้าย string
bet เบ็ด fishhook, dip ดิบ raw/unripe, ʔok อก chest; dɨk ดึก late, to extinguish
dɛɛt แดด sunshine, ʔaap อาบ to bathe, dɔɔk ดอก flower; ʔɔɔk ออก exit
4: Voiced
mɨɨ มือ hand, khwaay ควาย water buffalo, naa นา ricefield; ŋuu งู snake, house
phii พี่ older sibling, phɔɔ พ่อ father, ray ไร่ dry field; naŋ นั่ง to sit, lɨay เลื่อย to saw, ashes, urine, beard
nam น้ำ water, nɔɔŋ น้อง younger sibling, may ไม้ wood, maa ม้า horse; lin ลิ้น tongue, thɔɔŋ ท้อง belly
nok นก bird, mat มัด to tie up, lak ลัก to steal; sak ซัก to wash (clothes), mot มด ant, lep เล็บ nail
miit มีด knife, luuk ลูก (one's) child, lɨat เลือด blood, nɔɔk นอก outside; chɨak เชือก rope, raak ราก root, nasal mucus, to pull
โครงสร้างพยางค์
แต่เดิมมีความเข้าใจว่าภาษาไทดั้งเดิมเป็นภาษาพยางค์เดียวเช่นเดียวกับภาษาตระกูลไทปัจจุบัน ตามการสืบสร้างของ หลี่ ฟางกุ้ย (1977) ต่อมาพิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) เสนอว่าภาษาไทดั้งเดิมเป็นภาษาพยางค์ครึ่ง ที่อนุญาตให้มีคำทั้งพยางค์เดียว และพยางค์ครึ่งอยู่ภายในภาษา ต่อมาคำพยางค์ครึ่งเหล่านั้นได้กร่อนเป็นคำพยางค์เดียวในภาษาตระกูลไทปัจจุบัน
โครงสร้างพยางค์ (พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ 2009)
พยางค์เปิด
พยางค์ปิด
พยางค์เดียว
*C(C)(C)V:T
*C(C)(C)V(:)CT
พยางค์ครึ่ง
*C(C).C(C)(C)V:T
*C(C).C(C)(C)V(:)CT
สัญลักษณ์ย่อ :
C = พยัญชนะ
V = สระเสียงสั้น
V: = สระเสียงยาว
T = วรรณยุกต์
(...) = มีหรือไม่มีก็ได้
สระในพยางค์เปิดสามารถเป็นสระเสียงยาวได้อย่างเดียว ไม่สามารถเป็นสระเสียงสั้นได้
ภาษาในตระกูลไทปัจจุบันได้พัฒนาเป็นภาษาพยางค์เดียวโดยสมบูรณ์ โดยผ่านกระบวนการดังนี้
การอ่อนเสียงลง (weakening)
การแปรเป็นเสียงกักเส้นเสียงลมเข้า (implosivization)
การสลับลำดับของเสียง (metathesis)
การกลืนเสียง (assimilation)
การกร่อนเสียง (simplification) - พยัญชนะควบกล้ำในพยางค์กร่อนลงเหลือพยัญชนะเดี่ยว
สัณฐานวิทยา
หลี่ ฟางกุ้ย (1977) เสนอว่าภาษาไทดั้งเดิมอาจมีการแปรเสียงพยัญชนะต้นระหว่างเสียงก้องและไม่ก้อง (voicing alternation) เพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์บางอย่าง แต่ยังไม่ทราบหน้าที่ทางไวยากรณ์ชัดเจน โดยยกตัวอย่างคำว่า เขี้ยว /kh iəwC1 / ซึ่งสืบสร้างพยัญชนะต้นได้เป็น *kh - ในภาษาไทดั้งเดิม และคำว่า เคี้ยว /kh iəwC2 / ซึ่งสืบสร้างพยัญชนะต้นได้เป็น *g- โดยมองว่าทั้งสองคำนี้ แท้จริงมีรากเดียวกันแต่มีการแปรระหว่างเสียงก้องและไม่ก้อง (*kh - และ *g-) เพื่อเปลี่ยนจากคำนามเป็นคำกริยา พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) ไม่สนับสนุนทฤษฎีนี้
ไวยากรณ์
การศึกษาไวยากรณ์และสัณฐานวิทยาของภาษาไทดั้งเดิมยังมีไม่มากนัก
วากยสัมพันธ์
ภาษาไทดั้งเดิมมีเรียงคำแบบ ประธาน-กริยา-กรรม
ภาษาไทดั้งเดิมมีการแยกการณ์ลักษณะ ในการปฏิเสธ โดยแยกระหว่างการปฏิเสธแบบสมบูรณ์ (perfect) และไม่สมบูรณ์ (non-perfect) และอาจมีการแบ่งเป็นแบบเน้น (emphatic) และแบบไม่เน้น (non-emphatic) โดยมีคำปฏิเสธที่ได้รับการสืบสร้างต่อไปนี้
คำ
ความหมาย
ภาษาไทย
เทียบอังกฤษ
*pajB
ปฏิเสธสมบูรณ์
ไป่
not yet
*ɓawB
ปฏิเสธไม่สมบูรณ์ (เน้น)
บ่
not
*mi:A
ปฏิเสธไม่สมบูรณ์
มิ หรือ ไม่ (ไม่เน้น)
not
ความแตกต่างระหว่าง *ɓawB และ *mi:A ยังไม่ชัดเจน อาจเป็นไปได้ว่ามีความแตกต่างระหว่างความเน้นกับความไม่เน้น ในลิลิตพระลอ พบว่ามีการใช้คำว่า บ่ ในการปฏิเสธแบบเน้น และใช้ มิ ในการปฏิเสธแบบไม่เน้น ดังนั้นเป็นไปได้ว่า *ɓawB เป็นคำปฏิเสธแบบเน้นในภาษาไทดั้งเดิม และ *mi:A เป็นคำปฏิเสธแบบไม่เน้น ในภาษาตระกูลไทปัจจุบันพบว่าเส้นแบ่งระหว่างปฏิเสธแบบสมบูรณ์กับไม่สมบูรณ์ค่อย ๆ จางลง มีเพียงบางภาษาเท่านั้นที่ยังรักษาความแตกต่างระหว่างสองแบบนี้
หน่วยคำ
สรรพนาม
บุคคล
พจน์
ไทดั้งเดิม
อักษรไทย
ที่ 1
เอกพจน์
*ku
กู
ทวิพจน์
*ra
รา
พหูพจน์
*rau, *tu
เรา, ตู
ที่ 2
เอกพจน์
*mɯŋ
มึง
พหูพจน์
*su
สู
ที่ 3
เอกพจน์
*man
มัน
พหูพจน์
*khau
เขา
คำศัพท์
ศัพท์ภาษาไทดั้งเดิม:[ 15]
เลขที่
อังกฤษ
ไทดั้งเดิม
> แปรไทย
ความหมายภาษาไทย
1
head (1)
*krawᶜ
เกร้า
หัว
2
head (2)
*truəᴬ
ตรัว
=หัว
3
hair, head
*prɤmᴬ
เพริม
ผม
4
knot, hair
*klawᶜ
เกล้า
5
hair, body; feather
*q.pɯlᴬ
ก.ปึล
ขน
6
gray-haired
*ʰŋwuːkᴰ
หฺงูก
หงอก
7
forehead
*praːkᴰ
ปราก
หน้า”ผาก”
8
nose
*ɗaŋᴬ
อฺดัง
จมูก
9
mucus of the nose
*muːkᴰ
มูก
น้ำ”มูก”
10
face
*ʰnaːᶜ
หฺน้า
หน้า
11
eye
*p.taːᴬ
ป.ตา
ตา
12
mouth
*paːkᴰ
ปาก
ปาก
13
tongue
*liːnᶜ
ลี้น(เสียงโท)
ลิ้น
14
tooth
*wanᴬ
วัน
ฟัน
15
gum; gill
*ʰŋɯəkᴰ
เหฺงือก
เหงือก
16
saliva
*laːjᴬ
ลาย
น้ำ”ลาย”
17
cheek
*keːmᶜ
เก้ม
แก้ม
18
ear
*krwɯːᴬ
กฺรฺวือ
หู
19
fang
*χeːwᶜ
เฃี้ยว
เขี้ยว
20
chin, jaw
*ɢaːŋᴬ
คาง(~กาง)
คาง
21
beard
*momᴮ
ม่ม(เสียงเอก)
เครา
22
neck
*ɣoːᴬ
โฅ
คอ
23
goiter
*ʰniəŋᴬ
เหฺนียง(เสียงสามัญ)
เหนียง
24
shoulder
*C̥.baːᴮ
?.บ่า
บ่า
25
arm
*qeːnᴬ
เกน
แขน
26
elbow
*C̬.swoːkᴰ
?.โสฺวก
ศอก
27
hand
*mwɯːᴬ
มฺวือ
มือ
28
finger, toe
*niːwᶜ
นี้ว(เสียงโท)
นิ้ว
29
fingernail, toenail
*C̬.lepᴰ
?.เล็บ
เล็บ
30
joint
*χoːᶜ
โฃ้
ข้อ
31
leg
*p.qaːᴬ
ป.กา
ขา
32
knee
*χowᴮ
ฃ่ว
เข่า
33
shin, lower leg
*ɣeːŋᴮ
แฅ่ง(เสียงเอก)
แข้ง
34
foot
*tiːnᴬ
ตีน
ตีน
35
heel
*sɤnᶜ
เสิ้น
ส้น
36
chest
*ʔɤkᴰ
เอิก
อก
37
back
*ʰlaŋᴬ
หฺลัง(เสียงสามัญ)
หลัง
38
waist (1)
*ˀjeːwᴬ
เอฺยว
=เอว
39
waist (2)
*C̥.wɯǝtᴰ
?.เวือด
เอว
40
stomach, belly
*dwuːŋᶜ
ดฺวู้ง(เสียงโท)
ท้อง
41
navel (1)
*ɗwɯːᴬ
อฺดฺวือ
=สะ”ดือ”
42
navel (2)
*ɓliːᶜ
อฺบฺลี้
สะดือ
43
buttock
*konᶜ
ก้น
44
hair, pubic
*ʰmwuːjᴬ
หฺมฺวูย(เสียงสามัญ)
ขนที่ลับ
45
vagina
*hiːᴬ
ฮี
ช่องคลอด
46
penis
*ɣwajᴬ
ไฅว
องคชาติ
47
testicles
*tram
ตรัม
อัณฑะ
48
pubic mound
*ʰnawᴮ
หฺน่าว(เสียงสามัญ)
หัว”หน่าว”
49
urine
*niəwᴮ
เนี่ยว(เสียงเอก)
เยี่ยว
50
excrement
*C̬.qɯjᶜ
?.กื้ย
ขี้
51
fart
*k.tɤtᴰ
ก.เติด
ตด
52
bone
*C̥.dukᴰ
?.ดุก
กระดูก
53
marrow, bone
*ʔwuːkᴰ
อฺวูก
ไขกระดูก
54
tendon
*ˀjenᴬ
เอฺย็น
เอ็น
55
side, ribs
*k.raːŋᶜ
ก.ร้าง(เสียงโท)
ซี่”โครง”
56
blood
*lɯətᴰ
เลือด
57
meat, flesh
*n.mɤːᶜ
น.เม้อ(เสียงโท)
เนื้อ
58
skin
*ʰnaŋᴬ
หฺนัง(เสียงสามัญ)
หนัง
59
sweat
*r.tɯəᴮ
ร.เตื่อ
เหงื่อ
60
pus
*ʰnoːŋᴬ
โหฺนง(เสียงสามัญ)
หนอง
61
impetigo
*kritᴰ
กริด
หิด
62
wound
*ɓaːtᴰ
อฺบาด
“บาด”แผล
63
scurf
*ɣɯjᴬ
ฅืย
ขี้”ไคล”
64
brain
*ʔeːkᴰ
เอก
สมอง
65
heart, breath
*cɤɰᴬ
ใจ(เจอ~อือ)
หัว”ใจ”
66
lung
*pwɤtᴰ
เปฺวิด
ปอด
67
intestine
*sajᶜ
ไส้
68
liver
*tapᴰ
ตับ
ตับ
69
spleen
*maːmᶜ
ม้าม(เสียงโท)
ม้าม
70
gall bladder, bile
*ɓliːᴬ
อฺบฺลี
น้ำ”ดี”
71
illness, fever
*k.raj
ก.ไร
ไข้
72
cold (n.)
*q.watᴰ
ก.วัด
หวัด
73
epidemic
*raːᴮ
ร่า(เสียงเอก)
ห่า=โรคระบาด
74
kidney-stones
*ʰniːwᶜ
หฺนี้ว
นิ่ว
75
dog
*ʰmaːᴬ
หฺมา(เสียงสามัญ)
หมา
76
pig
*ʰmuːᴬ
หฺมู(เสียงสามัญ)
หมู
77
mouse, rat
*ʰnuːᴬ
หฺนู(เสียงสามัญ)
หนู
78
water buffalo
*ɣwaːjᴬ
ฅวาย
ควาย
79
horse
*maːᶜ
ม้า(เสียงโท)
ม้า
80
bear
*ʰmwɯjᴬ
หฺมฺวึย(เสียงสามัญ)
หมี
81
jackal
*nwajᴬ
ไนฺว
หมา”ไน”
82
elephant
*ɟaːŋᶜ
ช้าง(เสียงโท)
ช้าง
83
deer
*kwɯəŋᴬ
เกวือง
กวาง
84
antelope
*waːlᴬ
วาล
ฟาน=เก้ง
85
monkey
*liːŋᴬ
ลีง
ลิง
86
ape
*kaŋᴬ
กาง
ค่าง
87
flying squirrel
*baːŋᴮ
บ่าง
88
squirrel
*roːkᴰ
โรก
กระรอก
89
porcupine
*ʰmenᶜ
เหฺม้น
เม่น
90
civet cat
*ʰɲelᴬ
เหฺญ็ล(เสียงสามัญ)
อี”เห็น” และรวมไปถึงชะมด
91
otter
*naːkᴰ
นาก
92
pangolin
*lilᴮ
ลิ่ล(เสียงเอก)
ลิ่น
93
chicken
*kajᴮ
ไก่
94
hen, young
*C̬.qɤːŋᴮ
?.เก่อง
ไก่หนุ่ม
95
duck
*pitᴰ
ปิด
เป็ด
96
goose
*haːnᴮ
ห่าน
97
bird
*C̬.nokᴰ
?.นก
นก
98
crow
*kaːᴬ
กา
99
swallow (n.)
*ʔeːnᴮ
เอ่น
นกนาง”แอ่น”
100
owl
*gawᶜ
เค้า(เสียงโท ~เก้า)
นก”เค้า”แมว และรวมไปถึงนกฮูก
101
hawk
*lamᴮ
ลั่ม(เสียงเอก)
เหยี่ยว
102
fish
*plaːᴬ
ปลา
103
catfish
*C̥.dokᴰ
?.ดก
ปลา”ดุก”
104
shellfish
*hoːjᴬ
โฮย
หอย
105
crab
*pɯwᴬ
ปึว
ปู
106
shrimp
*kuŋᴮ/C
กุ่ง/กุ้ง
กุ้ง
107
shrimp, small
*ŋiəwᴬ
เงียว
กุ้งเล็ก
108
frog
*kɤpᴰ
เกิบ
กบ
109
frog, small
*krweːᶜ
เกฺรฺว
กบเล็ก
110
frog, tree
*paːtᴰ
ปาด
111
turtle
*tawᴮ
เต่า
112
tortoise, water
*ʰwɯəᴬ
เหฺวือ(เสียงสามัญ)
ตะพาบ
113
snake
*ŋwɯːᴬ
งฺวือ
งู
114
crocodile
*ŋɯəkᴰ
เงือก
เงือก~>จระเข้
115
leech, land
*daːkᴰ
ดาก
ทาก
116
leech, aquatic
*pliːŋᴬ
ปลีง
ปลิง
117
bedbug
*C̬.rɯətᴰ
?.เรือด
เรือด
118
grasshopper
*p.takᴰ
ป.ตัก
“ตั๊ก”แตน
119
mosquito
*ɲuŋᴬ
ญุง
ยุง
120
wasp
*b.twiːlᴬ
บ.ตฺวีล
แตน และรวมไปถึงต่อ
121
bee
*toːᴮ
ต่อ
ผึ้ง
122
insect
*m.leːŋᴬ
ม.เลง
แมลง
123
ant
*mɤcᴰ
เมิจ
มด
124
termite
*moːtᴰ
โมด
มอด~>ปลวก
125
worm
*ʰnoːlᴬ
หฺนอล(เสียงสามัญ)
หนอน
126
earthworm
*t.nɯəlᴬ
ต.เนือล
ไส้”เดือน”
127
gadfly
*ʰlɯəkᴰ
เหฺลือก
เหลือบ
128
louse, head
*trawᴬ
เตรา
เหา
129
tick
*trepᴰ
เตร็บ
เห็บ
130
flea
*ʰmatᴰ
หฺมัด
หมัด
131
louse, body
*m.lelᴬ
ม.เล็ล
เล็น
132
louse, chicken
*rwɤjᴬ
เรฺว็ย
ไร
133
spider
*krwaːwᴬ
กฺรฺวาว
แมงมุม
134
coconut grub
*ɗuəŋᶜ
อฺด้วง
ด้วง
135
stink bug
*geːŋ1
เคง
แมง”แคง”(ลาว)=มวนชนิดหนึ่ง
136
caterpillar
*C̥.boŋᶜ
?.บ้ง
บุ้ง
137
silkworm
*moːnᶜ
โม้น(เสียงโท)
หนอนไหม
138
butterfly
*ɓɤːj
เอฺบ้อย
แมงกำ”เบ้อ”(คำเมือง)=ผีเสื้อ
139
centipede
*q.sipᴰ
ก.สิบ
ตะเข็บ
140
cockroach
*saːpᴰ
สาบ
แมลง”สาบ”
141
horn
*qawᴬ
เกา
เขา
142
tusk, ivory
*ŋaːᴬ
งา
143
wing (1)
*wɯətᴰ
เวือด
ปีก
144
wing (2)
*piːkᴰ
ปีก
145
tail
*trwɤːŋᴬ
เตฺรฺวอง
=หาง
146
scales, fish
*klecᶜ
เกล็จ
เกล็ด
147
fishbone
*kaːŋᶜ
ก้าง
148
egg
*qraj
ไกร
ไข่
149
gizzard
*p.taɰᴬ
ป.ใต(ตา~อือ)
ไต~>กึ๋น
150
cockscomb
*hoːnᴬ
โฮน
หงอน
151
cockspur
*t.nɤːjᴬ
ต.เนอย
เดือย
152
hump of an ox
*ʰnoːkᴰ
โหฺนก
หนอก
153
stinger (of a bee)
*lajᴬ
ไล
เหล็ก”ใน”
154
tree, wood
*mwajᶜ
ไมฺว้(เสียงโท)
ไม้
155
leaf
*ɓaɰᴬ
ใอฺบ(อฺบา~อือ)
ใบ
156
leaf for wrapping (big)
*k.toːŋᴬ
ก.โตง
ใบ”ตอง” ในที่นี้หมายความว่า ใบไม้ใบใหญ่ใช้สำหรับห่อ
157
flower
*ɓloːkᴰ
โอฺบฺลก
“ดอก”ไม้
158
banana blossom
*pliːᴬ
ปลี
159
stem
*kaːnᶜ
ก้าน
160
peel, bark
*plɯəkᴰ
เปลือก
161
husk
*kaːpᴰ
กาบ
162
thorn
*ʰnaːmᴬ
หฺนาม(เสียงสามัญ)
หนาม
163
fruit
*ʰmaːkᴰ
หฺมาก
หมาก~>ผลไม้
164
sheath, pod
*q.wakᴰ
ก.วัก
ฝัก
165
grain
*m.lecᴰ
ม.เล็จ
เมล็ด
166
stump
*toːᴬ
โต
ตอ
167
root
*C̬.raːkᴰ
?.ราก
ราก
168
clump (as of bamboo)
*koːᴬ
โก
กอ
169
sprout, shoot
*ʰnoːᴮ
โหฺน่
หน่อ
170
bamboo shoot
*r.naːŋᴬ
ร.นาง
หน่อไม้
171
ear (of rice)
*rwɯːŋᴬ
รฺวืง
รวง
172
rice
*C̬.qawᶜ
?.เก้า
ข้าว
173
seedling, rice
*klaːᶜ
กล้า
174
rice, husked
*saːlᴬ
สาล(เสียงสามัญ)
ข้าว”สาร”
175
millet
*ʰwɯǝŋᶜ
เหฺวื้อง
ข้าว”ฟ่าง”
176
resin
*ˀjaːŋᴬ
อฺยาง
ยาง
177
banana
*kluəjᶜ
กล้วย
178
sugarcane
*ʔoːjᶜ
โอ้ย
อ้อย
179
bamboo
*prajᴮ
ไปร่
ไผ่
180
cucumber, melon
*p.rweːŋᴬ
ป.เรฺวง
แตง
181
ashgourd
*wakᴰ
วัก
ฟัก
182
wild olive
*koːkᴰ
โกก
มะ”กอก”
183
starfruit
*ɢwɯəŋᴬ
เควือง
มะ”เฟือง”
184
plum
*manᶜ
มั้น(เสียงโท)
พลัม
185
pomelo
*buːkᴰ
บูก
ส้มโอ
186
acacia
*geːᴬ
เค
แค และรวมไปถึงกระถิน
187
banyan
*rajᴬ
ไร
ไทร
188
vegetable
*prakᴰ
พรัก
ผัก
189
morning glory
*ɓuŋᶜ
อฺบุ้ง
ผัก”บุ้ง”
190
mustard green
*kaːtᴰ
กาด
ผัก”กาด”
191
yam
*manᴬ
มัน
192
taro
*prɯəkᴰ
เปรือก
เผือก
193
ginger
*χiːŋᴬ
ฃิง
ขิง
194
galangal
*xaːᴮ
ข่า
195
sesame
*r.ŋaːᴬ
ร.งา
งา
196
tea
*ɟaːᴬ
ชา
197
raisin
*ʔitᴰ
อิด
ลูก”เกด”
198
rattan
*C̥.waːjᴬ
?.วาย
หวาย
199
reed
*ʔoːᶜ
โอ้
อ้อ
200
grass
*ʰɲɯəᶜ
เหฺญื้อ
หญ้า
201
grass, thatch
*ɣaːᴬ
ฅา
หญ้า”คา”
202
mushroom
*ʰrwetᴰ
เหฺร็ด
เห็ด
203
fern
*kuːtᴰ
กูด
ผัก”กูด”=เฟิร์น
204
duckweed
*ʰneːᴬ
เหฺน(เสียงสามัญ)
แหน
205
moss, aquatic
*dawᴬ
เดา
เทา(ลาว),เตา(คำเมือง)=สาหร่ายชนิดหนึ่ง
206
water
*C̬.namᶜ
?.นํ้า(เสียงโท)
นํ้า
207
fire
*wɤjᴬ
เวย
ไฟ
208
flame
*pleːwᴬ
เปลว
209
smoke
*ɣwanᴬ
ฅวัน
ควัน
210
soot
*ʰmiːᶜ
หฺมี้
เขม่า
211
firewood, hard
*wɯːlᴬ
วืล
ฟืน
212
firewood, bamboo
*ʰlɯəwᴬ
เหฺลือว(เสียงสามัญ)
ฟืนไม้ไผ่
213
ashes, leaf
*brawᴮ
เบร่า
ขี้เถ้าใบไม้
214
ashes (wood)
*dawᴮ
เด่า
เถ้า
215
iron (1)
*ʰlekᴰ
เหฺล็ก
=เหล็ก
216
iron (2)
*mwaːᴬ
มฺวา
เหล็ก
217
salt
*klwɯəᴬ
เกฺลฺวือ
เกลือ
218
lye
*ɗaŋᴮ
อฺด่าง
น้ำ”ด่าง”
219
grease, fat
*manᴬ
มัน
ไข”มัน”
220
soil
*tɯmᴬ
ตึม
ถม
221
earth
*ɗin
อฺดิน
ดิน
222
sand
*zwɯəjᴬ
เซฺวือย
ทราย
223
stone
*triːlᴬ
ตฺรีล
หิน
224
dry land
*ɓokᴰ
อฺบก
บก
225
wild
*C̬.tɯənᴮ
?.เตื่อน
เถื่อน
226
forest
*ɗoŋᴬ
อฺดง
ดง
227
grove, wood
*paːᴮ
ป่า
228
place, ground
*diːᴮ
ดี่
ที่
229
mountain
*C̥.doːjᴬ
?.โดย
ดอย
230
mountain, stone
*praːᴬ
ปรา
ผา
231
cave
*cramᶜ
จรั้ม
ถ้ำ
232
hole
*ruːᴬ
รู
233
hole, crack
*ɟoːŋᴮ
โช่ง(เสียงเอก)
ช่อง
234
pit
*C̬.kumᴬ
?.กุม
ขุม
235
well, spring
*ɓoːᴮ
โอฺบ่
บ่อ
236
stream, mountain
*qrwɤjᶜ
เกฺรฺวิ้ย
ห้วย
237
creek
*roːŋᴮ
โร่ง(เสียงเอก)
ร่อง
238
river
*daːᴮ
ด่า
ท่า~>แม่น้ำ
239
bank, river
*ʰwaŋᴮ
หฺวั่ง
ฝั่ง
240
beach, sandbar
*haːtᴰ
หาด
241
mud
*lɤmᴮ
เหลิ่ม
“หล่ม”โคลน
242
moon, month
*ɓlɯənᴬ
เอฺบฺลือน
เดือน
243
star (general)
*t.naːwᴬ
ต.นาว
=ดาว
244
star (in the sky)
*ɗiːᴮ
อฺดี่
ดาว
245
moonlight
*ʰŋaːjᴬ
หฺงาย(เสียงสามัญ)
แสงจันทร์(ในคำว่า คืนเดือนหงาย)
246
sunshine
*C̥.dwiːtᴰ
?.ดฺวีด
แดด
247
cloud
*ʰwɯəᶜ
เหฺวื้อ
=ฝ้า~>เมฆ
248
fog
*ʰmoːkᴰ
หฺมอก
หมอก
249
wind
*C̬.lɯmᴬ
?.ลึม
ลม
250
sky, heaven
*ɓɯnᴬ
อฺบึน
บน
251
sky, weather
*vaːᶜ
ฟ้า(เสียงโท)
ฟ้า
252
rain
*C̥.wɯnᴬ
?.วึน
ฝน
253
gust (of rain)
*kraːᴮ
กร้า
“ห่า”ฝน
254
lightning
*m.leːpᴰ
ม.เลบ
ฟ้า”แลบ”~>ฟ้าผ่า
255
thunder
*praːᶜ
ปร้า(เสียงโท)
ฟ้า”ผ่า”~>ฟ้าร้อง
256
hoarfrost
*ʰmɯǝjᴬ
เหฺมือย(เสียงสามัญ)
เหมย=น้ำค้างแข็ง
257
dew, mist
*C̬.nwaːjᴬ
?.นฺวาย
น้ำค้าง(มีในสำนวนว่า ตากแดดตากนาย นาย=น้ำค้าง)
258
hail
*trepᴰ
เตฺร็บ
ลูก”เห็บ”
259
steam, vapor
*s.ʔwɤːjᴬ
ส.เอฺวอย
=“ไอ”น้ำ
260
shade
*rɤmᴮ
เร่ิม
ร่ม
261
shadow, reflection
*ŋawᴬ
เงา
262
dry season
*C̬.leːŋᶜ
?.เล้ง(เสียงโท)
แล้ง
263
father, man
*boːᴮ
โบ่
พ่อ
264
mother; woman
*meːᴮ
เม่(เสียงเอก)
แม่
265
sibling, older
*biːᴮ
บี่
พี่
266
sibling, younger
*nwoːŋᶜ
โนฺว้ง
น้อง
267
grandfather, paternal
*pɯwᴮ
ปื่ว
ปู่
268
grandfather, maternal
*taːᴬ
ตา
269
grandmother, maternal
*naːjᴬ
นาย
ยาย
270
child (offspring)
*lɯːkᴰ
ลืก
ลูก
271
great-grandparent
*ɟɯəᶜ
เชื้อ(เสียงโท)
เชื้อ=บรรพบุรุษ
272
nephew, niece, or grandchild
*ʰlaːnᴬ
หฺลาน(เสียงสามัญ)
หลาน
273
great-grandchild
*ʰlenᶜ
เหฺล้น(เสียงโท)
เหลน
274
parent's older brother
*luŋᴬ
ลูง
ลุง
275
parent's older sister
*paːᶜ
ป้า
276
father's younger sister
*ʔaːᴬ
อา
อา(หญิง)
277
mother's younger sibling
*naːᶜ
น้า(เสียงโท)
น้า
278
father's younger brother
*ʔaːwᴬ
อาว
อา(ชาย)
279
wife of man's younger brother
*lɯǝwᴬ
เลือว
น้องสะใภ้
280
wife
*miəᴬ
เมีย
281
son-in-law
*C̬.kɯəjᴬ
?.เกือย
เขย
282
daughter-in-law
*baɰᶜ
ใบ้(บ้า~อื้อ)
สะ”ใภ้”
283
person, human being
*ɢwɯnᴬ
ควืน
คน
284
child (young person)
*ɗekᴰ
เอฺด็ก
เด็ก
285
man, male
*ʑaːjᴬ
ฌาย
ชาย
286
unmarried man
*ɓaːwᴮ
อฺบ่าว
บ่าว~>หนุ่มโสด
287
unmarried woman
*saːwᴬ
สาว(เสียงสามัญ)
สาวโสด
288
girl
*ɓɯːkᴰ
อฺบืก
เด็กหญิง
289
lady
*naːŋᴬ
นาง
ผู้หญิง
290
related by marriage
*t.noːŋᴬ
ต.โนง
เกี่ยว”ดอง”กัน
291
widowed
*ʰmaːjᶜ
หฺม้าย
หม้าย
292
orphan
*gm̩.raːᶜ
คฺม-ร้า(เสียงโท)
กำพร้า
293
name
*ɟɤːᴮ
ชื่อ(เสียงเอก)
ชื่อ
294
master, owner
*ɕɤwᶜ
~เชิ้ว(เสียงโท)
เจ้า
295
slave (1)
*χɔːjᴮ
ฃ้อย
ข้า
296
slave (2)
*kraːᶜ
กร้า
=ข้า
297
Vietnamese
*keːwᴬ
เกว
แกว=คนเวียดนาม
298
shaman
*ʰmoːᴬ
โหฺม(เสียงสามัญ)
หมอ
299
spirit (1)
*priːᴬ
ปรี
ผี
300
spirit (2)
*mwaːŋᴬ
มฺวาง
สาง?=ผี
301
soul; whorl in the hair
*qwanᴬ
กวัญ
ขวัญ
302
village
*ɓaːnᶜ
อฺบ้าน
หมู่”บ้าน”
303
township
*mɯəŋᴬ
เมือง
304
debt
*ʰniːᶜ
หฺนี้
หนี้
305
liquor
*ʰlawᶜ
เหฺล้า
เหล้า
306
medicine
*ˀjɯəᴬ
เอฺยือ
ยา
307
vinegar
*ʰmiːᴮ
หฺมี่
น้ำส้มสายชู
308
flour
*ɓɯəᴬ
เอฺบือ
แป้ง
309
house
*rɤːnᴬ
เริน
เรือน=บ้าน
310
granary
*ˀjɯǝwᶜ
เอฺยื้อว
“ยุ้ง”ฉาง
311
stake
*ʰlakᴰ
หฺลัก
หลัก
312
eaves
*ʑaːjᴬ
ฌาย
“ชาย”คาบ้าน
313
door
*tuːᴬ
ตู
ประตู
314
stairs, ladder
*ɗrwajᴬ
ไอฺดฺรฺว
บัน”ได”
315
pillar
*sawᴬ
เสา
316
partition, lid
*hwaːᴬ
หฺวา(เสียงสามัญ)
ฝา
317
split bamboo flooring
*waːkᴰ
วาก
ฟาก=พื้นไม้ไผ่
318
window
*taːŋᴮ
ต่าง
หน้า”ต่าง”
319
stool
*taŋᴮ
ตั่ง
320
tripod
*giǝŋᴬ
เคียง
ขาตั้ง
321
board
*peːnᶜ
เป้น
แผ่น
322
thing
*χɔːŋᴬ
ฃอง(เสียงสามัญ)
ของ
323
knife
*mitᴰ
มิด
มีด
324
machete, big knife
*ɟm̩.raːᶜ
ชฺม.ร้า(เสียงโท)
พร้า
325
chopping board
*χiəŋᴬ
เฃียง(เสียงสามัญ)
เขียง
326
spear
*kroːkᴰ
กรอก
หอก
327
crossbow
*ʰnwɯəᶜ
เหฺนื้อ
“หน้า”ไม้
328
axe
*xwaːnᴬ
ขวาน(เสียงสามัญ)
ขวาน
329
chisel
*siəwᴮ
เสี่ยว
สิ่ว
330
hook
*xɔːᴬ
ขอ(เสียงสามัญ)
ตะขอ
331
pliers, thongs
*giːmᴬ
คีม
คีม
332
handle (of a knife)
*ɗaːmᶜ
อฺด้าม
ด้าม
333
handle, rod
*galᴬ
คัล
คัน เช่น คันเบ็ด
334
carrying pole (1)
*traːpᴰ
ตราบ
หาบ
335
carrying pole (2)
*ɢaːnᴬ
คาน
คาน
336
rope, cord
*ɟɤːk
เชอก
เชือก
337
top for spinning
*k.raːŋᴮ
ก.ร่าง(เสียงเอก)
ลูก”ข่าง”
338
basin
*ʔaːŋᴮ
อ่าง
339
jug
*krajᴬ
ไกร
ไห
340
pot
*ʰmoːᶜ
โหฺม้
หม้อ
341
tube, bamboo
*baŋᴮ/C
บั่ง/บั้ง
บ้อง?
342
bag
*croŋᴬ
จรง
ถุง
343
cane for walking
*dawᶜ
เด้า
ไม้”เท้า”
344
comb
*ʰrwɯːjᴬ
หฺรฺวืย(เสียงสามัญ)
หวี
345
writing, book
*sɯːᴬ
สือ
หนัง”สือ”หรืองานเขียน
346
broom
*ɲuːᴬ
ญู
ไม้กวาด
347
thread (1)
*C̥.daːjᶜ
?.ด้าย
ด้าย
348
thread (2)
*ʰmajᴬ
ไหฺม(เสียงสามัญ)
ด้าย
349
hemp
*paːnᴮ
ป่าน
350
loom
*trukᴰ
ตรุก
หูก
351
shuttle of loom
*p.rawᴮ
ป.เร่า(เสียงเอก)
กระสวย
352
spool
*ʰlwuːtᴰ
หฺลฺวูด
หลอด
353
indigo (1)
*g.raːmᴬ
ค.ราม
คราม
354
indigo (2)
*kromᶜ
กร้ม
ม่อ”ห้อม”~>คราม
355
bamboo strip for tying or weaving
*b.twuːkᴰ
บ.ตฺวูก
“ตอก”ไม้ไผ่
356
needle
*qemᴬ
เก็ม
เข็ม
357
strand (of rope)
*kliəwᴬ
เกลียว
358
lacquer
*rakᴰ
รัก
ยาง”รัก”
359
bamboo hat
*klɤpᴰ
เกลิบ
กุบ=หมวกไม้ไผ่
360
puppet, marionette
*hunᴮ
หุ่น
361
marking, patterns
*C̬.laːjᴬ
?.ลาย
ลาย
362
field, paddy
*naːᴬ
นา
363
field, dry
*rɤjᴮ
เร่ย
ไร่
364
field, open
*doŋᴮ
ด่ง
ทุ่ง
365
garden
*swɯːnᴬ
สฺวูน(เสียงสามัญ)
สวน
366
ditch
*ʰmɯəŋᴬ
เหฺมือง(เสียงสามัญ)
คูน้ำ
367
dike between rice fields
*ɣalᴬ
ฅัล
“คัน”นา
368
dam
*hwaːjᴬ
หฺวาย(เสียงสามัญ)
ฝาย
369
water pipe
*linᴬ
ลิน
ท่อน้ำ
370
plough
*crwajᴬ
ไจฺรฺว
ไถ
371
yoke
*ʔeːkᴰ
เอก
แอก
372
yoke, part of
*ʔoːŋᶜ
โอ้ง
อ้อง(ลาว)=ส่วนประกอบหนึ่งของแอก
373
mortar (1)
*grokᴰ
ครก
=ครก
374
mortar (2)
*ʰrumᴬ
หฺรุม(เสียงสามัญ)
ครก
375
pestle
*saːkᴰ
สาก
376
winnowing basket
*ɗoŋᶜ
อฺด้ง
กระด้ง
377
bran
*ramᴬ
รำ
“รำ”ข้าว
378
straw, stubble
*wɯǝŋᴬ
เวือง
ฟาง
379
fish hook
*ɓetᴰ
เอฺบ็ด
เบ็ด
380
fish net
*kreːᴬ
เกร
แห
381
fish trap
*zajᴬ
ไซ
382
snare
*reːwᶜ
เร้ว(เสียงโท)
แร้ว=บ่วงดักสัตว์
383
gutter, trough
*rwɯəŋᴬ
เรฺวือง
ราง
384
cooked in bamboo tube
*ʰlaːmᴬ
หฺลาม(เสียงสามัญ)
หลาม=การประกอบอาหารในกระบอกไม้ไผ่
385
boat
*C̬.rwɯəᴬ
?.เรฺวือ
เรือ
386
raft
*beːᴬ
เบ
แพ
387
road
*ʰrwɤnᴬ
เหฺรฺวิน(เสียงสามัญ)
ถนน
388
track
*rwuːjᴬ
รฺวูย
รอย
389
saddle
*ʔaːnᴬ
อาน
390
drum
*kloːŋᴬ
โกลง
กลอง
391
red
*C̥.dwiːŋᴬ
?.ดวีง
แดง
392
black
*C̥.damᴬ
?.ดำ
ดำ
393
white
*xaːwᴬ
ขาว
394
green
*xiəwᴬ
เขียว
395
yellow
*ʰlɯəŋᴬ
เหฺลือง(เสียงสามัญ)
เหลือง
396
dark (red)
*klamᴮ
กล่ำ
แดงก่ำ
397
gray
*ʰmoːŋᴬ
โหฺมง(เสียงสามัญ)
หมอง~>เทา
398
white-spotted
*ɓlaːŋᴮ
อฺบฺล่าง(เสียงเอก)
จุด”ด่าง”
399
clear, clean
*saɰᴬ
ใส(สา~อือ)(เสียงสามัญ)
ใส
400
dark
*mɯːtᴰ
มืด
401
bright, light (n.)
*roŋᴮ
ร่ง(เสียงเอก)
รุ่ง~>สว่าง
402
thin (not fat)
*proːmᴬ
โปรม
ผอม
403
fat
*bwiːᴬ
บฺวี
พี=อ้วน
404
long
*rɯjᴬ
รืย
รี~>ยาว
405
short (not long)
*tinᴮ
ติ่น
สั้น,ไม่ยาว
406
big (1)
*ʰluəŋᴬ
หฺลวง(เสียงสามัญ)
ใหญ่
407
big (2)
*ɓɯːkᴰ
อฺบืก
ใหญ่ (ปลาบึก?/บึกบึน?)
408
small
*noːjᶜ
น้อย(เสียงโท)
เล็ก
409
low, short (not tall)
*tamᴮ
ต่ำ
ต่ำ,ไม่สูง
410
heavy
*ʰnakᴰ
หฺนัก
หนัก
411
light (in weight)
*C̥.bawᴬ
?.เบา
เบา
412
thick
*ʰnaːᴬ
หฺนา(เสียงสามัญ)
หนา
413
thin (not thick)
*C̥.baːŋᴬ
?.บาง
บาง,ไม่หนา
414
new
*ʰmɤːlᴮ
เหฺม่อล
ใหม่
415
old (of living beings)
*keːᴮ
เก่
แก่
416
old (of things)
*kawᴮ
เก่า
417
senior
*crawᶜ
เจฺร้า
ผู้”เฒ่า”
418
young, soft
*ʔwuːnᴮ
อฺวู่น
=อ่อน,เด็กกว่า
419
raw, not ripe
*C̥.dipᴰ
?.ดิบ
ดิบ,ยังไม่สุก
420
hard
*k.reːŋᴬ
ก.เรง
แข็ง
421
coarse, tough
*ʰɲaːpᴰ
หฺญาบ
หยาบ
422
deep
*lɤkᴰ
เลิก
ลึก
423
loose
*ʰloːmᴬ
โหฺลม(เสียงสามัญ)
หลวม
424
tight, narrow
*gapᴰ
คับ
คับ
425
steep
*ʰliŋᴮ
หฺลิ่ง
ตลิ่ง?~>ชัน
426
stuck
*gaːᴬ
คา
คา,ติดอยู่
427
straight
*zɤːᴮ
เซิ่อ
ซื่อ~>ตรง
428
crooked
*gotᴰ2
คด
คด,ไม่ตรง
429
hot
*rwuːlᶜ
รฺวู้ล(เสียงโท)
ร้อน
430
warm
*ʔunᴮ
อุ่น
431
blind
*ɓoːtᴰ
อฺบอด
ตา”บอด”
432
night blind
*ʰwaːŋᴬ
หฺวาง(เสียงสามัญ)
ตา”ฟาง”
433
deaf
*ʰnuəkᴰ
หฺนวก
หู”หนวก”
434
bitter
*C̬.qɤmᴬ
?.เกิม
ขม
435
astringent in taste
*ʰwɯətᴰ
เหฺวือด
ฝาด
436
sour
*sɤmᶜ
เสิ้ม
ส้ม~>เปรี้ยว
437
sweet, delicious
*C̥.waːlᴬ
?.วาล
หวาน
438
insipid
*cɯːtᴰ
จืด
439
core
*keːlᴮ
เก่ล
แก่น,ใจกลาง
440
fragrant
*hoːmᴬ
โหม(เสียงสามัญ)
หอม
441
stinky
*ʰmenᴬ
เหฺม็น(เสียงสามัญ)
เหม็น
442
putrid
*xwiːwᴬ
ขวีว
เหม็น”เขียว”~>เหม็นเน่า
443
fishy
*ɣaːwᴬ
ฅาว
คาว
444
empty
*plɤwᴮ
เปลิ่ว
เปล่า
445
full
*k.temᴬ
ก.เต็ม
เต็ม
446
deficient
*broːŋᴮ
โบร่ง
พร่อง
447
good
*ɗɤjᴬ
เอฺดย
ดี
448
bad
*rwɤːjᶜ
เรฺว้อย
ร้าย
449
long (of time)
*hɤŋᴬ
เหิง
หึง=เวลานาน
450
slow
*naːnᴬ
นาน
นาน~>ช้า
451
late
*ʰlaːᶜ
หฺล้า
“ล่า”ช้า=สาย
452
near
*k.raɰᶜ
ก.ใร้(ร่า~อื้อ)
ใกล้
453
far
*k.lajᴬ
ก.ไล
ไกล
454
face down
*qwamᶜ
กว้ำ
คว่ำ
455
face up
*ʰŋaːjᴬ
หฺงาย(เสียงสามัญ)
หงาย
456
sharp-pointed
*ʰleːmᴬ
เหฺลม(เสียงสามัญ)
แหลม
457
sharp, sharp edge
*ɣɤmᴬ
เฅิม
คม
458
slippery, smooth
*m.lɯːlᴮ
ม.ลื่ล(เสียงเอก)
ลื่น
459
sticky
*ʰniəwᴬ
เหฺนียว(เสียงสามัญ)
เหนียว
460
liquid, soft
*ʰleːwᴬ
เหฺลว(เสียงสามัญ)
เหลว
461
rotten
*nawᴮ
เน่า(เสียงเอก)
เน่า
462
withered
*ʰriəwᴮ
เหฺรี่ยว
เหี่ยว
463
dried up
*ʰreːŋᶜ
เหฺร้ง
แห้ง
464
dry
*χaɰᴮ
ใฃ้(ฃ้า~อื้อ)
น้ำ”ไข้”=น้ำแห้ง
465
wet
*domᴬ
ดม
เปียก
466
mute
*ŋwamᶜ
งฺวำ
เงียบ”งัน”?
467
dumb
*ɓɤɰᶜ
ใอฺบ้(เอฺบ้อ-อื้อ)
บ้า”ใบ้” ในที่นี้แปลว่า โง่,ปัญญาอ่อน
468
easy
*ŋaːjᴮ
ง่าย(เสียงเอก)
ง่าย
469
drunk (1)
*mawᴬ
เมา
470
drunk (2)
*mwiːᴬ
มฺวี
เมา
471
sterile
*ʰmanᴬ
หฺมัน(เสียงสามัญ)
หมัน
472
entangled
*ɲuŋᴮ/C
ญุ่ง(เสียงเอกหรือโท)
ยุ่ง
473
blistered
*boːŋᴬ
โบง
พอง
474
expensive
*beːŋᴬ
เบง
แพง
475
familiar
*gunᶜ
คุ้น(เสียงโท)
คุ้น
476
asleep
*ɗakᴰ
อฺดัก
หลับ
477
hungry
*ˀjɯǝkᴰ
เอฺยือก
อยาก~>หิว
478
satiated
*ʔiːmᴮ
อิ่ม
479
swollen
*gaɰᴮ
ใค่(ค่า~อื่อ)(เสียงเอก)
ไค่(ลาว)=บวม
480
stiff and tired
*mɯəjᴮ
เมื่อย(เสียงเอก)
เมื่อย
481
tired, exhausted
*ʰnɯəjᴮ
เหฺนื่อย
เหนื่อย
482
lazy
*kliːkᴰ
กลีก
ขี้”เกียจ”
483
tired, bored
*ʰnaːjᴮ
หฺน่าย
หน่าย
484
idle, free
*ɗwɤːjᴬ
อฺดฺวืย
=ดาย~>ว่าง,อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไร
485
disgusted
*ɓɯəᴮ
เอฺบื่อ
เบื่อ
486
crazy
*ɓaːᶜ
อฺบ้า
บ้า
487
hurt (1)
*cepᴰ
เจ็บ
488
hurt (2)
*keːtᴰ
เกด
=ปวด?
489
torn
*qaːtᴰ
กาด
ขาด
490
plugged
*sakᴬ
สัก
เสียบ
491
bruised (1)
*ɟamᶜ
ช้ำ(เสียงโท)
ช้ำ
492
bruised (2)
*wokᴰ
วก
ฟก
493
lost
*ʰloŋᴬ
หฺลง(เสียงสามัญ)
หลง
494
alive
*ɲaŋᴬ
ญัง
ยัง~>มีชีวิต,ยังไม่ตาย
495
strong, strength
*reːŋᴬ
เรง
แรง
496
weave, to (cloth)
*tamᴮ
ตำ
“ตำ”ผ้า=ทอผ้า
497
dye, to
*ɲwuːmᶜ
ญฺวู้ม(เสียงโท)
ย้อม
498
sew, to
*ɲepᴰ
เญ็บ
เย็บ
499
embroider, to
*seːwᴮ
เส่ว
ปัก
500
weave, to (baskets, mats)
*saːn
สาน(เสียงสามัญ)
สาน
501
sow, to; scatter, to
*C̥.waːlᴮ
?.ว่าล(เสียงเอก)
หว่าน
502
transplant, to
*t.namᴬ
ต.นำ
“ดำ”นา
503
plant, to
*plwɯːkᴰ
ปฺลวืก
ปลูก
504
sift, to
*qrɤŋᴬ
เกฺริง
กร่อน
505
imprison, to
*k.raŋᴬ
ก.รัง
ขัง
506
hunt, to
*p.rawᴮ
ป.เร่า(เสียงเอก)
การ”ล่า”
507
mark, to; aim, to
*ʰmaːjᴬ
หฺมาย(เสียงสามัญ)
หมาย
508
shoot, to
*ɲɯŋᴬ
ญึง
ยิง
509
poison (fish), to
*C̥.bɯəᴬ
?.เบือ
ยา”เบื่อ”,พิษ
510
tend animal, to
*ɟɯǝŋᶜ
เชื้อง(เสียงโท)
การทำให้สัตว์เชื่อง
511
raise, to
*liəŋᶜ
เลี้ยง(เสียงโท)
เลี้ยง
512
make noise, to
*ɗaŋᴬ
อฺดัง
เสียง”ดัง”
513
differ, to
*taːŋᴮ
ต่าง
แตก”ต่าง”
514
count, to
*napᴰ
นับ
515
heap up, to
*koːŋᴬ
โกง
กอง~>นึกคิด?
516
weigh, to
*ɟaŋᴮ
ชั่ง(เสียงเอก)
“ชั่ง”น้ำหนัก
517
announce, to
*paːwᴮ
ป่าว
“ป่าว”ประกาศ
518
answer, to
*χaːnᴬ
ฃาน(เสียงสามัญ)
“ขาน”รับ,ตอบรับ
519
ask, to
*c.raːmᴬ
จ.ราม
ถาม
520
beg, to
*k.roːᴬ
ก.โร
ขอ
521
order, to; blow the nose, to
*saŋᴮ
สั่ง
“สั่ง”งาน,”สั่ง”น้ำมูก
522
scold, to; revile, to
*ɗaːᴮ
อฺด่า
ด่า
523
warn, to
*tɯǝnᴬ
เตือน
524
weep, to
*t.hajᶜ
ต.ไห้
ร้อง”ไห้”
525
moan, to
*graːŋᴬ
คราง
526
bark, to
*ʰrawᴮ
เหฺร่า
เห่า
527
crow, to
*χalᴬ
ฃัล
การ”ขัน”ของไก่
528
laugh, to
*krɯəwᴬ
เกรือว
“หัว”เราะ
529
recite, to
*ʔaːnᴮ
อ่าน
530
open (the mouth), to
*ʔaːᶜ
อ้า
531
eat, to
*kɯɲᴬ
กืญ
กิน
532
chew, to
*giəwᶜ
เคี้ยว(เสียงโท)
เคี้ยว
533
lick, to
*C̬.lwiəᴬ
?.เลฺวีย
เลีย
534
put out of the mouth, to
*ɣaːjᴬ
ฅาย
คาย
535
vomit, to
*rwɯəkᴰ
เรฺวือก
ลง”ราก”=อาเจียน
536
take a bite, to
*katᴰ
กัด
537
hold in the mouth, to
*ʔɤmᴬ
เอิม
อม
538
bite, to
*C̬.qɤpᴰ
?.เกิบ
ขบ
539
nibble, to; peck, to
*tɔːtᴰ
ตอด
540
kiss, to
*cuːpᴰ
จูบ
541
yawn, to
*ʰraːwᴬ
หฺราว(เสียงสามัญ)
หาว
542
blow, to
*powᴮ
ป่ว
เป่า
543
snore, to
*klɤlᴬ
เกลิล
กรน
544
cough, to
*ʔajᴬ
ไอ
545
hold the breath, to
*klanᶜ
กลั้น
546
hug, to; embrace, to
*koːtᴰ
โกด
กอด
547
build, to
*koːᴮ
โก่
“ก่อ”สร้าง
548
close (the eyes), to
*ʰlapᴰ
หฺลับ
“หลับ”ตา
549
lie down, to, sleep, to
*nwɯːnᴬ
นฺวืน
นอน
550
incubate, to
*wakᴰ
วัก
ฟัก
551
hold in the jaws, to
*gaːpᴰ
คาบ
552
hold in the closed hand, to
*kamᴬ
กำ
การ”กำ”มือ
553
take up in the two cupped hands, to
*koːpᴰ
โกบ
การ”กอบ”มือ
554
pick up, to
*ˀjipᴰ
อฺยิบ
หยิบ
555
grasp, to; perch, to
*capᴰ
จับ
556
squeeze, to
*galᶜ
คั้ล(เสียงโท)
คั้น
557
pinch, to
*ʰniːpᴰ
หฺนีบ
หนีบ
558
raise, to
*ɲɤkᴰ
เญิก
ยก
559
lift, to
*ɲoːᴬ
โญ
ยอ
560
carry in the arms, to
*ʔuːmᶜ
อู้ม
อุ้ม
561
carry (a bag), to
*triːwᶜ
ตริ้ว
หิ้ว
562
carry on the back, to
*trwaːmᴬ
ตฺรฺวาม
หาม
563
pull, to; drag, to
*C̬.laːkᴰ
?.ลาก
ลาก
564
bend over, to
*kɤmᶜ
เกิ้ม
ก้ม
565
turn upside down or inside out, to
*pliːnᶜ
ปลิ้น
566
lean back, to
*ʔiːŋᴬ
อีง
อิง
567
point, to
*ɟiːᶜ
ชี้(เสียงโท)
ชี้
568
stroke, to; caress, to
*C̬.luːpᴰ
?.ลูบ
ลูบ
569
scratch, to
*kawᴬ
เกา
570
put, to
*s.cɤːlᴮ
ส.เจ่อล
ใส่
571
snap, to
*ɓliːtᴰ
อฺบฺลีด
ดีด
572
stamp (on), to
*dɯːpᴰ
ดืบ
กระทืบ
573
step on, to (1)
*ɲamᴮ
ญ่ำ(เสียงเอก)
ย่ำ
574
step on, to (2)
*ˀjiǝpᴰ
เอฺยียบ
เหยียบ
575
repeat, to
*zamᶜ
ซ้ำ(เสียงโท)
ซ้ำ
576
tremble, to
*salᴮ
สั่ล
สั่น
577
shake, to
*C̥.wajᴬ
?.ไว
สั่น”ไหว”
578
wrestle, to
*plamᶜ
ปล้ำ
579
twist, to; wring, to
*ɓitᴰ
อฺบิด
บิด
580
stretch out, to
*ˀjiətᴰ
เอฺยียด
เหยียด
581
sit, to
*naŋᴮ
นั่ง(เสียงเอก)
นั่ง
582
come, to
*ʰmaːᴬ
หฺมา(เสียงสามัญ)
มา
583
go, to
*pajᴬ
ไป
584
arrive, to
*C̬.tɤŋᴬ
?.เติง
ถึง
585
go upward, to
*mɯəᴬ
เมือ
เดินทางขึ้นไป
586
ascend to
*χɯnᶜ
ฃึ้น
ขึ้น
587
descend, to
*n̩.loŋᴬ
น.ลง
ลง
588
enter, to
*χawᶜ
เฃ้า
เข้า
589
exit, to
*ʔoːkᴰ
โอก
ออก
590
cross, to
*χaːmᶜ
ฃ้าม
ข้าม
591
cross over, to
*kwaːᴮ
กว่า
592
drop, to
*tokᴰ
ตก
593
fall off, to
*ʰlɤnᴮ
หฺล่น
หล่น
594
fall down, to
*lɤmᶜ
เลิ้ม(เสียงโท)
ล้ม
595
slip and fall, to
*blaːtᴰ
บลัด
พลัด
596
stand, to
*C̥.ɟɯːnᴬ
?.ยืน
ยืน
597
walk, to
*praːjᶜ
ปร้าย(เสียงโท)
เดิน
598
fly, to
*ɓilᴬ
อฺบิล
บิน
599
crawl, to
*g.lwɤːnᴬ
ค.เลฺวอน
คลาน
600
crawl over, to
*twajᴮ
ไตฺว่
ไต่
601
climb, to
*piːnᴬ
ปีน
602
flow, to
*ʰlwajᴬ
ไหฺล(เสียงสามัญ)
ไหล
603
flood, to
*C̬.tuǝmᴮ
?.ต่วม
ท่วม
604
spill, to
*ɓaːᴮ
อฺบ่า
น้ำ”บ่า”
605
pour, to
*rwaːtᴰ
รฺวาด
ราด
606
swim, to
*loːjᴬ
โลย
ลอย~>ว่ายน้ำ
607
float, to
*wuːᴬ
วู
ฟู~>ลอย
608
sink, to
*cɤmᴬ
เจิม
จม
609
dive, to
*ɗamᴬ
อฺดำ
ดำน้ำ
610
close, to
*hapᴰ
หับ
ปิด
611
revolve, to; spin, to
*panᴮ
ปั่น
ปั่น,หมุน
612
go hungry, to
*ʔɤtᴰ
เอิด
อด
613
hate, to
*ɟaŋᴬ
ชัง
เกลียดชัง
614
quit, to
*ˀjaːᴮ
อฺย่า
“หย่า”ขาด,เลิก
615
see, to
*tranᴬ
ตรัน
=เห็น
616
hear, to
*ŋinᴬ
งิน
ได้”ยิน”
617
taste, to
*ɟimᴬ
ชิม
618
smell (tr.), to
*ɗɤmᴬ
เอฺดิม
ดม
619
forget, to
*lɯːmᴬ
ลืม
620
dream, to
*hwanᴬ
หฺวัน(เสียงสามัญ)
ฝัน
621
believe, to
*ɟɯǝᴮ
เชื่อ(เสียงเอก)
เชื่อ
622
recognize, to
*cakᴰ
จัก
รู้”จัก”
623
know, to
*rɯːwᶜ
รื้ว(เสียงโท)
รู้
624
be, to; b̩ecome, to
*m̩.pelᴬ
ม.เป็ล
เป็น
625
be (in a place), to
*ˀjuːᴮ
อฺยู่
อยู่
626
fear, to (1)
*ʰlaːwᴬ
หฺลาว
=?กลัว
627
fear, to (2)
*jaːnᶜ
ย้าน(เสียงโท)
ยั่น=กลัว,หวาดหวั่น
628
itch, to (1)
*ɣalᴬ
ฅัล
=อาการ“คัน”
629
itch, to (2)
*ɣomᴬ
ฅม
อาการคัน
630
seek, to
*kraᴬ
กรา
หา
631
join, to
*toːᴮ
โต่
การ”ต่อ”เข้าด้วยกัน
632
divide, to
*panᴬ
ปาน
ฝาน
633
separate, to
*braːkᴰ
บราก
พราก
634
castrate, to
*toːnᴬ
โตน
การตอน
635
cut, to
*tacᴰ
ตัจ
ตัด
636
slash, to
*walᴬ
วัล
การฟัน
637
chop, to
*tramᶜ
ตร้ำ
=“ห้ำ”หั่น,สับ
638
weed, to
*ɓlaːjᴬ
อฺบฺลาย
การ”ดาย”หญ้า/วัชพืช
639
break, to
*t.rakᴰ
ต.รัก
หัก
640
burst, to
*p.reːkᴰ
ป.เรก
แตก
641
pluck, to
*C̥.decᴰ
?.เด็จ
เด็ด
642
take down, to; put down, to
*ploŋᴬ
ปลง
643
peel, to
*poːkᴰ
โปก
การปอก
644
hammer, to
*ɣoːlᶜ
โฅ้ล(เสียงโท)
ค้อน
645
pound, to
*tamᴬ
ตำ
การตำ
646
pound (rice), to
*zoːmᶜ
โซ้ม(เสียงโท)
การ”ซ้อม”ข้าว
647
slap, to
*tɤpᴰ
เติบ
ตบ
648
pound, to (2)
*dupᴬ
ดุบ
ทุบ
649
pound, to (1)
*toːkᴰ
โตก
การตอก
650
come into contact, to
*C̬.tɯːkᴰ
?.ตืก
=“ถูก”,แตะต้อง
651
tie, to
*cm̩.rukᴰ
จฺม.รุก
ผูก
652
tie up, to
*laːmᴮ
ล่าม(เสียงเอก)
การ”ล่าม”(มัดเข้าไว้ด้วยกัน)
653
undo, to; untie, to
*keːᶜ
เก้
แก้
654
fold, to
*bapᴰ
บับ
พับ
655
fold double, to
*dopᴰ
ดบ
ทบ
656
stretch, to
*ɲɯːtᴰ
ญืด
ยืด
657
erect, to
*taŋᶜ
ตั้ง
658
plug (a hole), to
*ʔwɯtᴰ
อฺวืด
อุด
659
salt, to
*ʔɯǝpᴰ
เอือบ
เติมเกลือ
660
pickle, to
*ɗoːŋᴬ
โอฺดง
หมัก”ดอง”
661
soak, to (2)
*ʰmaːᴮ
หฺม่า
662
scoop, to
*takᴰ
ตัก
663
soak, to (1)
*ɟeːᴮ
เช่(เสียงเอก)
แช่
664
burn (intr.), to
*ʰmajᶜ
ไหฺม้
ไหม้
665
burn (tr.), to
*prawᴬ
เปรา
เผา
666
roast, to
*ˀjɯəŋᶜ
เอฺยื้อง
การ”ย่าง”(ด้วยไฟ)
667
boil (tr.), to
*tomᶜ
ต้ม
668
boil (intr.), to
*ɗɤːtᴰ
เอฺดอด
เดือด
669
scald, to
*luəkᴰ
ลวก
670
cook (rice), to
*truŋᴬ
ตรุง
หุง
671
steam, to
*ʰnɯŋᶜ
หฺนึ้ง
นึ่ง
672
make a fire, to
*ɗaŋᴬ
อฺดัง
“ดัง”ไฟ(คำเมือง/ลาว)=จุดไฟ
673
extinguish, to
*ɗapᴰ
อฺดับ
ดับ
674
roof, to
*mwuŋᴬ
มฺวุง
มุง
675
cover (with cloth), to
*hɤmᴮ
เหิ่ม
ห่ม
676
deceive, to
*braːŋᴬ
บราง
พราง
677
buy, to
*z.ɟɯːᶜ
ซ.ชื้อ(เสียงโท)
ซื้อ
678
sell, to
*p.qaːj
ป.กาย
ขาย
679
borrow, to
*ˀjɯːmᴬ
อฺยืม
ยืม
680
defeat, to; be defeated, to
*beːᶜ
เบ้
แพ้~>ชนะ
681
have, to
*miːᴬ
มี
682
take, to
*ʔawᴬ
เอา
683
obtain, to
*ɗajᶜ
ไอฺด้
ได้
684
pick, to
*kepᴰ
เก็บ
685
steal, to
*C̬.lakᴰ
?.ลัก
ลัก
686
give, to
*haɰᶜ
ให้(ห้า~อื้อ)
ให้
687
dust off, to
*pacᴰ
ปัจ
ปัด
688
sweep, to
*kwaːtᴰ
กวาด
689
wipe, to
*ɟetᴰ
เช็ด
690
rinse, to
*C.lwɤːŋᶜ
?.ลฺว้าง(เสียงโท)
ล้าง
691
wash (clothes), to
*zakᴰ
ซัก
692
wash, to
*zaːwᴬ
ซาว
การซาว
693
bathe, to
*ʔaːpᴰ
อาบ
694
teach, to
*soːlᴬ
โสล
สอน
695
rest, to
*bakᴰ
บัก
พัก
696
wait, to
*craːᶜ
จฺร้า
คอย”ท่า”,รอ
697
be left over, to
*ʰlɯəᴬ
เหฺลือ(เสียงสามัญ)
เหลือ
698
leak, to
*rwoːᴮ
โรฺว่(เสียงเอก)
รั่ว
699
awaken (someone), to
*plokᴰ
ปลก
ปลุก
700
wake up, to
*k.tɯːnᴮ
ก.ตื่น
ตื่น
701
grow, to; rise, to
*ʰmaːᶜ
หฺม้า
เติบโต,งอกเงยขึ้น
702
shrink, to
*ʰrotᴰ
หฺรด
หด
703
disappear, to
*ʰrwɤːjᴬ
เหฺรฺวอย
หาย
704
die, to
*p.taːjᴬ
ป.ตาย
ตาย
705
kill, to
*qaːᶜ
ก้า
ฆ่า
706
expose to the sun, to
*p.raːkᴰ
ป.ราก
“ตาก”แดด
707
hang up, to
*qweːnᴬ
เกวน
แขวน
708
hang down, to
*hoːjᶜ
โห้ย
ห้อย
709
smear, to
*daːᴬ
ดา
ทา
710
lay (a cloth, etc.) across, to
*baːtᴰ
บาด
พาด
711
drive away, to
*k.rapᴰ
ก.รับ
“ขับ”,บังคับให้ออกไป
712
chase, to
*lajᴮ
ไล่(เสียงเอก)
“ไล่”กวด/ตาม
713
be finished, to
*leːwᶜ
เล้ว(เสียงโท)
“แล้ว”เสร็จ
714
to commission
*ʑaɰᶜ
ใฌ้(ฌ้า~อื้อ)(เสียงโท)
ใช้
715
entrust, to
*ʰwaːkᴰ
หฺวาก
ฝาก
716
pronoun, 1s (weak)
*kuːᴬ
กู
717
pronoun, 1s (strong)
*kawᴬ
เกา
กู(เน้น)
718
pronoun, 2s (weak)
*mɯŋᴬ
มึง
719
pronoun, 2s (strong)
*maɰᴬ
ใม(มา~อือ)
มึง(เน้น)
720
pronoun, 3s (weak)
*mɯnᴬ
มึน
มัน(ไม่เน้น)
721
pronoun, 3s (strong)
*manᴬ
มัน
722
pronoun, 1p
*rawᴬ
เรา
723
one
*nɯːŋᴮ
หนึ่ง
724
two
*soːŋᴬ
สอง(เสียงสามัญ)
สอง
725
three
*saːm
สาม(เสียงสามัญ)
สาม
726
four
*siːᴮ
สี่
727
five
*haːᶜ
ห้า
728
six
*krokᴰ
กรก
หก
729
seven
*cetᴰ
เจ็ด
730
eight
*peːtᴰ
เปด
แปด
731
nine
*kɤwᶜ
เก้า
732
hundred; string, to
*roːjᶜ
โร้ย
ร้อย
733
single, only one
*ɗiəwᴬ
เอฺดียว
เดียว
734
pair
*guːᴮ
คู่(เสียงเอก)
คู่
735
how many, several
*kiːᶜ
กี้
กี่,เท่าไร
736
all
*daŋᴬ
ดัง
ทั้ง
737
many, much
*ʰlaːjᴬ
หฺลาย(เสียงสามัญ)
หลาย,จำนวนมาก
738
little, few
*ʰnoːjᴮ
โหฺน่ย
จำนวน”น้อย”
739
one or so, any
*sakᴰ
สัก
เช่น สักอัน สักหน่อย
740
half
*grɤŋᴮ
เคริ่ง
ครึ่ง
741
each other, together
*kanᴬ
กัน
ด้วย”กัน”
742
other
*ʔɯːnᴮ
อื่น
743
measure from thumb to fingertip
*ɣɯːpᴰ
ฅืบ
คืบ
744
bite (n.), speech
*gamᴬ
คำ
เช่น กินไปคำนึง หรือแปลว่าคำพูด
745
classifier for things
*ʔalᴬ
อัล
อัน
746
cord, string
*saːjᴬ
สาย(เสียงสามัญ)
สาย เช่น สายสะพาย
747
classifier for long, thin, object
*selᶜ
เส้ล
เส้น
748
classifier for tools
*mwaːkᴰ
มฺวาก
ลักษณะนามสำหรับเครื่องมือ
749
litter (of young)
*groːkᴰ
โครก
ครอก
750
time (classifier)
*bajᴬ
ไบ
ครั้ง
751
name of first month
*ciǝŋᴬ
เจียง
เดือน”เจียง”(คำเมือง)=เดือนอ้าย
752
last (year)
*klaːjᴬ
กลาย
ปี”กลาย”
753
daytime
*ŋwanᴬ
งฺวัน
กลาง”วัน”
754
night
*ɣɯːnᴬ
ฅืน
กลาง”คืน”
755
day
*mwɯːᶜ
มฺวื้อ(เสียงโท)
มื้อ=วัน
756
morning, early
*ɟawᶜ
เช้า(เสียงโท)
เช้า
757
night
*ɣamᴮ
ฅ่ำ
ค่ำ
758
late at night
*ɗɯkᴰ
อฺดึก
ดึก
759
meal, early
*ŋaːjᴬ
งาย
ข้าว”งาย”(คำเมือง)=อาหารมื้อเช้า
760
meal, late
*C̬.lwiːŋᴬ
?.ลฺวีง
ข้าว”แลง”(ลาว)~>อาหารมื้อสาย
761
meal, evening
*ɟm̩.rawᴬ
ชฺม.เรา
อาหารมื้อเย็น
762
day before yesterday
*zɯːnᴬ
ซืน
เมื่อวาน”ซืน”
763
yesterday
*ŋwaːᴬ
งฺวา
เมื่อ”วาน”
764
tomorrow
*ɟm̩.rukᴰ
ชฺม.รุก
“พรุ่ง”นี้
765
day after tomorrow
*C̬.rɯːᴬ
?.รือ
มะรืน
766
year
*piːᴬ
ปี
767
upstream, above
*ʰnɯəᴬ
เหฺนือ(เสียงสามัญ)
เหนือ
768
downstream, below
*taɰᶜ
ใต้(ต้า~อื้อ)
ใต้
769
below
*lwɤːŋᴮ
เลฺว่อง(เสียงเอก)
ล่าง
770
inside
*C̥.daɰᴬ
?.ใด(ดา~อือ)
ใน
771
outside
*l̩.noːkᴰ
ล.โนก
นอก
772
middle
*klaːŋᴬ
กลาง
773
side
*C̥.bɯǝŋᶜ
?.เบื้อง
เบื้อง~>ด้างข้าง
774
this
*najᶜ
ไน้(เสียงโท)
นี่,นี้
775
before
*koːnᴮ
โก่น
ก่อน
776
tip, end
*plaːjᴬ
ปลาย
777
tip, highest point
*ɲoːtᴰ
โญด
ยอด
778
edge
*riːmᴬ
ริม
779
gradually, slowly
*gɔːjᴮ
ค่อย(เสียงเอก)
ค่อย
780
not (strong 1)
*ɓawᴮ
เอฺบ่า
บ่
781
not (strong 2)
*boːᴮ
โบ่
=บ่
782
not (weak)
*miːᴬ
มิ
783
not yet
*pajᴮ
ไป่
784
do not
*ʰɲaːᴮ
หฺญ่า
อย่า,ห้ามทำ
785
which
*ɗaɰᴬ
ใอฺด(อฺดา~อือ)
ใด
786
also
*koːᶜ
โก้
ก็
787
with, and
*kapᴰ
กับ
788
matter
*ɣwaːmᴬ
ฅวาม
ความ
อ้างอิง
↑ ตามที่ใช้ในนิพนธ์ต่าง ๆ ของสาขาภาษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของไทย เช่น [1] [ลิงก์เสีย ]
↑ Li, Fang-Kuei. (1977). A handbook of comparative Tai . Manoa: University Press of Hawaii.
↑ Pittayaporn, Pittayawat [พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์]. (2009a). The Phonology of Proto-Tai (Doctoral dissertation) . Department of Linguistics, Cornell University.
↑ Pike, Kenneth Lee; Pike, Evelyn G. Comparative Kadai: Linguistic Studies Beyond Tai . Summer Institute of Linguistics, 1977. p. 16. ISBN 0883120666 .
↑ Downer, G.B. (1963). "Chinese, Thai, and Miao-Yao". ใน Shorto, H.L. (บ.ก.). Linguistic Comparison in South East Asia and the Pacific (PDF) . School of Oriental and African Studies, University of London. pp. 133–139.
↑ Luo, Yong-Xian (2008). "Sino-Tai and Tai–Kadai: Another Look". ใน Diller, Anthony; Edmondson, Jerold A.; Luo, Yong-Xian (บ.ก.). The Tai–Kadai Languages . Routledge Language Family Series. Psychology Press. pp. 9–28. ISBN 978-0-7007-1457-5 .
↑ Gedney, William J. (1972). A Checklist for Determining Tones in Tai Dialects. In M. E. Smith (Ed.). Studies in Linguistics: In Honor of George L. Trager (pp. 423-437). Mouton.
↑ Owen, R. W. (2012). A tonal analysis of contemporary Tai Khuen varieties. Journal of the Southeast Asian Linguistics Society (JSEALS), 5 , 12-31.
↑ Manson, Ken. (2009). Prolegomena to Reconstructing Proto-Karen. La Trobe Papers in Linguistics, 12 . Available at [2]
↑ Morey, Stephen. (2014). Studying tones in North East India: Tai, Singpho and Tangsa. Language Documentation & Conservation, 8 , 637–671.
↑ Gedney (1972)
↑ "Tones of Thai Song Varieties" (PDF) . Pacling.anu.edu.au . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2017-02-21. สืบค้นเมื่อ 17 July 2016 .
↑ Jackson, Eric M., Emily H.S. Jackson, and Shuh Huey Lau (2012). A sociolinguistic survey of the Dejing Zhuang dialect area . SIL Electronic Survey Reports 2012-036, SIL International, East Asia Group.
↑ Pittayawat Pittayaporn (2015). Proto-Tai negation system from Comparative and Historical Thai perspectives. [3]
↑ Pittayaporn, Pittayawat. (2009). The Phonology of Proto-Tai . (Doctoral dissertation). Department of Linguistics, Cornell University.
ข้อมูล
อ่านเพิ่ม
Akharawatthanakun, Phinnarat. (2010). Phonological Variation in Phuan. MANUSYA: Journal of Humanities, 13 (2), 50-87.
Brown, J. Marvin. From Ancient Thai to Modern Dialects . Bangkok: Social Science Association Press of Thailand, 1965.
Ferlus, Michel. 1990. "Remarques sur le consonantisme de Proto Thai-Yay (Révision du pro tai de Li Fangkuei)." Paper presented at the 23 rd International Conference on Sino-Tibetan Languages and Linguistics. University of Texas at Arlington
Gedney, William J. 1989. "Future directions in Comparative Tai Linguistics." Selected papers on Comparative Tai Studies , ed. by Robert J. Bickner, John Hartmann, Thomas John Hudak and Patcharin Peyasantiwong, 7-116. Ann Arbor: Center for Southeast Asian Studies, University of Michigan.
Li, Fang-kuei. 1977. Handbook of Comparative Tai . Honolulu, Hawaii: University of Hawaiʼi Press.
Miyake, Marc . 2014. What the *-hɛːk is going on?
Miyake, Marc . 2014. Proto-Tai *j-, *ˀj-, or *ʄ-? .
Miyake, Marc . 2014. Is Thai yuan 'Vietnamese' a loanword from Lao?
Miyake, Marc . 2014. Tone codes: XK'G- + -vqhslc .
Miyake, Marc . 2014. Black and white evidence for Vietnamese phonological history .
Miyake, Marc . 2014. D-ou-b-led letters in Tai Viet .
Miyake, Marc . 2014. *(C).r-usters in Black Tai and Bao Yen .
Miyake, Marc . 2014. S-implificaition in Black Tai and Bao Yen .
Miyake, Marc . 2013. Dyeing in the south: evidence for earlier Southern Chinese *-om .
Miyake, Marc . 2013. Saek .
Miyake, Marc . 2013. The other Kra-Dai numerals (Parts 1 , 2 ).
Miyake, Marc . 2012. Pondering over water .
Miyake, Marc . 2012. 3itting on fire .
Miyake, Marc . 2012. Speaking of heaven in Zhuang .
Miyake, Marc . 2011. Can Proto-Tai live without *ʔy-(uu)?
Miyake, Marc . 2011. From 'you' to 'yuu' .
Miyake, Marc . 2011. The roots of rawness .
Miyake, Marc . 2011. Sawgun stratography?
Miyake, Marc . 2010. Brown's (1979) "Vowel length in Thai" .
Miyake, Marc . 2010. Was there a *krp -orate cluster in 'cloth'?
Miyake, Marc . 2010. Lao x ex ... ?
Miyake, Marc . 2008. Proto-Tai 'nine': evidence for unexpected emphasis?
Miyake, Marc . 2008. Li Fang-kuei's Proto-Tai diphthongs .
Miyake, Marc . 2008. 布央 Cloth center consonants .
Miyake, Marc . 2008. A fiery theory .
Miyake, Marc . 2008. ƧЗЧƼƄ
Ostapirat, Weera. (2009). Proto-Tai and Kra-Dai Finals *-l and *-c . Journal of Language and Culture, 28 (2), 41-56.
Ostapirat, Weera. (2013). The Rime System of Proto-Tai . Bulletin of Chinese Linguistics, 7 (1), 189-227.
Pittayaporn, Pittayawat. 2008. "Proto-Southwestern Tai: A New Reconstruction" . Paper presented at the 18th Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society. Universiti Kebangsaan Malaysia, Bangi.
Puttachart, P. & Thananan, T. (1998). The position of Tak Bai in Tai dialects. In S. Burusphat (Ed.), Proceedings of the International Conference on Tai Studies (pp. 313–322).
Sarawit, Mary. 1973. The Proto-Tai Vowel System . University of Michigan, Department of Linguistics: PhD dissertation.
แหล่งข้อมูลอื่น
พจนานุกรม
[4] Database query to Tai-Kadai etymology (อังกฤษ)
[5] Thai Lexicography Resources (อังกฤษ)